ข่าวข่าวภูมิภาคเศรษฐกิจ

รองปลัดคมนาคม แถลงถึง สถานการณ์ภาคคมนาคม ในช่วง น้ำท่วม ปี 2564

รองปลัดกระทรวงคมนาคม ทำการแถลงข่าวชี้แจงถึงผลการดำเนินงาน และสถานการณ์ของภาคส่วนคมนาคม ในช่วงเหตุการณ์ น้ำท่วม ประจำปี 2564

น้ำท่วม, 2564 – เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ณ ห้องราชดำเนิน กระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวสถานการณ์และการดำเนินงานเกี่ยวกับอุทกภัยในภาคคมนาคม โดยมี ผู้แทนกรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมด้วย

Advertisements

รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงข่ายคมนาคม ปัจจุบันบางเส้นทางสามารถสัญจรได้ตามปกติแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการซ่อมแซมเส้นทางที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้ปกติโดยเร็ว ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถเปิดเดินรถวิ่งได้ตามปกติทุกสายทาง สำหรับรถโดยสาร บริษัท ขนส่ง จำกัด ที่เดินรถในเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ ได้เปลี่ยนแปลงเส้นทางให้ประชาชนสามารถเดินทางและใช้บริการได้ตามปกติ สำหรับในเส้นทางที่ยังไม่สามารถผ่านได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดหาเส้นทางเลี่ยง ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทาง และเร่งซ่อมแซมเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชน โดยสามารถสอบถามเส้นทางได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356, สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 และสายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ในภาพรวมมีโครงข่ายคมนาคมได้รับผลกระทบ รวม 56 เส้นทาง จำนวน 79 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 37 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 42 แห่ง และจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย ทั้งหมด 15 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) จังหวัดอ่างทอง 2) จังหวัดขอนแก่น 3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4) จังหวัด มหาสารคามและ 5) จังหวัดนครสวรรค์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการะทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท เร่งสำรวจเส้นทางและซ่อมแซมถนนเบื้องต้น รวมทั้งสำรวจออกแบบโครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ดังกล่าวอีก และจัดตั้งงบประมาณสำหรับซ่อมแซม ฟื้นฟู เส้นทางที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย เพื่อประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ กรมเจ้าท่า ได้แจ้งเตือนการระมัดระวังในการเดินเรือ รวมทั้งเฝ้าระวังตรวจตรา ควบคุมความเร็วไม่ให้ใช้ความเร็วเกินกำหนด และขอความร่วมมือลดความเร็วเรือเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้พักอาศัยริมน้ำ รวมทั้งหากพบสิ่งกีดขวางการสัญจรทางน้ำ กรมเจ้าท่าจะเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถใช้เส้นทางได้ตามปกติต่อไป สรุปรายงานอุทกภัยในเส้นทางคมนาคม ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564 รายละเอียดดังนี้

1. มีโครงข่ายคมนาคมได้รับผลกระทบ รวม 56 เส้นทาง จำนวน 79 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 37 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 42 แห่ง

Advertisements

2. ถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท ได้รับผลกระทบ รวม 55 เส้นทาง จำนวน 78 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 37 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 41 แห่ง

3. มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย ทั้งหมด 15 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) จังหวัดอ่างทอง 2) จังหวัดขอนแก่น 3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4) จังหวัด มหาสารคามและ 5) จังหวัดนครสวรรค์

4. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถเปิดขบวนรถวิ่งได้ตามปกติทุกสายทาง

5. บริษัท ขนส่ง จำกัด ปรับเส้นทางเดินรถโดยสารพิจิตร ได้แก่ สาย 47 กรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง, สาย 957 กรุงเทพฯ – แม่สาย และ สาย 962 กรุงเทพฯ – ป่าแดด – เชียงของ เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง ทล.117 นครสวรรค์ – พิษณุโลก แทน

ทั้งนี้ ทางหลวงหมายเลข11 กม. 68+725 และกม. 68+750 พื้นผิวถนนชำรุด ปัจจุบันแขวงทางหลวงนครสวรรค์ที่ 2 ดำเนินการติดตั้งสะพานเบลีย์ เปิดให้รถเล็กผ่านใช้เป็นการชั่วคราว 1 ช่องทาง แต่รถโดยสารและรถ 6 ล้อขึ้นไปยังไม่สามารถผ่านได้

สำหรับประชาชนหรือผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามเส้นทางหรือขอความช่วยเหลือ รวมทั้งแจ้งเหตุอุทกภัยทางถนน ได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356 หรือติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงฯ ดังนี้

– สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586

– สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146

– สายด่วนบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.

– สายด่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690

– สายด่วนกรมเจ้าท่า โทร. 1199

 

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

สามารถติดตามข่าวทั่วไทยเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวทั่วไทย

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button