ข่าว

ม.มหิดล เชื่อมั่นพร้อมเป็นผู้นำ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ ระดับโลก

ม.มหิดล มีความเชื่อมั่นที่จะพร้อมเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี หุ่นยนต์ทางการแพทย์ ระดับโลก จากความสำเร็จที่เกี่ยวข้อง และการผลักดันในแนวทางดังกล่าว

นับตั้งแต่ที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) ได้ประกาศปฏิรูปยกระดับอุดมศึกษาไทย (Reinventing University) ให้ทัดเทียมระดับสากลเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0 นั้น

Advertisements

มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาระดับแนวหน้าของไทยได้สนองรับนโยบายดังกล่าวด้วยการวางยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลก ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญนั้น คือ การพัฒนา หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotic)

ขับเคลื่อนโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีฯผู้ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยคนปัจจุบันเมื่อเร็วๆ นี้

จากผลงานที่โดดเด่นด้านการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ จนได้ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (TCELS) ก่อสร้างอาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) เพื่อการทดสอบ ตรวจประเมิน และผลักดันสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์สู่ภาคอุตสาหกรรมระดับโลก ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2565

ซึ่งเป็นโอกาสที่ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก RoboCup 2022 รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ศุทธากรณ์ ได้แสดงวิสัยทัศน์ที่พร้อมจะบรรลุเป้าหมายแห่งยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ระดับโลก

ล่าสุด รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ได้บรรลุความสำเร็จในการผลักดันให้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เข้ากระบวนการการรับรองมาตรฐานการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับโลก ABET (Accreditation Board for Engineering and Technology) จาก The Engineers’ Council for Professional Development (ECPD) ประเทศสหรัฐอเมริกา ครบเกือบทุกด้าน

Advertisements

และเมื่ออาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีสถานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาก่อสร้างแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่ทำให้งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ระดับในประเทศ แต่จะขยายผลสู่ระดับโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่เป็น Active Medical Device หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งที่จะทำให้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ไทย ได้มีที่ยืนบนแผนที่โลก เฉกเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก อาทิ Johns Hopskin University ประเทศสหรัฐอเมริกา Imperial College London สหราชอาณาจักร University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่นShanghai Jiao Tong University (SJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน National Chengkung University ประเทศไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งเป็นเครือข่ายยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดประตูมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับโลก

นอกจากนี้ การที่ มหาวิทยาลัยมหิดลโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จะได้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน RoboCup 2022 ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์ทางการแพทย์ประกอบเข้าไปด้วยเป็นครั้งแรกของโลกนั้น จะเป็นเวทีตั้งต้นที่จะมาเสริมกับการที่จะมีหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง

ซึ่งต่อยอดมาจากความเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้มาตรฐานโลกของ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการนำร่องให้กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งอื่นของไทยพร้อมก้าวสู่ระดับโลกไปด้วยกัน เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0 ได้อย่างแท้จริงในที่สุด

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ – www.mahidol.ac.th

 

สามารถติดตามข่าววิทยาศาสตร์เพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าววิทยาศาสตร์

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button