สุขภาพและการแพทย์

สุราษฯ สั่งปิดสถานที่เพิ่มเติม ลดความเสี่ยง COVID-19

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกมาตรการเร่งด่วน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 โดย นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าสุราษฎร์ธานี ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สั่งให้ปิดและควบคุมการเปิด-ปิดสถานที่เพิ่มเติม โโยแบ่งออกเป็นสองหมวดหมู่ใหญ่ๆได้แก่

ข้อ 1 ให้ปิดสถานที่บางประเภทในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นการชั่วคราว (เพิ่มเติม) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2563 ดังนี้

(1)ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าทุกประเภท ยกเว้น แผนกซุปเปอร์มาเก็ต ร้านขายยา หรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ศูนย์บริการโทรศัพท์มือถือหรือระบบสื่อสาร ที่ทำการธนาคาร หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ สำหรับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้และศูนย์การค้าทุกประเภทให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น

Advertisements

(2)ตลาด ตลาดนัด และตสาดเปิดท้าย ให้เปิดฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา ร้านดอกไม้สด เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดเพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

(3)ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทุกประภท ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น และร้านอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรมที่ให้บริการฉพาะผู้ที่พักอาศัยในโรงแรม ยกเว้นร้านอาหารหรือเครื่องดื่มในสนามบินและโรงพยาบาล โดยต้องจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยเคร่งครัด

ข้อ 2 ให้สถานที่บางประเภทในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกำหนดช่วงเวลาเปิด -ปิดการให้บริการใหม่เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2563 ดังนี้

ให้ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าเบ็ดเตล็ด ปิดการให้บริการตั้งแต่เวลา 24.00 น ถึง 05.00 น.ในวันรุ่งขึ้น และผู้ให้บริการต้องจัดให้มีการคัดกรองอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าร้านมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ การกำหนดจุดยืนการรอคิวชำระเงิน โดยให้กำหนดระยะห่างอย่างน้อยคนละหนึ่งมตร และต้องดำเนินการตามมาตรการลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค (เพิ่มเติม) ดังนี้

(1) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนเปิดให้บริการ และทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน

Advertisements

(2) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า

(3) ให้ควบคุมจำนวนผู้เข้าใช้บริการ มิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จะมีความผิดตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่ง พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button