เปิด 5 โรคที่มาพร้อมหน้าฝน รู้ทัน ป้องกันโรคในปี 2022
จัดอันดับ 5 โรคหน้าฝน ที่ควรต้องระวัง ในปี 2565 เตรียมตัวรับมือ เข้าสู่เดือน มิถุนายน หนาฝนอย่างเป็นทางการ มีโรคอะไรต้องรู้บ้าง
เช็กสุขภาพ 5 โรคหน้าฝน 2565 เข้าสู่ช่วงเดือนมิถุนายน หน้าฝนอย่างเป็นทางการ ของประเทศไทย อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นเพิ่ม ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วนอกจากที่เราต้องรับมือกับโรค โควิด 19 และโรคฝีดาษลิง ที่กำลังจับตามองกันทั่วโลกนั้น ไทยเองก็ยังต้องระวัง โรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน ในปี 2022 อีกด้วย จะมีโรคอะไรบ้าง ตามไปดูันเลย
เปิดลิสต์ 5 โรคหน้าฝน 2565 มิถุนายน เตรียมรับมือ รู้ทัน ป้องกันโรค
| กลุ่ม โรคหน้าฝน ที่มียุงเป็นพาหะ
โรคหน้าฝน มาพร้อมกับอากาศที่เย็นชื้น แน่นอนว่าเมื่อมีฝน ก็ต้องมีน้ำขัง อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค ดังนี้
- โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝน โดยมีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค แม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้
- โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด ดังนั้นอาการจะไม่รุนนแรงเท่า ไข้เลือดออก
- โรคไข้มาลาเรีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไข้ป่า มียุงก้นปล่องเป็นหาพะโดยมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่แถวๆ บริเวณเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยอาการโรคมาลาเรียผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการภายใน 10 – 28 วัน หลังจากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด
- โรคไข้สมองอักเสบเจอี เกิดจากเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง มี “ยุงรำคาญ” เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้มักแพร่พันธุ์ในนาข้าว พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลีย ในช่วงที่อาการรุนแรง เป็นช่วงที่อาจเสียชีวิตได้
- โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika Fever) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา ที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรง แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ในรายที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองอักเสบเฉียบพลัน
| กลุ่ม โรคหน้าฝน เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
อย่างที่ได้บอกไปว่าโรคที่มาพร้อมหน้าฝนนั้น จะมาคู่กับความชื้นในอากาศสูง ซึ้งเป็นสาเหตุให้เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราในอากาศเติบโตได้ดี ดังนั้นแล้ว โรคทางระบบทางเดินหายใจจึงเป็นอีก โรคที่มาพร้อมหน้าฝน ที่เราต้องระวัง
- โรคไข้หวัด สามารถพบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อกว่า 200 ชนิด อาการสามารถหายได้เองใน 3 – 4 วัน หากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
- โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ จำแนกออกเป็น 3 ชนิด โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วนสายพันธุ์ชนิด C มักไม่รุนแรง
- โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่พบโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumonia มักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่
| กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำดื่มและอาหาร ที่มาพร้อมหน้าฝน
คนเป็นโรคช่วงหน้าฝนกันมาก แน่นอนว่านอกจากเชื้อแบคทีเรียในอากาศ จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจแล้วนั้น อาหาร ต่าง ๆ ที่เรากินเข้าไป ถ้าทำไม่ถูกสุขอนามัย ก็มีโอกาศเสียงเป็นโรคต่าง ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน
- โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ
- โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการที่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การไม่ล้างมือให้สะอาด ใช้มือหยิบจับของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปาก ส่งผลให้เกิดภาวะถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าใน 1 วัน
- โรคบิด เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย หรืออะมีบา ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำที่มีการปนเปื้อน โดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย หรือมีมูกเลือดปน
- โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่ตับมีอาการอักเสบ และติดเชื้อ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบชนิด A B C D และ E โดยจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์
| กลุ่มโรคหน้าฝน ที่ติดเชื้อผ่านทางบาดแผล และเยื่อบุผิวหนัง
ในบางครั้งหน้าฝน ก็มักจะเกิดน้ำขังอยู่บ่อย ๆ และหลาายคนก้เลือกที่จะเดินลุยน้ำไปเลย แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำนั้น เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของ โรคที่มาพร้อมหน้าฝน เลยก็ว่าได้
- โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะหลัก เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะที่ปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก
- โรคตาแดง / โรคเยื่อบุตาอักเสบ ส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัส หรืออาจเกิดจากการเด็กมีโรคประจำตัวอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคันตา ขยี้ตาบ่อยๆ จนเกิดอาการตาอักเสบ
| โรคหน้าฝน “มือ เท้า ปาก”
โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ ซึ่งอาจจะไข้ต่ำหรือไข้สูงก็ได้และจะมีแผลในปาก มีผื่นที่มือที่เท้า
? สามารถติดตามข่าวสาร เพิ่มเติมได้ที่นี่
- ข่าวปลอม! ฉีดวัคซีน AstraZeneca เสี่ยงเป็นโรค “ฝีดาษลิง” ไม่เป็นความจริง
- 1 มิถุนายน 2565 วันวิ่งโลก สุขภาพดี เริ่มสร้างได้ด้วยการ ‘วิ่ง’
- จริง! กลุ่มผู้ที่เกิดหลังปี 2523 จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง โรคฝีดาษลิง
- อย่าทำ! เอา ‘ผงพิเศษ’ ไป อุดฟัน ตามรีวิว TikTok
- กรมอนามัย เตือน! อย่ากิน ‘ซาซิมิหมูดิบ’ เสี่ยงเป็นโรคหูดับ