สะพานฟัน (Dental Bridge) คืออะไร ?
สะพานฟัน (Dental Bridge) คืออะไร หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างว่าการทำสะพานนั้นคือการทำทันตกรรมประเภทหนึ่งเพื่อช่วยให้แก้ไขปัญหาฟัน วันนี้ Thaiger Medical เลยขออาสาพาทุกท่านมารู้จักการทำทันตกรรมรูปแบบนี้กัน จะมีอะไรที่น่าสนใจ และเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
สะพานฟัน (Dental Bridge) คืออะไร ?
สะพานฟันคือ รูปแบบของทันตกรรรมชนิดหนึ่ง ที่เชื่อมฟันเข้าด้วยกันเพื่อการแก้ปัญหาฟันถูกถอนหรือหลุดหาย โดยสะพานฟันจะทำหน้าที่แทนฟันที่หายไป ด้วยฟันเทียมโดยถ้าหากคุณมีฟันที่หายไปอย่างน้อยหนึ่งซี่ สะพานจะติดตั้งลงไปแทนที่ และถูกยึดเข้าที่ครอบฟันด้านใดด้านหนึ่งของฟันที่หายไป รวมถึงสามารถยึดโยงไว้กับฟันปลอมได้
ใครบ้างที่เหมาะแก่การทำสะพานฟัน (Dental Bridge) ?
เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องฟันที่หายไปหรือถูกถอนด้วยเหตุผลทางทันตกรรม เช่น โรคฟันผุ โรคเหงือก และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการสูญเสียฟัน รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาฟันไม่ครบมาตั้งแต่กำเเนิด ซึ่งในกรณีที่ต้องการรักษาด้วยสะพานฟันจะต้องได้รับการเห็นด้วยจากทันตแพทย์ว่าฟันของท่านสามารถรับน้ำหนักได้
ทำไมถึงต้องรักษาด้วยการทำสะพานฟัน (Dental Bridge) ?
แน่นอนว่าฟันทุกซี่ของเรานั้นต่างก็มีความสำคัญของตัวเอง ดังนั้นการที่เราสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไปนั้นก็หมายความว่าฟันของเราก็อาจจะเกิดปัญหาใกญ่ที่ตามมาได้ เช่น ปัญหาฟันสบ ปัญหาในการกัดหรือเคี้ยว อาหาร รวมไปถึงการสูญเสียความมั่นใจในรอยยิ้ม และบุคคลิกของตัวเองได้
สะพานฟันมีกี่ประเภท ?
สะพานฟันนั้นมี 3 ประเภทแบ่งออกตามลักษณะการติดตั้งของสะพานฟัน ได้แก่
- สะพานฟันแบบทั่วไป
ซึ่งจะมีส่วนประกอบคือ ครอบฟันประเภทต่าง ๆ ที่คนไข้สามารถกำหนดเองได้ตามความพึงพอใจ และจะใช้การครอบฟันลอย (Pontic) เป็นตัวเชื่อมระหว่างครอยฟันที่ยึดติดอยู่บนฟัน ซึ่งวิธีนี้สะพานฟันจะมีความทนทาน และสามารถใช้งานในการบดเคี้ยวได้อย่างสะดวก ทำให้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
- สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว หรือ Cantilever Bridges
การทำสะพานฟันประเภทนี้ จะเป็นการยึดเกาะสะพานฟันด้วยฟันซี่ข้างเคียงซี่เดียว ซึ่งวิธีนี้อาจจะทำให้เหนียวเกินไป หรือแตกหักได้ง่าย
- สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ หรือ สะพายฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน (Resin-bond bridge)
เป็นการทำสะพานฟันที่มีแกนโลหะ และมีลักษณะคล้ายปีกซึ่งมีหน้าที่ยึดติดด้านหลังของฟันซี่ข้างเคียง ซึ่งทำให้การทำสะพานประเภทนี้ไม่จำเป็นตองสูญเสียเนื้อฟันซี่ข้างเคียง แต่จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าสะพาน ฟันแบบทั่วไป
นอกจากนั้นสะพานฟันยังประกอบด้วย 2 ส่วนนั้นคือ ส่วนที่ยึดกับฟันธรรมชาติ ซึ่งเป็ฯส่วนที่ต้องสวมลงไปครอบกับฟันธรรมชาติ และส่วนที่เป็นฟันลอน (Pontic) ซึ่งเป็นฟันที่จะลอยอยู่เหนือเหงือก เป็นตัวเชื่อมระหว่างฟันทั้ง 2 ซี่ ทำหน้าที่ทดแทนฟันที่ถูกถอนออกไป
ขั้นตอนการรักษาสะพานฟัน(Dental Bridge)เป็นอย่างไร ?
ขั้นตอนของการรักษาด้วยสะพานฟันแบบทั่วไปนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ครั้งหลัก โดยในครั้งแรกจะเป็นเข้าพบ ทันตแพทย์เพื่อวางแผนในการรักษา และพิมพ์ฟัน โดยจะมีรายละเอียดคือการเลือกสี และวัสดุของสะพานฟันในเหมาะสมกับคนไข้ และทำการกรอฟันซี่ที่จะใช้ยึดเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน และทำการติดสะพานฟันชั่วคราวให้คนไข้สำหรับรอสพานฟันที่จะได้ใช้งานจริงประมาณ 5 ถึง 7 วัน
หลังจากนั้นในครั้งที่สอง ทันตแพทย์จะทำการรื้อสะพานฟันชั่วคราวออกและทำการใส่สะพานฟันแบบถาวร ที่ได้มาจากแลปทันตแพทย์ ซึ่งมีความสวยงามเหมือนกับฟันธรรมชาติ หลังจากทำการติดตั้งสะพานแบบถาวรแล้ว ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลและทำความสะอาด ซึ่งอาจจะนัดมาเจอเพื่อตรวจสอบความเรียบอีกครั้งภายใน 7 ถึง 14 วัน
[lasso ref=”mordee-2″ id=”627283″ link_id=”158022″]
ข้อดีของการทำสะพานฟัน
- เพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้มช่วยให้บุคคลิกภาพดีขึ้น
- สามารถแก้ปัญหาในการบทเคี้ยวอาหารไปรวมถึง การออกเสียงได้
- หลีกปัญหาฟันต่าง ๆ ที่ตามมา เช่น ฟันล้ม ใบหน้าไม่เข้ารูป การบดเคี้ยวที่แรงเกินไป
- ช่วยรักษาอาการฟันสบให้เป็นปกติ
- สามารถทนดแทนฟันที่สูผญเสียไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของการทำสะพานฟัน
ข้อเสียหลัก ๆ ต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เนื่องมีบางส่วนของสะพานฟันที่ทำความสะอาดได้ยาก และฟันที่เป็นหลักยึดก็สามารถผุกร่อนใต้สะพานฟันได้
วิธีการดูแลรักษาหลังทำสะพานฟัน
- ควรงด หรือหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมง
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ 1 ช้อนชาผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้ว อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- หมั่นดูแลความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรค
- อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ควรรับประทานอาหารที่พอเหมาะ หรือรับประทานยาแก้ปวด และเครื่องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากที่สามารถช่วยลดปัญหาการเสียวฟันได้
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และเช็คสภาพของอุปกรณ์
ทั้งนี้ราคาเบื้องต้นของการทำสะพานฟันจะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาลและคลินิกทำฟัน ดังนั้นการทำสะพานฟันควรจะต้องเลือกสถานพยาบาล หรือคลินิกที่ได้มาตรฐานอีกด้วย และหากท่านใดที่มีความสนใจในการทำสะพานฟัน และทันตกรรมอื่น ๆ ก็สามารถแอดไลน์มาคุยกันได้ที่ @mordee
และหากกำลังมองหาสถานที่ ที่ให้บริการทางทันตกรรมอื่น ๆ ที่ >> mordee.co ? เรามีให้ท่านได้เลือกอย่างมากมาย
บทความเกี่ยวกับทันตกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ