ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

30 เมษายน 2565 วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างความเป็นธรรมแด่ผู้บริโภค

ไม่ทันไร ก็จะใกล้จะหมดเดือนเมษายน 2565 เดือนแห่งเทศกาลและวันสำคัญต่าง ๆ มากมายที่รวมไว้ในเดือนนี้ไม่ว่าจะเป็นวันที่ 13 – 15 เมษายน กับวันสงกรานต์ 2565 หรือจะเป็นวันที่ 25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรฯ และนอกจากนั้นแล้ว วันสำคัญส่งท้ายเดือนอย่างวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย ก็ยังตรงกับวันที่ 30 เมษายน 2565 อีกด้วย ไม่ว่าเราจะไปช้อปปิ้ง ซื้อสินค้า ใช้บริการต่าง ๆ ก็จะมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค คอยให้ความเป็นธรรมกับเราอยู่ วันนี้ The Thaiger จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย คือวันอะไร ? สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คือใคร ? มีความสำคัญอย่างไรกับเราคนไทยทุกคน ย้อนประวัติ และความเป็นมาของวันสำคัญ 30 เมษายน 2565 ส่งท้ายเดือนกัน

30 เมษายน 2565 วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย เพื่อปกป้อง และคุ้มครอง ให้คนไทยได้รับความเป็นธรรม

Advertisements

วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

| ประวัติ วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

จุดเริ่มต้นของ วันคุ้มครองผู้บริโภค เริ่มต้นในปี พ.ศ.2512 ครั้งนั้น ได้มีเจ้าหน้าที่สหพันธ์ องค์กรผู้บริโภคระหว่างประเทศ จัดตั้งโดยสมาคมผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ รวมตัวกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เข้ามาชักชวนองค์กรเอกชนในประเทศไทยให้เข้าร่วมสหพันธ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ แต่เนื่องจากองค์กรเอกชนของประเทศไทยขณะนั้นยังไม่พร้อม จึงยังไม่ได้เกิดความร่วมมือกัน

ในปี พ.ศ. 2514 องค์กรเอกชนของประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหาผู้บริโภคมีชื่อว่า “กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค” ได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาในภาคเอกชน รวมทั้งได้ประสานงานกับภาครัฐบาล จนถึงปี พ.ศ. 2519 รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นประธานกรรมการ

Advertisements

ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลในสมัยนายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เห็นความสำคัญของกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นอีกครั้ง พร้อมยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองบริโภค เพื่อนำเสนอต่อรัฐสภา ภายหลังรัฐสภามีมติเอกฉันท์ให้เป็นกฎหมายได้ จึงได้นำร่างขึ้นบังคมทูล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ทรงลงพระปรมาภิไธยตั้งแต่ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 4 พฤษภาคม 2522 มีผลการใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2522 เป็นต้นมา

ปัจจุบัน วันคุ้มครองผู้บริโภค อยู่ภายใต้การดูแล และกำกับของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตัวย่อ สคบ. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522

วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

| วัตถุประสงค์ วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

การประกาศใช้ พ.ร.บ. กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ “เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจการค้า และธุรกิจโฆษณา ได้นำวิชาการทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าและบริการมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ เพราะไม่อยู่ในฐานะที่ทราบภาวะตลาดและความจริงเกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที”

  1. กำหนดสิทธิของผู้บริโภค ที่จับจ่ายซื้อสินค้าตามต้องการ
  2. กำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาต่อผู้บริโภค เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
  3. จัดให้มีองค์กรของรัฐที่เหมาะสมเพื่อตรวจตรา ดูแลและประสานงานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค

| สิทธิของผู้บริโภค ตามกฎหมายพรบ. คุ้มครองผู้บริโภคไทย 2565

การประกาศใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดสิทธิที่ประชาชนชาวไทยพึงมี ในฐานะของผู้บริโภคในการจับจ่ายซื้อของใช้ และบริการ จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้

  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้า หรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

| ช่องทางร้องเรียน สำหรับผู้บริโภค สามารถติดต่อที่ไหนได้บ้าง ?

ในกรณีที่เราไปช้อปปิ้งซื้อของ แต่หากเราในฐานะผู้บริโภคอย่าง ถูกละเมิดสิทธิ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้า และบริการ สามารถร้องเรียนเพื่อยื่นคำร้องตามกฎหมายผู้บริโภคได้หลายช่องทางอย่างเช่น

วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

เรื่อง : สิทธิโชติ ลังกากาศ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล


 

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button