ข่าวท่องเที่ยวไลฟ์สไตล์

เปิดที่มา ตลาดสำเพ็ง ย่านการค้าสุดฮิตแห่งยุค นึกไม่ออก บอกสำเพ็ง

ย้อนประวัติ เล่าความหลัง ตลาดสำเพ็ง ศูนย์การค้าแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่แห่งนี้มีตำนาน เปิดที่มาของสำนวน ไฟไหม้สำเพ็ง

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2565 เกิดเหตุ ไฟไหม้สำเพ็ง บริเวณอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวบ้าน และคนที่สัญจรผ่านไปมาเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเรามาย้อนประวัติของ สำเพ็ง ก็จะรู้ได้ทันทีว่านี่ไม่ใช้ครั้งแรกที่เกิดเหตุ ไฟไหม้ตลาดสำเพ็ง วันนี้ The Thaiger จึงจะพาทุกคนมาย้อนรอยควมรุ่งเรื่องของย่านการค้าสุดฮิตอย่าง ตลาดสำเพ็ง กัน

Advertisements

ย้อนรอย ตลาดสำเพ็ง 2565 ประวัติศูนย์การค้าแห่งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ที่แห่งนี้มีกว่าซื้อของ

| ประวัติ ตลาดสำเพ็ง

สำเพ็ง หรือ สามเพ็ง (ภาษาอังกฤษ Sampheng) เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช, ถนนราชวงศ์ และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน, พาหุรัดและวังบูรพา ในปัจจุบัน รู้จักกันดีในชื่อ ซอยวานิช 1 และในช่วงระหว่างสะพานหันถึงถนนจักรวรรดิเรียกว่า ตรอกหัวเม็ด

จุดเริ่มของ สำเพ็ง มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ที่แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน

มีคำสั่งโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง

Advertisements

ในสมัยรัชการที่ 3 ชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านสำเพ็งเติบโตขึ้น มีชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้าขายในย่านนี้มากขึ้น จึงได้เรียกย่านนี้ว่า ตลาดจีน หรือภาษาอังกฤษ Chinese Bazaar

ในช่วงยุครุ่งเรื่องของ ตลาดสำเพ็ง มักเต็มไปด้วยสินค้าต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงซ่องโสเภณีและโรงฝิ่น ด้วยความที่ชุมชนในสมัยนั้นเป็นเหมือนชุมชนแออัด หลังคาเกยกันอยู่หลายหลัง เป็นเหตุทำให้เมื่อเกิดไฟไหม้บ้านหนึ่งหลัง ก็จะลามไปจนกว่า เป้นที่มาของคำว่า ไก่บินไม่ตกดิน

นอกจากนี้ในนิราศเมืองแกลง ของเจ้าแห่งบทกวี สุนทรภู่ ได้มีการบรรยายถึงย่าน สำเพ็ง ถึงซ่องโสเภณีในสมัยนั้นโดยคำว่า อีสำเพ็ง กลายเป็นคำด่าผู้หญิงที่หมายถึง โสเภณี นั่นเอง

| ไฟไหม้สำเพ็ง สำนวนไทย แปลว่าอะไร ?

อย่างได้บอกไปว่าเหตุการณ์ไฟไหม้สำเพ็งนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช้เรื่องใหม่ของชาวตลาดสำเพ็ง เพราะมักเกิดหตุไฟไหม้ทุกปี ปีละหลายหนด้วยกกัน แต่เหตุการณืไฟไหม้ใหญ่ ๆ ที่ถือได้ว่าเป้นความสูญเสียที่ยากจะลืมเลือนของชาวตลาดสำเพ็ง ในปี 2343 เหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ เกิดความวุ่นวายจำนวนมาก จนเป็นที่มาของสำนวน ไฟไหม้สำเพ็ง ในปัจจุบัน

ไฟไหม้สำเพ็ง เป็นสำนวน หมายถึง เป็นการเปรียบเทียบคามสูญเสียครั้งใหญ่ หลังจากเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ตลาดสำเพ็งไฟไหม้ เมื่อ พ.ศ.2343 หรือเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ.2561 ที่สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ชนิดที่ว่าเจ้าของกิจการร้านค้าที่นั้นแทบสิ้นเนื้อประดาตัว

| ไฟไหม้สำเพ็ง 2565 เปิด – ปิด กี่โมงล่าสุด ?

ปัจจุบัน สำเพ็งเป็นย่านการค้าที่คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ โดยเปิดขายตั้งแต่เวลา 08:00 ถึง 17:00 น. ในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 23:00 น. จนล่วงเข้าสู่วันใหม่ในเวลา 01:00 หรือจนถึง 06:00 น.

สินค้าที่นิยมขายในสำเพ็ง ได้แก่ กิฟต์ช้อป, เครื่องประดับ, เสื้อผ้าแฟชั่น, หมวก, นาฬิกา, ตุ๊กตา หรือของเล่นเด็ก รวมถึงอาหาร มีทั้งราคาแบบขายปลีกและขายส่ง

ขอบคุณข้อมูล 1

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button