สักปาก (Lip Tattoo) เพิ่มความสวยของริมฝีปากได้ทั้งวัน
ทุกวันนี้ มีนวัตกรรมมากมาย ที่ทำให้เรา สวยได้แบบตลอดเวลา ไม่ต้องเสียเวลา ล้างออก หรือเติมใหม่ หนึ่งในนั้นคือ สักปาก (Lip Tattoo) นั่นเอง ซึ่งการสักที่ปากนั้น ช่วยให้เราไม่ต้องกังวล เรื่องลิปเลอะที่หน้ากากอนามัย ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องสีลิปสติกหลุดระหว่างวัน ออกจากบ้านได้แบบมั่นใจ แม้ไม่ได้แต่งหน้า แต่ว่าก่อนที่จะไปสักนั้น เรามารู้จักกันก่อนดีกว่า ว่าการสักที่ปากนี้ ส่งผลดี ผลเสียอย่างไร และต้องดูแลอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ก็ตามมาได้เลย
สักปาก คืออะไร
สักปาก คือ การใช้เข็มหรืออุปกรณ์สัก ที่มีหัวขนาดเล็กบรรจุสีเข้าไป แล้วฝังไว้ที่ริมฝีปาก สามารถคงทนอยู่ได้นาน ลดปัญหาเรื่องการที่ต้องคอยทาลิปสติกในทุก ๆ วันไปได้เลย ซึ่งบริเวณที่นิยมสักนั้น ก็จะมีทั้งริมฝีปากด้านนอก และริมฝีปากด้านใน สามารถเลือกสักได้เลยตามความต้องการ
สักปากดีอย่างไร
สักปากช่วยแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนที่มี ริมฝีปากคล้ำ ดำ จากธรรมชาติ กรรมพันธุ์ หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ก็ตาม รวมถึงกลุ่มคนที่มีสีปากซีด ดูสุขภาพไม่ดี สามารถเติมสีสันให้ปากดูมีสุขภาพได้ และแก้ปัญหาให้ผู้ที่แพ้ลิปสติก นอกจากนี้ ผู้ที่มีริมฝีปากไม่เท่ากัน ก็สามารถสักได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังมอบความสวยงาม ให้แก่ริมฝีปากของเราได้อีกด้วย
ข้อดี ของการสักปาก
- ทำให้มีเรียวปากสีชมพูสวยงาม ไม่ต้องทาลิปสติกบ่อยครั้ง
- สวยแบบธรรมชาติ หมดปัญหาริมฝีปากซีด หรือหมองคล้ำ
- ช่วยลดเวลาในการแต่งหน้า และไม่ต้องคอยเติมปากซ้ำระหว่างวัน
- หมดปัญหาการเลือกสีลิปสติก หากไม่รู้ว่าจะทาสีอะไรดี
- ลดความเสี่ยงจากสารตะกั่วที่ผสมมาในลิปสติกบางยี่ห้อ
ข้อเสีย ของการสักปาก
- มีอาการเจ็บ เพราะว่าริมฝีปากเป็นบริเวณที่บอบบางมาก จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเจ็บ หรือปวด หลังจากทำการสักปาก แต่อาการจะดีขึ้นใน 2 – 3 วัน
- มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าส่วนอื่น เพราะริมฝีปากเป็นส่วนที่ทำความสะอาดได้ยาก เลยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีการผ่านของน้ำลาย อาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ ทั้งวัน
- หากรักษาแผลได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดแผลเป็น ควรเลือกสถานที่ให้บริการที่มีคุณภาพ มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
- มีโอกาสเกิดอาการแพ้ ควรปรึกษากับผู้ทำการสักเพื่อเลือกหมึกที่ไม่มีสารก่อภูมิแพ้
- หากอยากเปลี่ยนสีปาก อาจมีผลต่อสีลิปสติกที่เราทาทับลงไปได้
ขั้นตอนการสักปาก
การสักปากในแต่ละครั้ง แต่ละที่จะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง ซึ่งโดยปกติแล้ว ขั้นตอนการสัก อาจมีดังนี้
- ผู้ให้บริการจะเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ โดยการเติมสี สังเกตให้แน่ใจว่ามีการใช้เข็ม หรืออุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
- ผู้ให้บริการจะทำการให้ยาชาเฉพาะที่ แล้วค่อย ๆ สักลงบนริมฝีปาก ตามแผนที่ตกลงกันไว้ อาจรู้สึกเจ็บหรือไวต่อความรู้สึกบ้าง และอาจมีเลือดออก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
- เมื่อสักเสร็จเรียบร้อย ผู้ให้บริการจะปิดปากไว้ด้วยผ้าพันแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
[lasso ref=”mordee-2″ id=”627283″ link_id=”157985″]
การดูแลตัวเองหลังการสักปาก
1. หากรู้สึกบวมหรือเจ็บที่ริมฝีปาก ให้กินยาแก้อักเสบ แก้ปวด แก้ลดบวม และใช้ผ้าปิดแผลไว้
2. ทายารักษาแผลจากการสักปากที่ทางแพทย์จ่ายให้ หรือทาวาสลีนเจล ก็จะช่วยให้แผลสักปากหายเร็วขึ้น ให้ทาเป็นประจำ จนกว่าแผลที่แห้งจะลอกออกหมด
3. ห้ามแคะ แกะ เการิมฝีปาก และงดทานอาหารรสจัด อาหารหมักดอง รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่ปากยังลอกออกไม่หมด
4. ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหมั่นรักษาความสะอาดช่องปากด้วยการบ้วนปาก ให้ใช้น้ำเกลือเช็ดปากทุกครั้งหลังจากทานอาหารเสร็จแล้ว
ทั้งนี้ผลที่ได้ จะขึ้นอยู่กับสภาพผิวปากของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นริมฝีปากที่บอบบาง หรอดำคล้ำ การจะเห็นสีปากได้ชัดนั้น จะอยู่ในระยะเวลาประมาณ 30 – 45 วัน หลังทำการสัก ซึ่งบางคน อาจสักแค่ครั้งเดียวก็ได้ผลที่เป็นน่าพอใจ แต่บางคนอาจจะต้องซ้ำถึง 3 – 4 ครั้ง จึงจะเห็นเนื้อสีตามที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับพื้นสีเดิมของริมฝีปากนั่นเอง
เมื่อตกสะเก็ดสีจะอ่อนลงประมาณ 20% และในส่วนของการซ้ำสีปาก ควรเว้นระยะในการสัก 1 เดือน เพื่อให้เซลล์ผลัดสี แต่ถ้าหากปากสีดำคล้ำ ควรเว้นไว้สัก 3 เดือน
เพื่อความปลอดภัยจากการ สักปาก (Lip Tattoo) อยากให้ทุกคนเลือกทำกับสถานที่ให้บริการที่เชื่อถือได้ และมีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเลือกทำกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะบริเวณปาก เป็นพื้นที่ที่มีความบอบบางมาก เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อย่างง่ายดาย หากเราจะสวยทั้งที ต้องสวยได้แบบมั่นใจ ปลอดภัยในทุกวินาที
?สำหรับโปรแกรม สักปาก ที่น่าสนใจ สามารถเลือก และเปรียบเทียบราคาได้เลย ที่ >> Lip Tattoo
?ค้นหาโปรแกรมดูแลผิวหน้าและร่างกายประเภทอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คลิกได้เลย ที่ >> Mordee
?และถ้าหากคุณต้องการความช่วยเหลือ และมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการให้บริการ ติดต่อได้เลย ที่ >> @mordee
? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger
? Google Play Store
? App Store