ผู้ประกันตนประกันสังคม ตามมาตรา 33 คืออะไร ทำไมไม่ได้เงินเยียวยา 3,500 บาท
ผู้ประกันตนประกันสังคม ตามมาตรา 33 คืออะไร ทำไมไม่ได้เงินเยียวยา 3,500 บาท 2 เดือน
ข่าวแจกเงิน – จากกรณีมีความคืบหน้าโครงการเราชนะ มาตรการเยียวยาพิษเศรษฐกิจโควิด โดยเบื้องต้นรัฐบาลกำหนดวงเงินแจกเงิน 3,500 บาท 2 เดือน รวมเป็น 7,000 บาท
ที่น่าเศร้าคือ ในการสัมภาษณ์รายละเอียดเพิ่มเติมของ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผ่านรายการ รวมใจ สู้ภัยโควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า หนึ่งในอาชีพที่ไม่เข้าเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยาไทยชนะคือ เจ้าหน้าที่รัฐ และ ผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคม
รายละเอียดลงลึกกว่านั้น สื่อบางสำนักรายงานว่า ผู้ประกันตนที่ไม่ได้เงิน 7,000 บาทนี้แน่นอนคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33
วิธีขอเงินชดเชยประกันสังคม เหตุว่างงานจากโควิด-19 เริ่ม 4 ม.ค.
อัปเดตล่าสุด! 3 ก.พ. 64 ม.33 ประกันสังคม เฮ ไฟเขียวแจกเงินเยียวยา ‘คาด’ได้สูงสุด 4.5 พันบาท
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คืออะไร
ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือแรงงานตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปีที่มีนายจ้าง, อยู่ในระบบบริษัท มีการส่งเงินประกันสังคมทุกเดือน ในจำนวน 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท โดยฝ่ายนายจ้างจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง ผู้ประกันตนจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง (คิดง่าย ๆ ฝ่ายละ 750 บาท)
ที่คาดว่าไม่ได้การเยียวยาในส่วนนี้เพราะ ก่อนหน้านี้มติคณะรัฐมนตรีได้ออกมาตรการเยียวยาออกมาแล้ว ประกอบด้วย
- ลดเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนโควิดระลอกใหม่ คลิกอ่านรายละเอียด
- วิธีขอเงินชดเชยประกันสังคม เหตุว่างงานจากโควิด-19 เริ่ม 4 ม.ค. คลิกอ่านรายละเอียด
จะเห็นว่าในส่วนของผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบ รัฐได้ช่วยแบ่งเบาภาระส่วนการส่งเงินจ่ายประกันสังคม และหากเกิดว่างงานจากโควิดก็สามารถขอรับสิทธิ์เงินชดเชยที่เราควรได้จากประกันสังคมได้ด้วย
อ่านข่าวเยียวยาโควิดอื่น ๆ
- มีคำตอบ ใครได้ ใครไม่ได้เงิน 3,500 บาท 2 เดือน เราชนะ
- ออมสิน เตรียมเปิด สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย 10,000 บาท
- ธอส. ออก 4 มาตรการช่วยเหลือ ลูกค้าทั่วประเทศจาก โควิด-19