สุขภาพและการแพทย์

เตือนภัย! ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ติดต่อทางไหนได้บ้าง โรคร้ายก่อนกลายเป็น ‘มะเร็งตับ’

เตือนภัย! ไวรัสตับอักเสบบี หรือโรค HBV คืออะไร? สามารถติดต่อทางไหนได้บ้าง? มีวิธีป้องกันอย่างไร? รู้เท่าทันโรคร้ายก่อนกลายเป็น ‘มะเร็งตับ’

ทุกวันนี้ เรียกได้ว่าสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ ในการดำรงค์ชีวิตในปัจจุบัน จากรายงานล่าสุดนพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรังถึง 2.2 ล้านคน ส่วนใหญ่จะเกิดภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งตับตามมา เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ ไวรัสตับอักเสบบี หรือ HBV วันนี้ The Thaiger จึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคร้ายชนิดนี้กัน มันคืออะไร? ติดต่อทางไหน? รักษาหายไหม ? วันนี้มาไขข้อข้องใจกัน

Advertisements

รู้ทันโรค ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ติดต่อทางไหน ? ห้ามกินอะไร ? พร้อมวิธีการรักษา

| ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) คืออะไร ?

ไวรัสตับอักเสบบี ภาษาอังกฤษ Hepatitis B (HBV) คือ การอักเสบของเซลล์ตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ผู้ได้รับเชื้อมีแนวโน้มเกิด ภาวะตับอักสบเรื้อรัง ซึ่งหากปล่อยไว้จำะทำให้เซลล์ตับตาย เกิดพังผืด นำไปสู่โรคตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด

| ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้ทางไหน ? อย่างไร ? |

ในสมัยก่อนนั้น ไวรัสตับอักเสบสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ (หากแม่มีเชื้อ ทารกมีโอกาสได้รับเชื้อสูงถึง 90%) แต่ในปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้ในเด็กเกิดใหม่ ทำให้ลดอัตราการเกิดในเด็กได้เกือบ 100%

Advertisements

นอกจากนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบี ยังมาจากการสัมผัสเลือก หรือสารคัดหลั่งทางบาดแผล การมีเพศสัมพันธุ์แบบไม่ป้องกัน/ไม่สวมถุงยางอนามัย รวมไปถึงการใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันร่วมกันเช่น แปรงสีฟัน เข็มฉีดยา มีดโกน ที่ตัดเล็บ

| อาการของผู้ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อ ในบางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจจึงทราบผล แต่อาการเริ่มแรกของผู้ติดเชื้อ สามารถสังเกตุเบื้องต้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะเฉียบพลัน
    • อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
    • อาการอื่น ๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
    • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลาย อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
    • อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้
  2. ระยะเรื้อรัง สามารถแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
    • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ

| หากเป็นไวรัสตับอักเสบบี มีวิธีรักษาอย่างไร? รักษาหายไหม?

| ตรวจไวรัสตับอักเสบบี เตรียมตัวอย่างไร ? |

ในทางการแพทย์นั้น เราสามารถตรวจหาว่าเราติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HBV โดยหลัก ๆ 3 วิธีได้แก่

  • เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test)
  • การตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจ
  • เจาะเลือดตรวจเชื้อ
    • HBsAg (แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี) : ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยกำลังมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    • Anti-HBS (ภูมิคุ้มกันต่อ HBsAg) : ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

| ไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม ? วิธีรักษา |

ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีที่สมควรได้รับการรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีลักษณะ ดังนี้

  • HBsAg ให้ผลบวก เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
  • มีหลักฐาน ที่บ่งชี้ว่าไวรัสกำลังมีการแบ่งตัวอย่างมาก คือ
    • HBeAg เป็นบวก ปริมาณไวรัสมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 IU/ml
    • HBeAg เป็นลบ ปริมาณไวรัสมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 IU/ml
  • ระดับ ALT มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เท่าของค่าปกติอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลักฐานว่ามีตับแข็งหรือภาวะตับวาย พิจารณาให้การรักษาถึงแม้จะมี ALT ปกติ ไม่จำเป็นต้องรอห่างกันเกิน 3 เดือน)
  • ต้องไม่มีโรคอื่นที่เป็นสาเหตุหลักของตับอักเสบ

| วิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (HBV)

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด ควรเริ่มจากต้นเหตุด้วยการฉีด วัคซีน ป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อ หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด

สำหรับผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็น พาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 1 2 3

? ติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่


 

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button