สุขภาพและการแพทย์

มีคำตอบ ถ้า ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด เป็นบวก ทำยังไงต่อ

เชื่อว่าหลายคนอาจจะกำลังกังวลใจกันว่า หาก ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด จะต้องทำยังไงต่อ วันนี้ The Thaiger ก็เลยจะมาพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกันว่า ขั้นตอนในการดูแลรักษาตัวเองจะต้องเริ่มต้นที่อะไร และมีอะไรที่ควรรู้บ้าง ฉะนั้นอย่ารอช้า รีบไปศึกษารายละเอียด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโควิด 19 ด้วยกันเลย ?

ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ขั้นตอนหลังติดโควิด ต้องทำยังไงต่อ

ติดโควิด ทำไงต่อ

ต้องทำอย่างไรเมื่อ ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด

ก่อนที่จะไปเรียนรู้กันว่าควรทำอย่างไร เมื่อได้ผลตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด เราอยากให้ทุกท่านใจเย็น และอย่าเพิ่งแตกตื่น เพราะผลตรวจของ ATK นั้นมีความแม่นยำที่ 60 – 90 % หากตรวจแล้วขึ้น 2 ขีด ทางที่ดีที่สุดคือรีบแยกตัวออกจากผู้คน แล้วรีบเดินทางไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และขอตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่สุด และหากผลตรวจที่ได้ยังคงเป็นบวก จะมีแพทย์ประเมินอาการ เพื่อหาแนวทางในการรักษาพยาบาลต่อไป

ในส่วนของกรณีที่ตรวจ ATK แล้วมั่นใจว่าติด ไม่ต้องการตรวจซ้ำ หรือไม่สามารถไปตรวจซ้ำด้วย RT-PCR ได้ เมื่อทราบผลแล้วให้รีบติดต่อไปยังสายด่วน สปสช. 1330 หรือใช้วิธีการลงทะเบียนผ่านไลน์ สปสช. Line ID : @nhso หรือที่เว็บไซต์ https://crmsup.nhso.go.th/ ได้เช่นเดียวกัน และในส่วนของผู้ที่ติดโควิดในกรุงเทพมหานคร สามารถโทรหาสายด่วนโควิด (EOC) 50 เขตได้ ดังนี้

ติดโควิด กรุงเทพ ติดต่อ

จากนั้นรอให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง เพื่อประสานงานในการช่วยเหลือต่อไป ในกรณีที่โทรไม่ติด จะมีการบันทึกเบอร์เข้าระบบ และจะมีเจ้าหน้าที่ประสานงานติดต่อกลับอีกครั้งในภายหลัง แต่หากไม่มีใครติดต่อกลับมาเกิน 6 ชั่วโมง เราอยากแนะนำให้ติดต่อซ้ำอีกครั้งตามขั้นตอนก่อนหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าอาการป่วยของท่าน จะถูกบันทึกเข้าสู่ระบบ และได้รับการดูแลที่ทั่วถึงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการรักษา

  1. Home Isolation

สำหรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจเป็นบวก แต่มีแนวโน้มที่จะไม่มีอาการรุนแรง จะสามารถทำการรักษาแบบ Home Isolation ได้ ซึ่งก็คือการรักษาแบบกักตัวที่บ้านของตนเอง จะจัดเป็นประเภทผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่ทั้งนี้ ผู้ที่จะทำการ Home Isolation จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  • ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง ได้แก่ โรคปอด โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และหัวใจ
  • อายุน้อยกว่า 60 ปี
  • น้ำหนักน้อยกว่า 90 กิโลกรัม
  • สามารถพักอาศัยตามลำพังได้

โดยผู้ป่วยที่เป็นไปตามเงื่อนไข สามารถดำเนินการรักษาตัวแบบ Home Isolation เริ่มจากการแยกตัวออกจากคนอื่น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ทานยาสามัญตามที่แพทย์แนะนำ เช่น ยาลดไข้ และใช้ปรอทตรวจวัดไข้ ตลอดจนวัดปริมาณออกซิเจนอยู่เสมอ ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ของใช้ร่วมกับสมาชิกอื่นในบ้าน และควรแยกห้องน้ำกันเป็นดีที่สุด โดยเมื่อผู้ป่วยได้ทำการบันทึกข้อมูลเข้าระบบเรียบร้อยแล้วนั้น จะได้รับการดูแลจากแพทย์ ดังนี้

  • ได้รับเครื่องมือวัดไข้และออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ได้รับยาพื้นฐานที่ช่วยบรรเทาอาการป่วย
  • ติดตามผลผ่านการวิดีโอคอลทุกวัน
  • ในกรณีที่แพทย์เห็นสมควร อาจได้รับยาต้านไวรัวฟาวิพิราเวียร์ร่วมด้วย
  • อาหารวันละ 3 มื้อ

ติดโควิด รักษาที่บ้าน

  1. Hospitel

กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และโรงพยาบาลโดยตรง จะสามารถทำการรักษาแบบ Hospitel ได้ ซึ่งเป็นการพักรักษาที่รวมเอา Hospital (โรงพยาบาล) และ Hotel (โรงแรม) เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ตัวผู้ป่วย โดยผู้ที่จะทำการรักษาที่นี่ จะต้องได้รับการประเมินอาการจากแพทย์ ตลอดจนมีการติดตามสัญญาณชีพ และตรวจออกซิเจนอย่างเป็นระยะ โดยหากใครที่ประสงค์จะอยู่ในความดูแลแบบ Hospitel จะต้องเตรียมสิ่งของดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • เสื้อผ้าสำหรับ 10 – 14 วัน
  • ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าอนามัย
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็น
  1. โรงพยาบาลสนาม

อีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา เมื่อผลตรวจออกมาเป็นบวกก็คือ โรงพยาบาลสนาม ซึ่งจัดขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ป่วยโดยตรงตามคำแนะนำของกรมการแพทย์ โดยจะได้รับการดูแลอย่างดีจากทีมแพทย์ แต่หากมีอาการหนักขึ้น ก็จะถูกนำส่งโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อทำการรักษาในระดับต่อไป

ติดโควิด โรงพยาบาล

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนหลังติดโควิด เมื่อผลตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ที่ The Thaiger นำมาฝากทุกคนกันในวันนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในช่วงวิกฤตของโรคระบาดโควิด 19 นี้ และขอส่งต่อกำลังใจดี ๆ ให้กับทุกคน ในช่วงเวลาที่สนยากลำบาก ให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

เรื่อง : ชนกนันท์ สังข์เอียด
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล

อ้างอิง 1 2

? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger

? Google Play Store

? App Store

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button