เตือนภัย กินฉี่ รักษาโรค ได้จริงไหม ? ไขข้อข้องใจ ใครเคยดื่มน้ำปัสสาวะ เช็กด่วน!
ไข้ข้อข้องใจ กินฉี่ ดื่มน้ำปัสสาวะ รักษาโรค ได้จริงหรือลวง เตือนภัย แทนที่จะรักษาโรค อาจจะกลับได้โรคมาเพิ่ม
เรียกว่ากระแสการ กินฉี่ ดื่มน้ำปัสสาวะ รักษาโรค กำลังมาแรงสุด ๆ ในปี 2565 ซึ่งดูจะไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นอะไรแล้วในยุคนี้ เพราะหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ‘ความเชื่อ’ ของคนรุ่นก่อน ๆ ว่าการกินฉี่นั้น ช่วยรักษาโรคได้ แต่ความเชื่อ คำบอกเล่านั้น สามารถเชื่อได้สักแค่ไหนกัน วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจ กินฉี่ รักษาโรค จริงหรือหลอก !ฃ
ไขข้อข้องใจ กินฉี่ รักษาโรค ได้จริงหรือไม่ ? เช็คให้ไว ได้โรคหาย หรือได้โรคเพิ่ม
| ฉี่ / ปัสสาวะ คืออะไร?
ปัสสาวะ หรือฉี คือ ของเสียที่ถูกขับออกมาในรูปแบบของเหลว ออกมาจากร่างกายผ่านกระบวนการทำงานของไต โดยธรรมชาติ ‘ปัสสาวะของคน’ เวลาถ่ายใหม่ ๆ จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ แต่พอทิ้งให้อยู่ในสภาพที่มีอากาศประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง ปัสสาวะจะกลายเป็นด่าง และเริ่มมีกลิ่น เพราะส่วนประกอบของยูเรียในปัสสาวะ จะถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซแอมโมเนีย (NH3)
| ส่วนประกอบของ ปัสสาวะ
หลัก ๆ แล้วนั้น ปัสสาวะของคน จะมีส่วนประกอบหลักด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่
- กลุ่มสารหรือของเสียที่ร่างกายกำจัดออก (Metabolic waste) ที่เกิดจากการสันดาปของร่างกาย ได้แก่ ยูรีย จากกรเผาผลาญโปรตีนและกรดอะมิโน กรดยูริค (Urc acid) จากการสลายสารอาหารกลุ่มพิวรีน สารประกอบดิโตน (Ketone compounds) จากการสลายไขมัน
- ยาหรืออนุพันธ์ของยาที่รับประทานเข้าไป
- เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนออกมา
| กินฉี่ รักษาโรคได้จริงไหม ? อันตรายไหม ?
สำหรับคำบอกกันที่ว่ากินฉี่ สามารถรักษาโรค ‘ไม่จริง’ แต่อย่างใด เพราะสารต่าง ๆ ที่ร่งกายขับออกมาในรูปแบบปัสสาวะเกือบทั้งหมด เป็นสารของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย และร่างกายไม่ต้องการใช้ ถ้าเกิดการตกค้างในร่างกายจะเกิดผลเสียตามมาได้ในอนาคต
หากกินฉี่ อันตรายไหม ปัสสาวะโดยทั่วไปหลังขับออกมาจากร่างกายมีค่าความเป็นกรดที่ pH ประมาณ 5 – 6.5 ดังนั้นหากดื่มในขณะท้องว่าง อาจทำให้เกิดผลสียต่อเยื่อบุผนังลำคอ, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหารได้ อีกทั้งมีโอกาสได้รับสารอนุพันธ์ของตัวยา ที่ร่างกายกำจัดออกทางปัสสาวะ กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เพิ่มความเสี่ยงของการสะสมยาในร่างกายมากเกินไป
ในปัจจุบันการ กินฉี่ ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือว่าสามารถ รักษาโรค ได้ดังนั้นความเชื่อนี้ จึงถือว่าไม่ผ่านทางการแพทย์อย่างแน่นอน ของเสียที่ร่างกายกำจัดออกมาแล้วนั้น ก็ไม่ควรนำกลับเข้าไปใหม่ ในการรักษาโรคที่ดีที่สุดคือการเข้ารับการรักษาให้ถูกหลักการแพทย์จะดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก 1
? ติดตามข่าวสารต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่
- เตือนภัย กินขี้ไคลรักษาโรค จริงไหม? ไขความจริง ล้างความเชื่อผิด ส่ออันตรายถึงชีวิต
- สธ. เตือน ‘Alprazolam’ ใช้ตามหมอสั่ง เตือนใช้ผิดถึงตายได้
- ใช้ “ใบรับรองแพทย์อิเล็กทรอนิกส์” รับประโยชน์ทดแทน ประกันสังคม ได้แล้ว
- ข้าวเกรียบพระบิดาคืออะไร สินค้าจากโรงงาน #พระบิดา รู้ก่อนจะได้ไม่เผลอกิน!
- แนะนำ 10 คาร์ซีท 2022 ยี่ห้อไหนดี หลังบังคับใช้เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ