อัปเดต ดราม่าบุฟเฟ่ต์แซลมอน หลังขายวอยเชอร์แล้วปิดเพจหนี ผู้ลงทุนเตรียมฟ้อง
อัปเดตความคืบหน้าเหตุการณ์ ดราม่าบุฟเฟ่ต์แซลมอน จากร้านบุฟเฟ่ต์ชื่อดัง หลังจากที่เปิดขายวอยเชอร์ในราคาไม่แพง แต่กลับปิดเพจ-ปิดร้านหนี ด้านผู้ลงทุนเตรียมตัวฟ้องบริษัทแล้ว
จากรณีที่ร้านบุฟเฟ่ต์ชื่อดังที่เปิดสาขาในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ทำการขายวอยเชอร์ลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก คนรักบุฟเฟต์ Buffet Lovers ก่อนที่จะปิดเพจ และปิดร้านหายไปอย่างไร้ร่องลอย ทำให้เกิดกระแสดราม่าว่านี่อาจเป็นเคสเดียวกับกรณีของร้านอาหารทะเลชื่อดังที่เปิดขายคูปองแล้วปิดร้านหนีก็เป็นได้ ซึ่งในกรณีของร้านบุฟเฟ่ต์แซลมอนร้านนี้ก็ได้ขายคูปองในราคาที่ถูกเกินไปสวนทางกับราคาปลาแซลมอนในท้องตลาด จนทำให้กลุ่มคนที่ชอบรับประทานแซลมอนหลายคนหลงซื้อคูปองกันไปหลายใบ
ล่าสุดหนึ่งในผู้ลงทุนที่ทำการซื้อแฟรนไชส์ของร้านบุฟเฟ่ต์ดังกล่าว ก็ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลทางด้านฝั่งนักลงทุนว่าตนเองก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน โดยผู้ลงทุนรายนี้กล่าวว่าได้ทำการซื้อแฟรนไชส์มาทั้งหมด 6 สาขา ซึ่งแนวทางของบริษัทคือการให้ผู้ลงทุนนำเงินมาลงเท่านั้น ส่วนบริษัทจะจัดการบริหาร ทั้งในเรื่องของราย-รายจ่าย การปันผล รวมไปถึงโปรโมชั่นต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการจัดโปรโมชั่นและการขายคูปองแต่อย่างใด
พร้อมกันนี้ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า ทางด้านผู้เสียกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทต้นทางและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ซึ่งทางผู้ลงทุนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้ทำการติดต่อเข้าไปยังบริษัทเพื่อรับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับเหตการณ์ดังกล่าว
ด้านชาวเน็ตที่มีหัวใจรักในบุฟเฟ่ต์แซลมอน ก็ถึงกับหวั่นใจ ต่างก็พากันเข้ามาแชร์ข้อมูลในการซื้อคูปองจากร้านดังกล่าว ซึ่งชาวเน็ตบางส่วนก็ได้ให้ข้อมูลว่าผู้ซื้อคูปองอาจไม่ได้รับเงินคืน เพราะทางร้านต้องเป็นผู้ทำรายการปฏิเสธการใช้จ่ายเอง ซึ่งในกรณีนี้หากลูกค้าต้องการเงินคืนก็อาจจะกินเวลายาวนาน เนื่องจากธนาคารต้องสืบหาข้อมูลและหลักฐานในการคืนเงิน นอกจากนี้ชาวเน็ตบางคนก็ได้แชร์ข้อมูลที่มีผู้อ้างตนว่าเป็นพนักงานของร้าน ออกมาเปิดเผยว่าอาจไม่ได้รับเงินเดือน และทางร้านมีการค้างค่าสั่งซื้อแซลมอนเป็นจำนวนมากถึง 30 ล้านบาท
โดยเหตุการณ์ดราม่าบุฟเฟ่ต์แซลมอนจากร้านดังนี้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมานั้น ทางร้านที่ได้เช่าสถานที่ในห้างสรรพสินค้าย่านพระ 3 ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวว่าจะทำการเปิดร้านในวันถัดไป ซึ่งก็คือวันที่ 18 มิถุนายน 2565 แต่ในปัจจุบันก็มีชาวเน็ตบางส่วนที่เข้ามาให้ข้อมูลว่าตนเองได้เดินทางไปยังร้านบุฟเฟ่ต์ดังกล่าวแล้ว แต่ก็พบว่าร้านยีงปิดอยู่ ประกอบคำชี้แจงของผู้ลงทุนที่เตรียมตัวฟ้องบริษัท ก็ยิ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่านี่อาจเป็นการถูกหลอกให้ซื้อคูปองครั้งใหญ่ ซึ่งเรื่องราวดราม่าบุฟเฟ่ต์แซลมอนนี้จะจบลงอย่างไร คงต้องติดตามดูกันต่อไป
- แซบ! ลูกค้าสั่งแซลมอน 30 ที่ ก่อนฉวยโอกาส ขโมยแซลมอน
- ดราม่าหยุดกินแซลมอน คนแห่แจง ไม่ได้ทำลายธรรมชาติแถมดีต่อใจ
- ไต้หวันถกวุ่น! หลัง ปชช. เปลี่ยนชื่อเป็น ปลาแซลมอน หวังกินฟรี