สุขภาพและการแพทย์

รู้ก่อนดีกว่า พาทำ แบบสอบถาม ‘โรคซึมเศร้า’ อดีตภัยร้ายเงียบที่เริ่มกัดกินคนรุ่นใหม่

รู้ทันตัวเอง แบบสอบถาม ‘โรคซึมเศร้า’ อดีตภัยร้ายเงียบกัดกินคนรุ่นใหม่ โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ Depressionโรคของสารในสมองที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องของจิตใจ

ชวนคุณมาทำ แบบสอบถาม ‘โรคซึมเศร้า’ และทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะโลกยุคนี้หมุนไปไวจนทำให้หลายคนรู้สึกแย่อย่างไร้สาเหตุ การมองไม่เห็นแผลใช่ว่าจะไม่มีแผล ยิ่งถ้าหากแผลที่ว่านั้นอยู่ภายในร่างกายหรือในจิตใจของคุณ วันนี้ The Thaiger ขอพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า โรคที่พูดถึงมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่ โรคที่เหมือนกับเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ แต่ลึก ๆ ลงไปแล้ว มันไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ

โรคซึมเศร้า (Depression) คืออะไร โรคที่ใครก็เป็นได้

ฟังชื่อโรคครั้งแรก หลายคนคงเข้าใจว่ามันคือภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างหนัก จนนำไปสู่การเป็นโรคใช่หรือเปล่าคะ แต่จริง ๆ แล้ว โรคซึมเศร้าแม้จะจัดอยู่ในหมวดโรคทางจิตเวชก็จริง แต่มันมีสาเหตุมาจากสารสื่อประสาท 3 ชนิดเกิดความไม่สมดุลกัน สารสื่อประสาทดังกล่าว ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และโดปามีน (dopamine) นั่นเอง ความผิดปกติของสารสื่อประสาทเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการรักษากับแพทย์โดยตรง

แบบสอบถาม โรคซึมเศร้า

สาเหตุโรคซึมเศร้า ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลาย แต่ที่พบหลัก ๆ มักจะเกิดจากปัจจัยที่ส่วนมาก ผู้มีอาการของโรคซึมเศร้าไม่สามารถควบคุมได้ ดังนี้ค่ะ

พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวมีภาวะซึมเศร้า พบว่ามีโอกาสสูงถึง 80% ที่คนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นโรคซึมเศร้าด้วย โดยพบมากในฝาแฝด แต่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสสูงแต่ใช่ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายประการ

พฤติกรรม ผู้ที่มีพฤติกรรมพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงมีการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ สารเสพติด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้

สิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิต คนรอบตัว ครอบครัว รวมถึงเหตุการณ์ที่คน ๆ หนึ่งต้องเผชิญและใช้ชีวิตอยู่กับมัน ก็สามารถเป็นสาเหตุของโรคได้ทั้งหมด เช่น ต้องเผชิญสภาวะความเครียดและกดดันจากการทำงาน เรื่องในบ้าน การสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิต เป็นต้น

ฮอร์โมนร่างกาย มีรายงานว่าเพศหญิงมีอัตราเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า โดยมากปัญหาฮอร์โมนของเพศหญิงมักจะผิดปกติหรือแปรปรวนได้ในหลายกรณี เช่น คลอดบุตร ถึงวัยหมดประจำเดือน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล Seasonal Affective Disorder โดยเฉพาะแถบประเทศที่มีฤดูหนาวยาวนาน ผู้คนไม่ได้รับแสงอาทิตย์

แบบสอบถาม โรคซึมเศร้า

สังเกตตนเอง เรามีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ทุกคนสามารถสังเกตอาการตนเองได้ จากอาการ 9 ข้อต่อไปนี้ โดยหลังจากตอบคำถามแล้วพบว่าคุณมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อขึ้นไป รวมถึงเกิดต่อเนื่องตลอดทั้งวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ละก็ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้ถี่ถ้วน เนื่องจากอาการในลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้

– อยากร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกท้อ หดหู่ สิ้นหวัง อารมณ์แปรปรวนง่ายและรุนแรง เช่น กังวลหรือหงุดหงิดมากเกินพอดี

– ไม่อยากทำอะไร เลิกชอบสิ่งที่เคยชอบ เก็บตัวมากขึ้น

– อ่อนเพลีย หมดพลัง รู้สึกไร้เรี่ยวแรง

– พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับเลยหรือนอนหลับมากเกินไป

– พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป เช่น กินไม่ลงเลยหรือกินมากผิดปกติ

– พฤติกรรมโดยรวมเปลี่ยนไป เช่น จากที่เคยเป็นคนนิ่ง ๆ กลับรู้สึกกระวนกระวายอยู่ไม่สุข หรือจากที่เคยเป็นคนมีพลัง กลับรู้สึกเฉื่อยชา เนือย ไม่อยากใช้ชีวิต

– รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ทำอะไรก็ไม่ดี ไม่หลงเหลือความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตัวเอง รวมถึงการโทษตัวเองในทุก ๆ เรื่อง

– รู้สึกไม่มีสมาธิ ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ต้องทำได้ ความจำแย่ลง

– รู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ นึกถึงความตายว่าเป็นทางออกมากขึ้น

แบบสอบถาม โรคซึมเศร้า

แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ประเมินเบื้องต้นเพื่อไปต่อ

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ของตัวเองตอนนี้อยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และยังไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใครดี อาจจะเริ่มจากการทำแบบสอบถาม ประเมินภาวะซึมเศร้าในอินเทอร์เน็ตก่อนก็ได้นะคะ โดยสามารถเลือกทำแบบสอบถามจากสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่นำมาลงไว้ได้ค่ะ

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ – 9 โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แบบประเมินซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่น (CES-D) โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

แนวทางรักษาโรคซึมเศร้า และวิธีปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้า

วิธีการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งการรักษาด้วยยา (Pharmacological treatment) จิตบำบัด (Psychotherapy) ไปจนถึงการใช้คลื่นไฟฟ้าในการรักษา (Electroconvulsive Therapy) แต่แนวทางอย่างสุดท้ายจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากแล้วเท่านั้น

หัวข้อสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันก็คือ วิธีปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยควรทำความเข้าใจผู้ป่วย ให้กำลังใจ ระมัดระวังการเลือกใช้คำพูด อยู่เคียงข้าง รับฟัง หรือแม้กระทั่งช่วยสังเกตพฤติกรรม หากพบความผิดปกติควรรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันที

โรคซึมเศร้าเต๋าทีเจ

อ้างอิงจาก (1) (2)

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx