สุขภาพและการแพทย์

ข้อเท็จจริง 16 ข้อ เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด-19 โดยหมอรามา-จุฬา-ศิริราช

คณะหมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดี, จุฬาลงกรณ์ และศิริราช ได้ทำการนำเสนอ ข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวข้องกับ วัคซีนโควิด-19 จำนวน 16 ข้อด้วยกัน

เนื่องในเวลานี้ ได้เกิดสภาวะความกังวลในตัว วัคซีนโควิด-19 ขึ้นมา คณะหมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดี, จุฬาลงกรณ์ และศิริราช จึงได้ทำการนำเสนอ ข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 ข้อให้ได้รับทราบกัน

Advertisements

โดยข้อเท็จจริงทั้ง 16 ข้อนั้นก็มีรายละเอียดด้วยกันดังนี้

  1. เขาว่าฉีดแล้วมีคนตาย?
    • มีคนไทยได้รับการฉีดแล้วจำนวน 1.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิต
  2. ผลข้างเคียง และอาการที่เกิดขึ้น
    • ผลข้างเคียงที่เป็นอาการแพ้แบบหนัก (จริงจัง) มีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 ในแสน
    • ส่วนอาการข้างเคียงแบบเบา : เป็นไข้ต่ำ, มีอาการปวด-บวม-ผื่นแดง-ร้อน ในพื้นที่/อวัยวะบางส่วนของร่างกายนั้น พบว่ามีการรายงานไม่ถึง 10%
    • การออกอาการมีไข้ ถือว่าเป็นอาการปกติหลังได้รับวัคซีน โดยเป็นสัญญาณแสดงว่าร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนอง
    • อาการ และผลข้างเคียงนั้น จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุน้อย และเพศหญิงมากกว่า
  3. ฉีด, ไม่ฉีด หรือรอ
    • ควรรับการฉีดเลย เมื่อได้รับแล้วจะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงเหลือครึ่งหนึ่ง และเป็นช่วยป้องกันการแพร่ระบาดในระดับย่อยอีกด้วย
  4. ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจริงหรือไม่
    • ไม่ได้ก่อให้เกิดลิ่มเลือดทั่วไป หากแต่เป็นลิ่มเลือดอุดตันแบบพิเศษที่สามารถรักษาได้ และยังพบการเกิดขึ้นในคนไทย
  5. ความแตกต่าง และประสิทธิภาพของวัคซีน
    • วัคซีนทุกยี่ห้อมีประสิทธิภาพไม่ต่างกันในภาพรวม แต่การมีหลายยี่ห้อนั้น ก็เพื่อการกระจายให้ได้อย่างทั่วถึงเป็นหลัก
  6. มีอาการชา/อ่อนแรงครึ่งตัว หลังรับการฉีด
    • เป็นอาการเกิดขึ้นโดยชั่วครู่ อาจจะมีสาเหตุจากร่างกายไม่พร้อม อ่อนเพลีย สามารถหายเป็นปกติได้ภายใน 1-3 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์หากช้าที่สุด
  7. การป้องกันไวรัสกลายพันธุ์
    • สามารถป้องกันได้ แต่หมายความว่า ประสิทธิภาพนั้นจะลดลงไปเนื่องด้วยไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ นั้น ได้ไปส่งผลต่อประสิทธิภาพด้วย
  8. ความแตกต่างของผลข้างเคียงกับ กรณีต่างวัย/เพศ
    • มีความแตกต่าง โดยผู้ที่มีอายุน้อย และเพศหญิงจะพบอาการมากกว่า
    • ในกรณีของผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ได้ส่งผลเพิ่มเติมมากขึ้น
  9. การฉีดวัคซีนคนละยี่ห้อในแต่ละเข็ม
    • สามารถทำได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีมีความจำเป็น
  10. ผลข้างเคียง ตามยี่ห้อของวัคซีน
    • ผลข้างเคียงนั้นจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ
    • อย่างวัคซีน Sinovac ใช้การผลิตจากเชื้อตาย ที่ไม่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์จนกว่าจะได้รับครบ 2 เข็ม แต่ไวต่อการผลิต
  11. โอกาสในการเกิดคลัสเตอร์ใหม่
    • การระบาดที่เกิดในเวลานี้ มาถึงในจุดที่จะเกิดขึ้นในระดับชุมชนได้ การฉีดวัคซีนจึงเป็นทางเลี่ยงการเกิดขึ้นของคลัสเตอร์ใหม่
  12. กรณีพบอาการข้างเคียงหลังฉีด
    • ณ จุดให้บริการฉีดจะมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รองรับ และมีมาตรการดูอาการเป็นระยะ 30 นาที หากพบภายในระยะเวลาดังก็ส่งตัวรักษาต่อโดยทันที
  13. ช่วงเวลาที่สถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ
    • ขึ้นอยู่กับความเร็วในการฉีดวัคซีนต่อวันเพื่อทำการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
    • โดยเป้าหมายในเวลานี้อยู่ที่ 3 แสนโดสต่อวัน และโดยรวมอยู่ที่ทั้งหมด 100 ล้านโดส
  14. กรณีการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่ผู้สูงอายุ
    • อนุมัติให้ฉีดวัคซีนตัวนั้นได้ หากพบว่ามีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน และขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่จะทำการอนุมัติให้ใช้งานได้
  15. ความพร้อมของคณะแพทย์
    • คณะแพทย์มีความพร้อมในการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว โดยจะเริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน
  16. ผู้ที่ยังไม่ควรได้รับวัคซีน
    1. ผู้ที่กำลังป่วยอยู่ ในโรคต่าง ๆ
    2. ผู้ที่โรคประจำตัวที่มีอาการหนัก ต้องให้ทางแพทย์ประจำตัวประเมิน
    3. หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสแรก (ต่ำกว่า 12 สัปดาห์)

ทั้งนี้ นี้เป็นข้อเท็จจริงจากทางแพทย์จาก 3 โรงพยาบาลในเบื้องต้น หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมกรุณาศึกษาข้อมูลอื่น ๆ ประกอบตามไปด้วย พร้อมทั้งหากเกิดอาการแทรกซ้อน หรือผลข้างเคียงขึ้นมา กรุณารักษาตัวโดยทันที

 

แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – ศูนย์ข้อมูล COVID-19

สามารถติดตามข่าวโควิด-19 เพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวโควิด-19

Advertisements

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button