อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

26 มิถุนายน 2565 วันสุนทรภู่ กวีเอก 4 แผ่นดินของประเทศไทย

วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี วันสุนทรภู่ ผู้ซึ่งที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม ผู้สร้างสรรค์ผลงานดังอย่าง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน

เชื่อว่าตั้งแต่สมัยเรียนเราต้องเคยได้ผ่านช่วงวันสำคัญอย่าง วันสุนทรภู่ กันมาอย่างแน่นอน กับกิจกรรมทั้งแต่กลอน การแสดงต่าง ๆ สร้างความบันเทิงให้เราอย่างมากมาย แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ ผลงานต่างที่เรานำมาใช้ในวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นผลงานของ พระสุนทรโวหาร (ภู่) นั่นเอง ผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นกวีเอกของโลก

วันนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจ้าของผลงานในตำนานอย่าง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน หรืออิเหนา วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับวันสุนทรภู่ให้มากขึ้นกัน

วันที่ 26 มิถุนายน 2565 วันสุนทรภู่ กวีเอกคู่แผ่นดินไทย เจ้าของผลงานดัง พระอภัยมณี

Pro2U

| สุนทรภู่ ประวัติ

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 – พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย ได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

tourismthailand

| จาก สุนทรภู่ สู่ พระสุนทรโวหาร

ในประวัติบางช่วง มีการบันทึกไว้ว่าสุนทรภู่ ครั้งหนึ่งเมื่อรัชกาลที่ 2 ทรงแต่งกลอนบทละครเรื่อง “รามเกียรติ์​” แล้วเกิดติดขัด ไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร

จากนั้นไม่นานสุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และได้เป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นมาใหม่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากสุนทรภู่ (ภู่) จะได้รับนามสกุลคือ ภู่เรือหงส์

istockphoto

| สุนทรภู่ บุคคลสำคัญของโลก

ในปี พ.ศ. 2529 เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศให้ สุนทรภู่ เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้

ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี และมีการจัดตั้ง สถาบันสุนทรภู่ ขึ้น เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

istockphoto

| รวมผลงานของ สุนทรภู่

ผลงานประเภทนิราศ

  • นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) – แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
  • นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) – แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
  • นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) – แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
  • นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
  • รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) – แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น “รำพันพิลาป” จากนั้นจึงลาสิกขา
  • นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) – เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
  • นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) – แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน

  • เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

ประเภทสุภาษิต

  • สวัสดิรักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
  • สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
  • เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร

  • เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา

  • เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
  • เรื่องพระราชพงศาวดาร

ขอบคุณข้อมูล 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button