ข่าวภูมิภาค

เตือนคนรักหมูกะทะ ระวังไข้หูดับ พบป่วย 15 ราย เซ่นแล้ว 3 ศพ

คนรักหมูกะทะ ระวังเอาไว้ นายอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา เรียกประชุมด่วนหลังพบ ไข้หูดับ ระบาดหนักในพื้นที่

วันที่ 14 ก.ย.64 นายสา​นิตย์​ ศรี​ทวี​ นายอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา พร้อมด้วย​หัวหน้า​ส่วน​ราชการ​ ผู้บริหาร​องค์กร​ปกครอง​ส่วน​ท้องถิ่น โรงพยาบาล​เสิงสาง​ สาธารณสุข​อำเภอเสิงสาง ปศุสัตว์​อำเภอเสิงสาง ตำรวจ ปลัดฝ่ายมั่งคง กำนัน ร่วม​ประชุ​มปรึกษาหารือแนวทางการป้องกันโรคระบาดสเตรปโตคอกคัส ซูอิส(โรคไข้หูดับ)​ หลังจากก่อนหน้านี้ในรอบเดือนที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้ติดเชื้อ “โรคไข้หูดับ” ในพื้นที่ อ.เสิงสาง ถึง 15 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย

Advertisements

จากการสอบถามผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคไข้หูดับ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานหมูดิบ แต่ชอบรับประทานหมูกระทะเป็นประจำ จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะย่างหมูไม่สุกดี หรือใช้ตะเกียบอันเดียวทั้งคีบหมูดิบจนทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

โดยอาการของผู้ติดเชื้อโรคไข้หูดับ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 3 ชั่วโมงหรือไม่เกิน 3 วัน จะพบอาการเบื้องต้นตั้งแต่ มีไข้ ถ่ายเหลว และปวดหัว หากติดเชื้อแล้วไม่ได้ทำการรักษาโดยเร็ว เมื่อเชื้อขึ้นไปถึงสมอง ก็อาจทำให้เสียชีวิตหรือหูดับได้

ในส่วนของการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหูดับมี 3 ส่วนด้วยกัน คือ เริ่มจากผู้เลี้ยงหมูและผู้ขายหมูต้องดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยของหมูที่เลี้ยงให้ดี และไม่จำหน่ายหมูป่วยให้กับผู้บริโภค ส่วนที่ 2 คือผู้ที่ประกอบอาหารหากมีบาดแผลต้องสวมถุงมือเพื่อป้องกันเชื้อ ส่วนที่ 3 คือผู้บริโภคไม่ควรรับประทานหมูดิบ เช่น เมนูลาบดิบ ก้อยดิบ หากจะรับประทานหมูควรปรุงให้สุก โดยใช้ความร้อนอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไปเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อดังกล่าว

โรคไข้หูดับคืออะไร ?

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีชื่อว่า สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis.) โดยส่วนใหญ่สาเหตุหลักเกิดจากหมู โรคนี้จะเกิดการติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง กระแสโลหิต ทำให้เกิดอาการความดันตกจนถึงขั้นเกิดอาการช็อกได้ หรือมีข้ออักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ติดเชื้อในช่องท้อง

โรคไข้หูดับติดต่อทางไหนได้บ้าง?

Advertisements

– การสัมผัสเนื้อหมูที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส โดยไม่มีการสวมถุงมือ และมีแผลที่นิ้ว

– การสูดดมกลิ่นเข้าไป อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

– การรับประทานติดเชื้อได้ทางเยื่อบุในช่องปาก ในลำไส้ โดยเชื้อจะวิ่งเข้าสู่กระแสโลหิต ไปยังสมอง อาจอันตรายถึงชีวิตได้

อ้างอิงข้อมูล : เดลินิวส์

lazada15964

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button