ข่าวข่าวภูมิภาค

เริ่มแล้ว PDPA บังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วันนี้ 1 มิถุนายน วันแรก!

เริ่มแล้ว PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ใช้วันนี้ 1 มิถุนายน วันแรก ! พร้อมตอบคำถาม 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA และกฎหมายบังคับใช้ใหม่ฉบับนี้ คืออะไร เช็กที่นี่ รู้ไว้ไม่เครียด

pdpa บังคับใช้ 1 มิย 65 พ.ร.บ. คุ้มครองความเป็นส่วนตัว คืออะไร

PDPA 1 มิถุนายน 2565 วันแรก

ย้ำเตือนกันอีกสักครั้ง สำหรับกฎหมาย PDPA ที่ประกาศบังคับใช้ วันนี้ 1 มิถุนายน วันแรก ชวนคุณทำความเข้าใจแบบสรุปและกระชับ จะได้รู้ว่ากฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

PDPA คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act คือข้อกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยภาคเอกชนหรือภาครัฐที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ก่อนจะมีการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูล หรือนำข้อมูลไปเปิดเผย ซึ่งหากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอม ก็อาจมีความผิดทางกฎหมายได้

โดยคำนิยามของคำว่า ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงอะไรบ้าง คำตอบก็คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถระบุตัวตนของแต่ละคนได้นั่นเอง เช่น ชื่อ-สกุล, หมายเลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เช่น สุขภาพ, การศึกษา, การเงิน, ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เช่น Username, Password, GPS Location เป็นต้น

4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

PDPA 1 มิถุนายน วันแรก คืออะไร สรุป

หลังจากที่มีประกาศบังคับใช้กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกมา ได้มีการแพร่กระจายข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความจริงเป็นจำนวนมาก ทางหน่วยงานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) จึงออกมาชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก PDPC Thailand เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

  • ห้ามถ่ายรูป ห้ามถ่ายคลิปวิดีโอที่ติดใบหน้าของผู้อื่น ในระดับที่สามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นคือใคร

หากการถ่ายรูปดังกล่าวกระทำไปโดยไม่เจตนา ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ ไม่ผิด PDPA

  • ห้ามโพสต์ภาพ หรือ Live ติดใบหน้าผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ได้ทำไปเพื่อการค้าหรือแสวงผลกำไร ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ ไม่ผิด PDPA

  • ห้ามติดตั้งกล้องวงจรปิดนอกบริเวณบ้าน หรือพื้นที่สาธารณะซึ่งอาจมีโอกาสถ่ายติดใบหน้าของบุคคลอื่นได้

การติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัย ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน

PDPA 1 มิถุนายน วันแรก คุ้มครองความเป้นส่วนตัว

  • ห้ามเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมทุกครั้ง หากเป็นการนำข้อมูลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

– เป็นการทำตามสัญญา

– เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

– เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล

– เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

– เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

– เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

แต่ทั้งนี้หลักการดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยการใช้ PDPA จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป

หากใครสนใจอยากศึกษากฎหมาย PDPA ฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ส. 2562 หรือ PDPA ฉบับเต็ม ที่นี่

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button