เตือนภัย กินขี้ไคลรักษาโรค จริงไหม? ไขความจริง ล้างความเชื่อผิด ส่ออันตรายถึงชีวิต
ไขข้อข้อใจ กินขี้ไคลรักษาโรค ได้จริงไหม ? หลังหมอปลา พาตำรวจบุกสำนักพระบิดา ให้คนกินขี้ไคล กินของเสียต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อรักษาโรค ไขข้อข้องใจ เตือนภัยสังคม
เป็นข่าวใหญ่ต้อนรับต้นเดือน จับพระบิดา ชัยภูมิ หลังหมอปลา ประสานผู้ว่าฯ ชัยภูมิ นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ สำนักประหลาด อ้างตัวเองว่าเป็นพระบิดาของทุกศาสดา ให้ลูกศิษย์กินปัสสาวะ กินเสมหะ กินอุจจาระ รวมถึงขี้ไคลเป็นยารักษาโรค ทำเอากระแสโซเชียลร้อน เพราะสิ่งที่ลูกศิษญ์กินไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของเสียจากร่างกาย ทำให้เกิดข้อส่งสัยที่ว่า กินขี้ไคลรักษาโรคได้จริงไหม ? วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมาหาคำตอบ ไขข้องใจกัน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่ออีกต่อไป
กินขี้ไคลรักษาโรค จริงไหม? เตือนภัย อาจอันตรายถึงชีวิต
| ขี้ไคล คืออะไร ? เกิดจากอะไร ?
ขี้ไคล คือ หนังกำพร้าส่วนบนของผิวหนัง ซึ่งลอกออกตามปกติทุกวันเมื่อหมดอายุขัย โดยที่การหลุดมาเป็นขี้ไคลนั้น เกิดจากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อม แสงแดด และสารเคมีที่ได้รับ ซึ่งในแต่ละเชื้อชาติอาจจะมีลักษณะขี้ไคลต่างกันไปโดยทั่วไปขี้ไคลจะมีลักษณะเป็นคราบดำ ๆ หลุดออกมาเวลาถูทำความสะอาด
| ประโยชน์ของ ขี้ไคล แต่ไม่ใช่การรักษาโรค
แม้ว่า ขี้ไคล ชื่อว่า ขี้ แต่ความเป็นจริงแล้วชั้นขี้ไคลก็คือ ชั้นหนังกำพร้า ที่เกาะติดอยู่บนผิวหนังชั้นบนควบคู่ไปกับชั้นน้ำมันเคลือบผิว ซึ่งทำหน้าที่เป็น เกราะที่คอยคุ้มครองปกป้องผิวหน้าจากฝุ่นละออง เชื้อโรคและสารเคมีต่างๆ ไม่ให้ซึมผ่านลงไปทำร้ายผิวได้ง่ายๆ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นด้วย นอกจากนี้ยังช่วยกันรังสียูวีได้ส่วนหนึ่ง
ดังนั้นหากขัดผิวด้วยสครับทุกวัน อาจเป็นการทำลายส่วนที่ปกป้องผิวหนังตามธรรมชาติ หากต้องการขัดผิวขอแนะนำให้ไม่ควรเกินอาทิตย์ละครั้ง เพราะถ้าขัดผิวทุกวันจะทำให้สูญเสียชั้นน้ำมัน และชั้นขี้ไคล จะส่งผลให้ผิวเปราะบาง ขาดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ กลายเป็นผิวบอบบาง ผิวแห้ง แพ้เป็นผื่นหรือคันได้ง่ายนั่นเอง
แต่หากปล่อยไว้ให้เกิดการหมักหมมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการหมักหมมของแบคทีเรีย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของกลิ่นตัว และทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวแช่น คอ ข้อพับขา ข้อพับแขน เกิดคราบดำได้
| กินขี้ไคลรักษาโรค จริงไหม ?
แม้ว่า ขี้ไคล จะมีประโยชน์ในแง่ของการดูแลรักษาผิว แต่ในทางการแพทย์ ไม่มีปรากฎว่าการ กินขี้ไคลรักษาโรค สามารถรักษาโรค หรือให้ประโยชน์ใด ๆ ต่อร่างกาย ในทางตรงข้าม ถ้าผิวของเราไม่สะอาด หรือได้รับเชื้อโรค แบคมีเรียจากภายนอก เมื่อกินขี้ไคลเข้าไป เชื้อโรคต่าง ๆ อาจนำไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้ ทั้งอาการท้องร่วง อาหารเป็นพิษ หรือในบางราย อาจลามไปถึงทำให้ร่างกายพิการก็เป็นได้
ดังนั้น กินขี้ไคลรักษาโรค ไม่ได้! อย่าหาทำ
? สามารถติดตามข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
- กษ. ดำเนินการยื่น ‘เกษตรเชิงนิเวศ’ ทะเลน้อย พัทลุง เป็น มรดกทางการเกษตรโลก
- ดราม่าเดือด ! ราชาแห่งการไลฟ์สดของเอเชีย ด่านางแบบกลางไลฟ์ จนน้ำตาตก
- เปิดวาร์ป ต้าวหยองระเบียบวาทะศิลป์ แดนเซอร์สุดฮอตจากคณะหมอลำของไทย
- SAIJAI แพลตฟอร์ม งานบ้าน ครบวงจร พร้อมสร้างรายได้ให้กับทุกคน
- กยศ. จัด มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ภาคใต้ ในวันที่ 6-9 พ.ค. 65