นายกยัน พรก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อการเยียวยาและฟื้นฟู จากผลกระทบจากโควิด 19
30 พ.ค. เวลา 17.05 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชี้แจงพรก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนและดูแลประชาชน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรียืนยันรัฐบาลบริหารเศรษฐกิจที่ผ่านมาอย่างเต็มที่ สามารถฟื้นฟูกลับมาในระยะ 5 ปี ให้กลับมาอยู่ระดับที่ดีพอสมควร โดยเน้นดูแลเศรษฐกิจทั้งมหภาค จุลภาคและเศรษฐกิจภาคประชาชน หนี้ครัวเรือน ส่งผลให้หนี้สาธารณะของไทยอยู่ระดับต่ำเพียงร้อยละ 41 ทำให้วันนี้รัฐบาลสามารถกู้เงินมาใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเพื่อความเชื่อมั่น จากเดิมสัดส่วนการลงทุนอาจจะน้อยมากเมื่อเทียบกับ GDP หรือรายได้ของประเทศ เพราะต้องนำเงินไปใช้จ่ายตามภารกิจหลักในการดูแลประชาชน ชดเชยรายได้ ประกันรายได้ ดูแลกลุ่มเปราะบาง คนพิการ เด็ก งบประมาณจึงถูกนำไปใช้สำหรับรายจ่ายประจำ จึงต้องมีเงินเข้ามาใหม่เพื่อใช้ในการลงทุนและด้านเศรษฐกิจ โดยเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ทั้ง EEC ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันตก ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก ด้วยวิธีการลงทุนแบบร่วมลงทุน PPP ที่ช่วยเงินที่รัฐจะต้องลงทุนได้ถึง 1 ใน 3 ลดการกู้เงิน ด้วยการบริหารเงินแบบนี้ จึงทำให้หนี้สาธารณะไม่สูงมากแต่มีผลผลิตที่เกิดจากลงทุน เช่น การขยายช่องทางจราจร ถนน รถไฟ รถไฟฟ้า
สำหรับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นนั้น รัฐบาลสร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกเรื่องการออม รวมทั้งมีกระบวนกลไกในการแก้หนี้ กองทุน บริษัทเจรจาประนอมหนี้ ช่วยเหลือแก้ปัญหาที่ดินโดยธนาคารที่ดิน อย่างไรก็ตาม วันนี้เศรษฐกิจโลกตกต่ำ เกิดสงครามทางการค้า ซ้ำเติมสถานการณ์ให้หนักขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ก็ขึ้นๆลงๆ รัฐบาลก็พยามดำเนินการอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งไทยในฐานะประเทศประชาธิปไตยยิ่งต้องระมัดระวังในการดำเนินการ รับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย ทำประชาพิจารณ์ ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ รัฐสภา รวมทั้งวางแผนการเจรจาความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบพหุภาคี เพื่อประโยชน์ของไทยในอนาคต
นายกรัฐมนตรียืนยันพรก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท อย่านำไปปนไม่เกี่ยวกับพรก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ที่เกิดขึ้นไม่มีใครคาดคิดและมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน แต่ต้องแยกแยะทั้งผู้ที่เดือดร้อนก่อนหน้าสถานการณ์โควิด19 จากปัญหาความยากจน เศรษฐกิจตกต่ำหรือผู้ที่มีรายได้น้อย ก็มีงบประมาณปกติตั้งแต่งบประมาณปี 63-65 แต่สถานการณ์โควิด 19 ทำให้ต้องดูแลเยียวยาอย่างเร่งด่วน เช่น ผู้ที่ถูกปิดกิจการ รัฐดูแลเยียวยา 5000 บาทให้ 3 เดือน สำหรับการปลดล็อกระยะ 3 ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความยากลำบากในการบริหาร แต่รัฐบาลจะดูแลและติดตามให้ทุกอย่างถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ขอยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการใช้จ่ายเงินจากร่างพ.ร.ก. เงินกู้ เพราะวันนี้ สถานการณ์การเงิน การคลังของประเทศมีความเข้มแข็ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศก็สูง เงินสะพัดเกินดุล ขอเพียงทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เช่นเดียวกับการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ที่ทุกคนร่วมมือกันร่วมเดินหน้าไปกับรัฐบาล
นายกรัฐมนตรีย้ำรัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างจริงจัง ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ เป็นเจตนารมณ์ทางการเมือง ภายใต้กฎหมายปกติ และมีกลไกพิเศษขึ้นเพียงเพื่อแก้ปัญหาซ้ำซ้อนเกิดขึ้นมายาวนาน โดยเป็นแก้ปัญหาเชิงระบบ ขณะเดียวกัน ก็พยายามไม่ให้เกิดปัญหาทุจริต วันนี้รัฐบาลอยู่ได้เพราะบริหารอย่างโปร่งใส ขณะนี้สถานการณ์ไม่ปกติ จึงเป็นเงินเพียงก้อนเดียวที่มาช่วยวิกฤตินี้ ขอทุกฝ่ายคิดถึงประเทศชาติเป็นหลัก
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังชี้แจงถึงการเปิดการเรียนการสอนว่า ต้องดูความพร้อมและทยอยเปิดเมื่อพร้อม พิจารณาจากจำนวนนักเรียน วัยของนักเรียน สภาพห้องเรียน เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีภูมิต้านต่ำ อาจให้สลับการเรียน หรือการเปิดการสอนแบบวันเว้นวัน โดยวิชาสำคัญอาจสอนในโรงเรียน สำหรับเด็กเล็กมาก อาจยังมาโรงเรียนไม่ได้ เนื่องจากยังควบคุมตนเองไม่ได้ การลดวันเรียนหรือลดจำนวนเด็กยังช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้อีก สำหรับการเชื่อมโยงด้วยออนไลน์ ขอยืนยันไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อการสาธารณสุขเท่านั้น
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรียังเชิญชวนให้ทุกฝ่ายและส.ส. ร่วมสร้างความเข้าใจกับประชาชนทั้งการดูแลด้านสุขภาพ ภายหลังการปลดล็อกระยะที่ 3 พร้อมย้ำว่ารัฐบาลจะดูแลประชาชนให้ดีที่สุด เพื่อให้ทำวันนี้เพื่อให้ถึงมือประชาชนได้เร็วที่สุดคือ
ที่มา:ข่าวทำเนียบรัฐบาล