ผู้หญิงสุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

รู้จัก ภาวะมดลูกแฝด หรือ UTERUS DIDELPHYS ทำให้ผู้หญิง มี 2 ช่องคลอด

หลังจากมีข่าวที่ทำเอาชาวเน็ตตะลึงไปทั้งโลกออนไลน์ จากการที่หญิงสาวชาวอเมริกันคนหนึ่งออกมาเปิดเผยว่าเธอนั้นมี “ภาวะมดลูกแฝด หรือ UTERUS DIDELPHYS” ทำให้ร่างกายของเธอนั้นมีช่องคลอด 2 อัน และมดลูก 2 อัน พร้อมทั้งมีปากมดลูกแยกกันด้วย หลายคนอาจจะสงสัยว่าภาวะดังกล่าวนั้นมีในโลกนี่ด้วยเหรอ

วันนี้ทาง The Thaiger จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะมดลูกแฝด หรือ UTERUS DIDELPHYS มาฝากทุกคนกันด้วย เราไปดูพร้อมกันเลยดีกว่าว่าภาวะดังกล่าวนั้นคืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายของหญิงสาว และเป็นอันตรายหรือไม่

“ภาวะมดลูกแฝด” หรือ “UTERUS DIDELPHYS” เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียครรภ์ให้กับสตรีเพศ

ภาวะมดลูกแฝดคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะมดลูกแฝด (Double Uterus) เป็นประเภทความผิดปกติของร่างกายผู้หญิงแต่กำเนิด ซึ่งผู้หญิงบางคนนั้นเกิดมาพร้อมกับมดลูกแฝด อาจมีปากมดลูกและช่องคลอด 2 อัน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรของสุภาพสตรี แม้ว่าจะมีโอกาสในการแท้งบุตรน้อยก็ตาม โดยในทางการแพทย์เชื่อว่าเป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะมดลูกแฝด

แพทย์อาจตรวจพบภาวะมดลูกแฝด (Double Uterus) ผ่านการศึกษาภาพถ่าย เช่น การตรวจโดยใช้รังสี (Hysterosalpingogram) การฉีดน้ำเกลือแทนสารทึบแสง และใช้อัลตราซาวด์ดูภาพแทน X-Ray (Honohysterogram) อัลตราซาวนด์หรือแม้กระทั่ง MRI

การวินิจฉัยอาจจำเป็นต้องได้รับการยืนยันโดยการผ่าตัดผ่านกล้องหรือการส่องกล้องเพื่อที่จะแยกความแตกต่างของมดลูกแฝด (Double Uterus) จากมดลูกลักษณะเป็นปากแตร (Bicornuate Uterus)

แพทย์อาจคาดว่าผู้หญิงที่มีมดลูกแฝด (Double Uterus) อาจมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานรุนแรงหรือมีการแท้งบุตรซ้ำ แต่จากสถิติ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้ไม่มีอาการแสดงดังกล่าว ผู้หญิงที่มีมดลูกแฝด (Double Uterus) พร้อมกับช่องคลอดแฝดจะมีความเสี่ยงกับภาวะประจำเดือนไหลมาก และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการดูแลรอบประจำเดือน และอาจพบภาวะมีบุตรยาก มีปัญหาเกี่ยวกับไตและอาจคลอดบุตรก่อนกำหนด

ภาวะมดลูกแฝด UTERUS DIDELPHYS
ภาพจาก : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาวะมดลูกแฝดจะรักษาได้อย่างไร

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ภาวะมดลูกแฝด (Didelphic Uterus) หากไม่ได้ประสงค์จะมีบุตรก็ไม่จำเป็นต้องมีการดูแลพิเศษ แต่ถ้าหากประสงค์จะมีบุตรก็ควรปรึกษาแพทย์ในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อดูสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะเกิดกับทารก

ก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์ผู้หญิงที่มีมดลูกแฝด (Double Uterus) ควรปรึกษาแพทย์โดยละเอียด แพทย์อาจทำการผ่าตัดให้มดลูกเป็นอันเดียว หรือเอามดลูกที่ไม่แข็งแรงออกในผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ ซึ่งการผ่าตัดไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีมดลูกแฝดทุกเคส ยกเว้นผู้หญิงที่เคยมีปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แพทย์อาจเพิ่มขั้นตอนดูแล เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด

ภาวะมดลูกแฝด UTERUS DIDELPHYS
ภาพจาก : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาวะมดลูกแฝดอันตรายต่อผู้หญิงหรือไม่

แม้ว่าจะมีโอกาสในการแท้งบุตรน้อยมาก แต่ผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (Didelphic Uterus) จะมีความแตกต่างกันในด้านความสมบูรณ์ของภาวะตั้งครรภ์จนครบวาระ ผู้หญิงบางคนไม่เคยมีปัญหาใด ๆ และมีการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์จนกระทั่งคลอด

บางคนอาจมีการแท้งบุตรหลายครั้งหรืออาจต้องเผชิญการคลอดก่อนกำหนด และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสูญเสียครรภ์ในไตรมาสที่สอง ผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (Didelphic Uterus) อาจมีการพัฒนาการของภาวะตั้งครรภ์อย่างปกติสมบูรณ์

นอกจากนี้ในเคสที่หายากของผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (Didelphic Uterus) อาจมีการตั้งครรภ์ในมดลูกทั้งสองอันและมีวันกำหนดคลอดที่แตกต่างกัน หรือบางคนอาจมีมดลูกที่พัฒนาการไม่ดี และมีความเสี่ยงสูงในการแท้งบุตร หรือถ้าปากมดลูกมีปัญหาก็จะมีความเสี่ยงที่สูงในการคลอดก่อนกำหนด

ภาวะมดลูกแฝด UTERUS DIDELPHYS

แม้ว่าภาวะมดลูกแฝด หรือ UTERUS DIDELPHYS จะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ตาม แต่จากสถิติแล้วก็เป็นเพียงกรณีศึกษาส่วนนน้อยเท่านั้น ดังนั้นสุภาพสตรีท่านใดที่ตรวจพบว่าตัวเองมีภาวะดังกล่าว ก็ไม่ต้องเครียดหรือกังวลใจมากจนเกินไปนะคะ เพียงแค่ทำตามคำแนะนำของคุณหมอในการดูแลรักษาช่องคลอดของตัวเราเองก็เพียงพอแล้วค่ะ

อ้างอิง : 1 2


Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button