เริ่มแล้ว PDPA บังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วันนี้ 1 มิถุนายน วันแรก!
เริ่มแล้ว PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ใช้วันนี้ 1 มิถุนายน วันแรก ! พร้อมตอบคำถาม 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA และกฎหมายบังคับใช้ใหม่ฉบับนี้ คืออะไร เช็กที่นี่ รู้ไว้ไม่เครียด
pdpa บังคับใช้ 1 มิย 65 พ.ร.บ. คุ้มครองความเป็นส่วนตัว คืออะไร
ย้ำเตือนกันอีกสักครั้ง สำหรับกฎหมาย PDPA ที่ประกาศบังคับใช้ วันนี้ 1 มิถุนายน วันแรก ชวนคุณทำความเข้าใจแบบสรุปและกระชับ จะได้รู้ว่ากฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
PDPA คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act คือข้อกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยภาคเอกชนหรือภาครัฐที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ก่อนจะมีการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูล หรือนำข้อมูลไปเปิดเผย ซึ่งหากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอม ก็อาจมีความผิดทางกฎหมายได้
โดยคำนิยามของคำว่า ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงอะไรบ้าง คำตอบก็คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถระบุตัวตนของแต่ละคนได้นั่นเอง เช่น ชื่อ-สกุล, หมายเลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เช่น สุขภาพ, การศึกษา, การเงิน, ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เช่น Username, Password, GPS Location เป็นต้น
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
หลังจากที่มีประกาศบังคับใช้กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกมา ได้มีการแพร่กระจายข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความจริงเป็นจำนวนมาก ทางหน่วยงานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) จึงออกมาชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก PDPC Thailand เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้
- ห้ามถ่ายรูป ห้ามถ่ายคลิปวิดีโอที่ติดใบหน้าของผู้อื่น ในระดับที่สามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นคือใคร
หากการถ่ายรูปดังกล่าวกระทำไปโดยไม่เจตนา ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ ไม่ผิด PDPA
- ห้ามโพสต์ภาพ หรือ Live ติดใบหน้าผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ได้ทำไปเพื่อการค้าหรือแสวงผลกำไร ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ ไม่ผิด PDPA
- ห้ามติดตั้งกล้องวงจรปิดนอกบริเวณบ้าน หรือพื้นที่สาธารณะซึ่งอาจมีโอกาสถ่ายติดใบหน้าของบุคคลอื่นได้
การติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัย ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน
- ห้ามเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมทุกครั้ง หากเป็นการนำข้อมูลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
– เป็นการทำตามสัญญา
– เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
– เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
– เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
– เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
– เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
แต่ทั้งนี้หลักการดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยการใช้ PDPA จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป
หากใครสนใจอยากศึกษากฎหมาย PDPA ฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ส. 2562 หรือ PDPA ฉบับเต็ม ที่นี่
- ทนายตั้มแจง เซลฟี่ตัวเองติดคนอื่น ผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่
- แจง 4 ข้อ เข้าใจผิด กฎหมาย PDPA ถ่ายภาพติดบุคคลอื่น กล้องวงจรปิด ข้อมูลส่วนบุคคล
- PDPA มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ เช็คด่วน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครอบคลุมอะไรบ้าง
- สรุป PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร บังคับใช้เมื่อไหร่ ดูคำตอบ