ข่าวข่าวภูมิภาค

กฎหมาย PDPA เปิด 6 ข้อเท็จจริงโทษอาญา พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลล่าสุด

PDPA คืออะไร มีความสําคัญอย่างไร กฏหมายใหม่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่บังใช้วันนี้ 1 มิ.ย. วันแรก ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีความผิด โทษอาญา ล่าสุด ได้ที่นี่

หลังจากที่วันนี้ (1 มิ.ย.65) เป็นวันแรกที่ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ และเพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลในแง่ข้อบังคับต่าง ๆ ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใหม่นี้อย่างถูกต้อง จึงขอนำข้อเท็จจริง 6 ข้อ เกี่ยวกับโทษอาญา ของ กฎหมาย PDPA มาอธิบายอย่างละเอียดอีกครั้ง

ตรวจสอบ 6 ข้อเท็จจริง โทษอาญา กฎหมาย PDPA

1. PDPA มีบทลงโทษอาญา เพื่อปกป้องประชาชนจาก “มิจฉาชีพ หรือ ผู้ประสงค์ร้าย” กรณีมีการนํา ข้อมูลอ่อนไหวดังนี้ “เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการ เมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา หรือ ปรัชญา พฤติกรรมทาง เพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิกาs ข้อมูล สหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ” ของประชาชนไปใช้ ทําให้เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือ หาผลประโยชน์แบบผิดกฎหมาย

2. กรณีใช้ข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวทําให้เกิด ความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โทษสูงสุดจําคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

3. กรณีใช้ข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าว หาผลประโยชน์ แบบผิดกฎหมาย โทษสูงสุดจําคุก 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

4. การลงโทษอาญาต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงและองค์ประกอบ อาทิ เจตนาของการกระทํา และ การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย

5. การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั่วไป เช่น ชื่อ เบอร์โos ที่อยู่อาศัย หมายเลvประจําตัว ไม่เข้าองค์ประกอบโทษอาญา ตามมาตรา 79

6. ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถถูกนําไปใช้หรือเปิดเผยได้หากได้รับความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นข้อมูลที่จําเป็นต้องใช้ในการทําตามสัญญาให้บริการ (2) เป็นการใช้ข้อมูลที่มีกฎหมายอื่นให้อํานาจไว้ (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล (4) เป็นการใช้เพื่อการศึกษาวิจัยหรือสถิติ (5) เป็นการใช้ตามหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

ทั้งนี้ การกําหนด บทลงโทษข้างต้น ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป มาตรา 79 ผู้ควบคุมป้อมูส่วนบุคคลผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 28 อันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26 โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติดตามมาตรา 28 อันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคลคลตามมาตรา 26 เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความกันได้ (ฉบับแก้ไข)

ที่มา : พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ (Personal Data Protection Act : PDPA)

พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ภาพ Facebook PDPC Thailand

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button