รู้จัก โรคใหลตาย ส่องสัญญาณอัตราย กับความตายที่ไม่รู้ตัว
จากกรณี บีม ปภังกร เสียชีวิต ด้วยวัยเพียง 25 ปี จากการนอนหลับไม่ตื่นเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุด กับชาวช็อกวงการบันเทิง ที่ สมบัติ เมทะนี เสียชีวิต ที่นอนหลับแล้วเสียชีวิตไปเฉย ๆ ภรรยาให้สัมภาษณ์ว่าสมบัติไม่มีโรคประจำตัวอะไร ทำให้ผู้คนต่างเริ่มให้ความสนใจกับ โรคใหลตาย หรือ โรคบรูกาดาซินโดรม มากขึ้น ว่าจะใช่สาเหตุหรือไม่
วันนี้ The Thaiger จึงจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรคไหลตาย โรคที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว พร้อมส่องสัญญาณอัตราย อาการแบบไหนเข้าใกล้ภาวะนี้บ้าง
รู้จัก โรคใหลตาย ส่องสัญญาณอัตราย กับความตายที่ไม่รู้ตัว
| โรคใหลตาย มีสาเหตุมาจากอะไร ?
โรคใหลตาย หรือ โรคบรูกาดาซินโดรมคือภาวะของการที่หัวใจเต้นผิดปกติ จากการขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะสมองได้ ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และนิสัยการกินที่ผิดวิสัย
บรูกาดาซินโดรมเกิดจาก ? ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกันได้แก่
- การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
- การขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดี ๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที
| สัญญาณที่บ่งบอกว่า โรคใหลตาย โรคบรูกาดาซินโดรม กำลังจะมา
โดยทั่วไปแล้วนั้น โรคไหลตาย เป็นความผิดปกติมักพบขณะหลับ และอาจเกิดในผู้ชายที่ปกติแข็งแรง ที่ปกติก่อนเข้านอนก็ดูปกติดี แต่พบว่าเสียชีวิตในตอนเช้ารุ่งขึ้น จึงเป็นภาวะเสียชีวิตกะทันหันโดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน หรือ Sudden unexpected death syndrome (SUDS) อาการก่อนที่จะเกิดโรคใหลตาย จะคล้ายกับอาการคนปกติทั่วไป ได้แก่
- หายใจมีเสียงครืดคราดผิดปกติคล้ายนอนละเมอ
- อ่อนเพลีย ง่วงนอน
- เหงื่อแตก
- อึดอัด หายใจไม่ออก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
- วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
- ใจหวิว ๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นง่าย
| อาการขณะเกิด ภาวะโรคใหลตาย หรือ โรคบรูกาดาซินโดรม
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคใหลตายนั้น ส่วนใหญ่จะมีอาการเหมือนในชีวิตประจำวันทั่วไป แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงยามนอน จะเกิดกลไกลการทำงานผิดปกติของระบบส่งผ่านแร่ธาตุเกิดจากหัวใจห้องล่าง ทำให้โซเดียม ที่เซลล์จำเป็นต้องใช้ เข้าออกเซลล์น้อยกว่าคนปกติ ก่อให้เกิดอาการ ดังนี้
- แขน และขา เกิดอาการชักเกร็ง
- หายใจเสียงดังจากการมีเสมหะในหลอดลม
- ผู้ป่วยจะมีใบหน้า และริมฝีปากเขียวคล้ำ
- บางรายปัสสาวะและอุจจาระราด เพราะสูญเสียการควบคุมของระบบประสาทโดยอัตโนมัติ
- ในบางกรณี BF (Breastfeeding) อาจหยุดเองได้และผู้ป่วยสามารถรอดตายได้ แต่สมองอาจพิการถาวรหากขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน
| กลุ่มเสี่ยงภาวะโรคใหลตายขณะนอนหลับ
ผู้เสียชีวิตจากโรคใหลตาย ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชาย เฉลี่ยอายุ 25 – 55 ปี แต่มีบางครั้งที่พบผู้หญิง เด็ก ผู้สูงอายุ พื้นที่พบมากในประเทศไทย คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
- ผู้ที่มีญาติสายตรงเสียชีวิตที่มีลักษณะอาการใหลตาย เพราะอาการใหลตาย มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติยีนหรือพันธุกรรม ที่มีผลต่อการควบคุมประจุไฟฟ้าในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
- การขาดสารอาหารกลุ่มวิตามินบี 1 อย่างเฉียบพลัน ร่างกายสะสมสารพิษจากการกินอาหารที่มีสารพิษ จนมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และร่างการขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง โดยมีวิธีสังเกตคือ จากที่ปกติแข็งแรง จะรู้สึกอ่อนเพลีย และอยากนอน
| การรักษาโรคใหลตายในทางการแพทย์
- การใช้ยา โดยในการให้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการโรคใหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมาก การใช้ยารักษาก็อาจไม่ได้ผล และต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน
- การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (AICD) เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้ผู้ที่เคยตกอยู่ในภาวะใหลตายสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน รับประทานอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย และรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกายโดยเฉพาะวิตามินบี ที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือดอย่างสม่ำเสมอ
จากกรณีของการเสียชีวิตของดาราหนุ่ม บีม ปภังกร ด้วย โรคใหลตาย ทำให้หลาย ๆ คน ต่างก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับโรคดังกล่าวมากขึ้น เห็นคุณค่าของชีวิต และปัจจุบัน ทางทีมงาน The Thaiger ขอร่วมแสดงควมเสียใจกับการจากไปอย่างกระทันหันของครอบครัว ฤกษ์เฉลิมพจน์ และแฟน ๆ ทุกท่านมา ณ ที่นี้
ขอบคุณข้อมูล RAMA
เรื่อง : สิทธิโชติ ลังกากาศ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล
- ส่องประวัติ บีม ปภังกร พระเอกซีรีส์ดัง ‘เคว้ง’ จาก Netflixศาตร์ไทย
- รู้จัก โรคมะเร็งปอด มะเร็งร้ายที่คร่าชีวิต สรพงษ์ ชาตรี
- โรคโปรตีนรั่วคืออะไร ทำไมลูกน้อยตัวบวม พ่อแม่ต้องอ่าน!
- วันโรคอ้วน 4 มีนาคม เตือนให้รู้ถึงความอันตรายโรคอ้วน
- ‘โรคขี้เต็มท้อง’ คืออะไร อาการ-สาเหตุเกิดมาจากอะไร ?