มาตรการช่วยเหลือโควิด ทุกธนาคาร รวมไว้ที่นี่! อ่านเลย
มาตรการช่วยเหลือโควิด ทุกธนาคาร กรุงไทย กรุงศรี อิออน ธ.ก.ส. ธ.อ.ส. ออมสิน กสิกรไทย รวมไว้ที่นี่! อ่านเลย
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจประชาชนเป็นวงกว้าง ทางหน่วยงานรัฐบาลเองก็ได้ออกมาตรการหลายอย่าง เพื่อช่วยเหลือประชาชน ทั้งโครงการ เราชนะ แจกเงิน 3,500 ลดค่าน้ำค่าไฟ โครงการคนละครึ่งรอบเก็บตก
ส่วนธนาคารพาณิชย์ก็ได้ออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในด้านสินเชื่อ ดอกเบี้ย บัตรเครดิต และอื่น ๆ อีกมากมาย The Thaiger ได้รวบรวมของธนาคารใหญ่ ๆ มาให้แล้วที่นี่
1.มาตรการเยียวยาโควิด ธนาคารกรุงไทย
มีทั้งการช่วยเหลือ มาตรการสำหรับลูกค้าบุคคล ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 64 ด้านสินเชื่อ และมาตรการสำหรับลูกค้าธุรกิจ
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มคลิก : กรุงไทย : มาตรการเยียวยาโควิด-19 สินเชื่อ, ลด-พักการชำระ, เปลี่ยนเงินกู้
2. มาตรการเยียวยาโควิด ธนาคารออมสิน
ประกอบด้วยสินเชื่อหลัก ๆ ดังนี้ โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก โครงการ SMEs มีที่มีเงิน
โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ SMEs ภาคท่องเที่ยว และ Soft Loan ฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มคลิก :
- ออมสิน เตรียมเปิด สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย 10,000 บาท
- รวม มาตรการโควิด-19 จาก ธนาคารออมสิน
- ออมสิน 50000 บาท : ลงทะเบียนสินลงทะเบียนสินเชื่อเสริมพลังฐานราก
- วิธีการลงทะเบียน สินเชื่อเสริมพลังฐานราก ผ่านแอพ MyMo
3. ธนาคารกรุงศรี ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ที่น่าสนใจคือการพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ ส่วนคุณสมบัติและวิธีการดำเนินการอ่านรายละเอียดที่นี่ : กรุงศรี มาตรการเยียวยา โควิด-19 : พักชำระหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้
4. ธ.ก.ส.เยียวยาโควิด
มีทั้งการขยายเวลาในการชำระหนี้ให้เกษตรกร SMEs หรือจะเป็นการพักชำระหนี้ เงินต้น และส่วนของมาตรการสนับสนุนสินเชื่อต่าง ๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก : ธ.ก.ส. เปิดตัว มาตรการเยียวยา โควิด-19 : ขยาย, พัก, เติม
5. ธนาคารกสิกร ออกมาตรการเยียวยาโควิด-19
มาตรการที่ทางธนาคารกสิกรออกมามี 2 รูปแบบคือ มาตรการช่วยเหลือที่ ไม่ต้องลงทะเบียน กับแบบที่ต้องลงทะเบียน
อ่านรายละเอียดทั้งหมดคลิก : เช็กมาตรการเยียวยาโควิด กสิกร ที่นี่ : สินเชื่อ, ลดดอกเบี้ย, บัตรเครดิต
6. มาตรการช่วยเหลือโควิด จาก ธ.อ.ส.
“โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” ด้วย 4 มาตรการลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน
ประกอบด้วย
- มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 29 มกราคม 2564
- มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2564
- มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 26 กุมภาพันธ์ 2564
- มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น
ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือไม่เกินมิถุนายน 2564
พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564
อ่านรายละเอียดทั้งหมด คลิก : ธอส. ออก 4 มาตรการช่วยเหลือ ลูกค้าทั่วประเทศจาก โควิด-19
- รวมเยียวยาโควิดจาก อิออน : ลด, พัก, เปลี่ยนสินเชื่อ
- ใช้ไฟฟรีกี่หน่วย มีคำตอบ มาตราการลดค่าไฟ 2 เดือน เยียวยาโควิด
- แอพเราชนะลงทะเบียน 3500 คลังเตือน อย่าหลงเชื่อ