สรุป วิธีซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุข 2565 ผ่านธนาคาร พร้อมกัน 15 มิ.ย. เช็กเงื่อนไขเลยที่นี่
เช็กวิธีซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ 2565 ผ่านธนาคาร โดยเปิดให้ซื้อวันแรกพร้อมกันวันพุธที่ 15 มิ.ย. วงเงิน 45,000 ล้านบาท มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
สรุปขั้นตอน วิธีซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ 2565 รุ่นออมเพิ่มสุข ผ่านตัวแทนจำหน่ายธนาคารทั้ง 4 แห่ง โดยเปิดจำหน่ายวันแรกในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 วงเงิน 45,000 ล้านบาท สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่ไม่แสวงผลกำไร ทั้งหมด 2 ช่วงด้วยกัน ซึ่งจะมีรายละเอียดเงื่อนไข อะไรบ้าง The Thaiger รวมมาให้แล้ว เช็กเลยที่นี่ โดยจะขอยกตัวอย่างวิธีการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุข ผ่านแอปธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน โดยสามารถดาวน์โหลดแอป Krungthai NEXT สำหรับการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ออมเพิ่มสุขได้ที่นี่ ผ่านระบบ Android และระบบ iOS มีรายละเอียดขั้นตอนการซื้อพันธบัตรดังนี
- เข้าไปที่แอป Krungthai NEXT จากนั้นเลือก บริการ
- กดเลือก พันธบัตรออมทรัพย์
- จากนั้นให้กด รุ่นพันธบัตรที่ต้องการจอง
- ให้ระบุจำนวนที่จองซื้อ
- เช็กข้อมูลความถูกต้อง และยืนยันชำระเงิน
- ส่งคำสั่งซื้อพันธบัตรสำเร็จ
ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมเพิ่มสุข ผ่านธนาคารอะไรบ้าง
สามารถทำการซื้อพันธบัตรออมเพิ่มสุข วงเงินสูงสุด 45,000 ล้านบาท โดยลงทุนได้ตั้งแต่ 1,000 บาท เป็นต้นไป ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารทั้ง 4 แห่งซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายตามที่ กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1111
- ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
- ธนาคารกสิกรไทย โทร. 02-888-8888
- ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 02-777-7777
เช็กเงื่อนไขพันธบัตรออมทรัพย์ ออมเพิ่มสุข มีรุ่นอะไรบ้าง
โดยพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นล่าสุด ออมเพิ่มสุข จะให้วงเงินสูงสุด 45,000 ล้านบาท มีให้เลือก 3 รุ่น ได้แก่
- รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 2.90% ต่อปี (บุคคลธรรมดา)
- รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 3.60% ต่อปี (บุคคลธรรมดา)
- รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 3.30% ต่อปี (นิติบุคคลไม่แสวงผลกำไร)
วงเงินสูงสุด 45,000 ล้านบาท โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน สามารถซื้อได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป เริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 1,000 บาท – 10 ล้านบาท / ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ออมเพิ่มสุขตามนี้
ช่วงที่ 1 – พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมเพิ่มสุข 15 – 19 มิถุนายน 2565 สำหรับบุคคลทั่วไป
สำหรับการซื้อพันธบัตรออมออมเพิ่มสุข ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 15 – 19 มิ.ย. 65 สำหรับบุคคลทั่วไป มีรายละเอียดวงเงินและดอกเบี้ยต่าง ๆ ดังนี้
- วงเงิน 40,000 ล้านบาท เปิดจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป
- สามารถซื้อได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท มีการจำหน่าย 2 รุ่น
- รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 2.90% ต่อปี
- และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 3.60% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
- ผู้สนใจสามารถซื้อได้ผ่านช่องทาเคาน์เตอร์ธนาคาร และแอปพลิเคชั่น Mobile Banking ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ตามที่กล่าวไปข้างต้น
ช่วงที่ 2 – พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมเพิ่มสุข 20 – 30 มิถุนายน 2565 สำหรับบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล
โดยจะทำการเปิดให้ซื้อพันธบัตรออมเพิ่มสุข ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 30 มิถุนายน 2565 ให้กับบุคคลทั่วไปและนิติบุคคลที่ไม่แสวงผลกำไร ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดตามนี้
- สามารถซื้อได้แบบไม่จำกัดวงเงิน ซึ่งจะจำหน่ายให้กับบุคคลทั่ว ในวงเงินคงเหลือจากช่วงที่ 1 ด้วยรุ่นอายุและเงื่อนไขเดียวกัน
- เปิดจำหน่ายให้นิติบุคคลไม่แสวงผลกำไร กำหนด วงเงิน 5,000 ล้านบาท
- รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 3.30% ต่อปี
- จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยในรอบการจ่ายนี้ ได้เพิ่มนิติบุคคลอาคารชุด และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้มีสิทธิ์ซื้อด้วย
- พิจารณาการเป็นผู้มีสิทธิ์ซื้อจากข้อบังคับนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมที่ดินหรือสำนักงานเขตพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
อัตราดอกเบี้ยต่อปีของ พันธบัตรออมทรัพย์ ออมเพิ่มสุขแต่ละรุ่น
สำหรับอัตราดอกเบี้ย พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุขบุคคลธรรมดา แบบ 5 ปี 10 ปี และแบบ 10 ปี สำหรับนิติบุคคลที่ไม่แสวงผลกำไร มีอัตราเฉลี่ยแต่ละปีตามเกณฑ์ ดังนี้
ออมเพิ่มสุข 5 ปี บุคคลธรรมดา (SBST276B)
- ปีที่ 1 – 2 2.50%
- ปีที่ 3 – 4 3.00%
- ปีที่ 5 3.50%
- เฉลี่ย 2.90%
ออมเพิ่มสุข 10 ปี บุคคลธรรมดา (SBST326B)
- ปีที่ 1 – 2 2.50%
- ปีที่ 3 – 6 3.50%
- ปีที่ 7 – 8 4.00%
- ปีที่ 9 – 10 4.50%
- เฉลี่ย 3.60%
ออมทรัพย์ ออมเพิ่มสุข 10 ปี นิติบุคคล (SBST326C)
- ปีที่ 1 – 3 2.50%
- ปีที่ 4 – 8 3.50%
- ปีที่ 9 – 10 4.00%
- ปีที่ 9 – 10 4.00%
- เฉลี่ยน 3.30%
? สำหรับผู้ที่สนใจซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ออมเพิ่มสุข สามารถซื้อได้ผ่านธนาคาร โดยกรอกแบบฟอร์มในเว็บไซต์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้เลยครับ