รู้จัก ‘Kangaroo Court’ แปลว่าอะไร หลัง เว็บศาลรัฐธรรมนูญโดนแฮก
รู้จัก ‘kangaroo Court’ แปลว่าอะไร หลัง เว็บศาลรัฐธรรมนูญโดนแฮก นัยความหมายที่ซ่อนอยู่คืออะไร
เป็นข่าวต่อเนื่องของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” หลังจากที่วานนี้ได้มีคำวินิจฉัยให้ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน 10 ข้อ เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง มาตรา 49 และ วันนี้ เว็บไซต์ ศาลรัฐธรรมนูญก็ถูกมือมืด แฮก พร้อมใส่เพลง “กิโยติน” ของวง Death Grips และเปลี่ยนชื่อเว็บเป็น Kangaroo Court
หลายคนสงสัยว่า Kangaroo Court แปลว่าอะไร The Thaiger ขอพาไปหาคำตอบ
kangaroo court ตามความหมายของพจนานุกรม Cambridge ระบุว่า “an unofficial court set up by a group of people, especially in a prison, trade union, or other organization, to deal with a disagreement or with a member of the group who is considered to have broken the rules”
“ศาลตั้งขึ้นโดยกลุ่มของผู้คน , โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุก , สหภาพการค้า หรือองค์กรอื่น ๆ ที่จะจัดการกับความขัดแย้งกับสมาชิกของกลุ่มว่ามีการทำผิดกฎหรือไม่”
ขณะที่พจนานุกรมของ Oxford ให้นิยามว่า “An unofficial court held by a group of people in order to try someone regarded, especially without good evidence, as guilty of a crime or misdemeanour.”
“ศาลที่ถูกจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการโดยกลุ่มคนเพื่อใช้ลงโทษกับบุคคลที่เห็นว่ามีความผิดอาชญากรรมหรือในทางอาญา แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ”
ทำความเข้าใจโดยสรุป คนไทยจะนึกถึงคำว่า “ศาลเตี้ย” ที่มักใช้พูดถึงกระบวนการลงโทษบุคคลในสังคมจากกลุ่มคนหนึ่ง ๆ ซึ่งไม่ได้ผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการให้มีอำนาจนั้น ศาลเตี้ยมักใช้ในความหมายแง่ลบ พูดถึงการตัดสินใจทำอะไรโดยอาศัยความลำพอง ขาดหลักการ พวกมากลากไป ไม่มีอะไรรับรองทางกฎหมาย
Kangaroo Court มีชื่อภาษาไทยที่นิยมใช้อยู่ก่อนหน้า คือ “ศาลเถื่อน” ที่มาที่ไปของคำนี้ straightdope อธิบายว่า มีการใช้คำนี้โดยทั่วไปใน ช่วงที่มีการขุดทองเฟื่องฟูของแคลิฟอร์เนียในปี พ.ศ. 2392 เรื่องเล่าว่าคนงานเหมืองได้จัดตั้งศาลเถื่อนขึ้นเพื่อจัดการกับบางคน ขณะที่ผู้รู้บางคนเสนอว่าคำนี้เป็นคำเปรียบเทียบที่มีเล่ห์เหลี่ยมเกี่ยวกับการก้าวกระโดดของตรรกะทางกฎหมาย อาศัยความเปรียบจากลักษณะธรรมชาติการกระโดดของจริงโจ้
“สื่อถึงการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีความเที่ยงตรงแน่นอน”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ด่วน! เว็บศาลรัฐธรรมนูญถูกแฮก หลังวานนี้ วินิจฉัย 10 ข้อเรียกร้อง เข้าข่ายล้มล้างสถาบัน
- ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ วินิจฉัย รุ้ง ไมค์ ทนายอานนท์ ใช้เสรีภาพมุ่ง ‘ล้มล้างการปกครอง’