ข่าวข่าวภูมิภาค

เฮ! กทม. อนุญาต ดื่มแอลกอฮอลล์ ในห้างสรรพสินค้า และ โรงแรม ไม่เกิน 5 ทุ่ม

ผู้ว่าอัศวิน ลงนามในประกาศที่ว่าด้วยเรื่องการอนุญาตให้ประชาชนใน กทม. สามารถ ดื่มแอลกอฮอลล์ ในห้างสรรพสินค้า และ โรงแรม ได้ไม่เกิน 5 ทุ่ม

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศของ กทม. ว่าด้วยเรื่อง เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 51) โดยในคำสั่งนี้ได้ระบุว่าทาง กทม. ได้อนุญาตให้ประชาชนสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่ประชุมและห้างสรรพสินค้าได้แล้ว แต่ต้องไม่เกิน 23.00 น.

Advertisements

โดยในประกาศระบุว่า “1. การให้บริการเพื่อการจัดประชุม สัมมนา หรือการจัดงาน ในโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า

ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรที่กำหนด รวมทั้งดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กำหนดอย่างเคร่งครัด

โดยอนุญาตให้มีการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในงานได้เฉพาะสถานที่ที่ผ่านการตรวจประมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ของกระทรวงการท่องเที่ยวและก็ฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือตามมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID – 19 รองรับสุขภาพดี วิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย แล้วเท่านั้น และให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ไม่เกินเวลา 23.00 นาฬิกา

สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมงานให้พิจารณาตามความเหมาะสมของสถานที่ภายใต้แนวทางดำเนินการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้อ 6

2. กรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ เจ้าของสถานที่ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ
ผู้ร่วมกิจกรรม และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ยังคงต้องดำเนินการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 53) ลงวันที่ 22 มกราคม 2565

Advertisements

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 51
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อนึ่งเนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป”

 

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button