ข่าวภูมิภาค

April Fool’s Day คืออะไร ประวัติของวันโกหก ทำไมต้อง 1 เม.ย.

April Fool’s Day คืออะไร เริ่มครั้งแรกเมื่อไหร่ และทำไมต้องตรงกับ 1 เม.ย. ของทุกปี มาย้อนชมประวัติ April Fool’s Day หรือวันโกหกได้ที่นี่

จุดเริ่มต้นของ April Fool’s Day วันโกหก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ วันเมษาหน้าโง่ เกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ยุคศตวรรษที่ 16 ขณะนั้นวันปีใหม่ของชาวฝรั่งเศส จะตรงกับวันที่ 1 เมษายน จนเมื่อ ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม และก็เป็นเช่นนั้นมาจวบจนปัจจุบัน

ซึ่งในยุคสมัยที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต การกระจายข่าวสารยังไม่ทั่วถึง คนชนบทในฝรั่งเศสยังไม่ทราบเรื่องการเปลี่ยนวันปีใหม่ บางคนทราบข่าวแล้วแต่ก็ยังไม่เชื่อ ทำให้พวกเขายังคงเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เม.ย. เหมือนเดิม ทำให้คนฝรั่งเศสในเมือง หรือคนที่รู้เท่าทันข่าวสาร ล้อเลียนคนกลุ่มนี้ มากไปกว่านั้นยังพยายามจะหาเรื่องแกล้งเพื่อความสนุกสนานอีกด้วย

ดังนั้น วันที่ 1 เม.ย. ของทุกปี ก็เลยกลายเป็นวันที่ผู้คนจะแต่งเรื่องอะไรก็ได้มาแกล้งหลอกกันให้คนอื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้น จะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน

อีกแนวคิดหนึ่งเล่าว่า ประวัติของวันโกหก เริ่มจากพวกโรมันโบราณมีเทศกาลที่เรียกว่า “Cerealia” จัดในช่วงต้นเดือนเมษายน เรื่องเล่านี้มีว่า เทพเจ้าชื่อ Ceres ทรงได้ยินเสียงสะท้อนของพระธิดา Prosperpina ตะโกนมาว่า เธอถูกจับตัวไปอยู่ใต้ผืนดินโดยเทพพลูโต Ceres จึงตามเสียงลูกสาวไป และได้พบความจริงที่ว่า การตามเสียงสะท้อนเนี่ย เป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เหมือนว่าพระองค์ทรงถูกหลอกนั่นเอง

นอกจากนี้ก็มีเรื่องที่ว่า วันโกหกเกิดจากช่วงฤดูใบไม้ผลิมีคำกล่าวที่ว่า ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หนุ่มสาวจะออกตามหาความรักและเป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโต สัตว์ต่างๆ หาคู่ด้วยและในเดือนนี้ (เมษายน) พวกนักบวชจะพยายามหลอกล่อวิญญาณของความชั่วร้ายอย่างสุดความสามารถ เพื่อไม่ให้มันมาขัดขวางความรักของทั้งหนุ่มสาว พืช และสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นเดือนที่นักบวชจะต้องสวดเพื่อล่อวิญญาณร้ายซึ่งวิธีนี้เริ่มขึ้นในอเมริกา และเผยแพร่ไปที่อังกฤษ และลามเข้าไปในประเทศอื่นๆ

วันสตรีสากล คืออะไร ประวัติวันสตรีสากล ทำไมต้อง 8 มี.ค.

Jake KN.

นักคิดนักเขียน พร้อมเสิร์ฟทุกข่าวในสังคม การเมือง อาชญากรรม เทคโนโลยี ต่างประเทศ บันเทิง เศรษฐกิจ โควิด-19 กระแสไวรัลในโลกโซเชียล ทุกเหตุการณ์ที่คุณไม่ควรพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button