หมอธีระวัฒน์ แจงแม้ ตรวจโควิด ไม่พบครั้งแรกไม่ได้แปลว่ารอด
หมอธีระวัฒน์ ได้ทำการชี้แจ้งว่าถึงแม้จะ ตรวจโควิด ครั้งแรกได้ผลการตรวจเป็นลบ ไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ ยังต้องมีการเว้นระยะ – ทำการตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ในวันนี้ (12 เมษายน 2564) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการโพสต์ชี้แจงถึงการ ตรวจโควิด โดยอธิบายว่าถึงแม้จะตรวจไม่พบภายในครั้งแรกนั้น ก็ไม่ได้ถือว่าจะปลอดภัยไปเลย ยังคงต้องมีการเว้นระยะเวลาเพื่อดูอาการ และทำการตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่นอน
โดยเนื้อหาของโพสต์ดังกล่าวนั้นได้กล่าวไว้ว่า
การตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ด้วยวิธีมาตรฐาน (ไม่ใช่ rapid test) (12/4/64)
การตรวจ ELISA ของเราที่ จุฬา ใช้ตัวจับคือ RBD ซึ่งจะแตกต่างกับชุดตรวจแบบอื่น ดูได้ทั้ง IgG IgM และ neutralizing antibody
ดังนั้นที่รายงานในวารสาร PLOS one ที่เราตรวจให้คนไข้ที่มีอาการในโรงพยาบาลจุฬาเกือบ 100 ราย ในช่วงระยะอาการต่างๆตรวจได้ผล +100% ในตั้งแต่วันแรกที่เข้าโรงพยาบาลโดยไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนไวรัส และแม้จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสในระดับสูงก็ตาม คนป่วยยังปล่อยไวรัสได้ และเลือดเป็นบวกตั้งแต่วันที่ห้าหลังจากสัมผัสเชื้อและวันที่หนึ่งที่มีอาการ (รายงานละเอียดฉบับนี้. ส่งพิจารณาตีพิมพ์)
ในคนที่ไม่มีอาการ จากการตรวจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่นิสิตติดโควิดทั้ง 55 รายที่พีซีอาร์ + เลือดยังเป็นบวกทั้งหมด โรงงานแห่งหนึ่งที่สมุทรสาคร bubble and seal ผล ตรวจพีซีอาร์ครั้งแรกวันที่ 27 มกราคม ประมาณ 2200 คน มีเชื้อ จาก แยงจมูก 300 คน ค้ดออก ที่เหลือ 1,900 คน ทำงานต่อ ที่โรงงาน และที่พักในและนอกโรงงาน
ตรวจ ELISAหลังจากนั้น
- ครั้งที่ 1 : 14/2/64 มี เลือด บวก 283 และในจำนวนนี้ยังปล่อยเชื้อได้ 148 คน
- ตรวจครั้งที่ 2 : 5/3/64 มีเลือดบวก 538 ราย และเป็นคนที่เลือดบวกทั้งครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง 230 ราย แสดงว่ามีผู้ที่ติดเชื้อใหม่อีก และเมื่อตรวจหาเชื้อพบว่าสามารถปล่อยเชื้อได้ 200 ราย
ทุกรายที่พีซีอาร์ + เลือดแอนตี้บอดี้ + แต่ทุกรายที่แอนตี้บอดี้ + ไม่จำเป็นต้องพีซีแอร์ + เพราะติดเชื้อไปแล้วและหยุดแพร่เชื้อแล้ว
หมายความว่า
- การแยงจมูกตรวจเชื้อครั้งเดียว ไม่แน่นอน
- การคิดว่าคนที่เหลือ ไม่มีเชื้อ จากการตรวจแยง ปลอดภ้ย เป็นเรื่องไม่ปลอดภัย
- การที่พบเลือดเป็นบวก และมีภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสในเลือดได้ในระดับสูงไม่ได้เป็นเครื่องแสดงว่าปล่อยเชื้อไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เลือดเป็นบวกต้องทำการแยงจมูกต่อ
- การที่เลือดเป็นลบ ครั้งแรกไม่ได้หมายความ 100% ว่าไม่ติดเชื้อเนื่องจากอาจติดเชื้อ เช่น หนึ่งวันก่อนตรวจ
ดังนั้นยังคงต้องมีวินัยและรักษาระยะห่างอยู่เสมอ และตรวจเลือดครั้งที่สองในช่วงห้าถึงเจ็ดวันถ้าเป็นลบหมายความว่าไม่มีการติดเชื้อ
การตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ด้วยวิธีมาตรฐาน (ไม่ใช่ rapid test)
12/4/64
การตรวจ ELISA ของเราที่ จุฬา…
Posted by ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha on Sunday, April 11, 2021
แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
สามารถติดตามข่าวโควิด-19 เพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวโควิด-19