สุขภาพและการแพทย์

บริจาคเลือด เป็นของขวัญปีใหม่ผู้ป่วยทั่วประเทศ เช็คเลยที่ไหนบ้าง ?

สวัสดีปีใหม่ 2565 เชิญชวนร่วมส่งความสุข บริจาคเลือด บริจาคโลหิต เป็นของขวัญ ปีใหม่ให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ

สวัสดีปีใหม่ 2565 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขอเชิญชวนประชาชนร่วมส่งความสุข บริจาคโลหิต เป็นของขวัญ ปีใหม่ให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ

Advertisements

ระหว่างวันที่ 2 – 9 มกราคม 2565 รับ “ปฏิทินหนูแดง” ชุด 12 เรื่องน่ารู้ก่อนบริจาคโลหิต เป็นที่ระลึก ณ

  • ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station)
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ

บริจาคเลือด บริจาคโลหิต บริจาคเลือด เตรียมตัว ก่อนบริจาคเลือด สภากาชาดไทย

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนและหลังบริจาคเลือด

(อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย)

ก่อนบริจาคโลหิต

Advertisements

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง

– รู้สึกสบายดี สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต หากอยุ่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง

– รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิขนมหวาน ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมง เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้

– การดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปในการบริจาค จะทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้

– งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

– งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต

– สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว

– เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า

– ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต

– ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติระหว่างบริจาค เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

หลังบริจาคโลหิต

– นอนพักที่เตียง 5 นาที หากไม่มีอาการผิดปกติ จึงลุกจากเตียง และไปนั่งพัก 10 -15 นาที พร้อมดื่มเครื่องดื่ม และรับประทานอาหารว่าง

– ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

– รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด หลังอาหารจนหมด เพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคโลหิต เพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ

– หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงที่สูง อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้

– หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่บริจาคโลหิต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

– หลีกเลี่ยงการเดินไปในบริเวณที่แออัด และมีอากาศร้อนอบอ้าว

– งดกิจกรรมหรือทำงานที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ความเร็ว ความสูง ความลึก เครื่องจักรกล

– งดออกกำลังกายที่ทำให้เสียเหงื่อ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button