ข่าวต่างประเทศบันเทิงภาพยนตร์

Netflix-UN Women เปิดตัวภาพยนตร์-ซีรีส์-สารคดี คัดสรรโดย 55 ผู้หญิงเก่งแห่งวงการบันเทิงทั่วโลก

Netflix-UN Women เปิดตัวภาพยนตร์-ซีรีส์-สารคดี คัดสรรโดย 55 ผู้หญิงเก่งแห่งวงการบันเทิงทั่วโลก

คอลเลคชั่น “Because She Watched” สะท้อนพลังของการเล่าเรื่อง เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

โดยมีซินดี้-สิรินยา บิชอพ ร่วมแคมเปญในฐานะตัวแทนจากประเทศไทย

Advertisements

ชมคลิปแนะนำคอลเลคชั่น “Because She Watched” ได้ที่ https://youtu.be/MHm1SwlSk4s

ฮอลลีวู้ด, แคลิฟอร์เนีย, 5 มีนาคม 2563 – เน็ตฟลิกซ์ และ องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เปิดตัว “Because She Watched” คอลเลคชั่นภาพยนตร์-ซีรีส์-สารคดี เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ที่คัดสรรโดยผู้หญิงจากทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของวงการบันเทิงทั่วโลก 55 คน ไม่ว่าจะเป็น โซเฟีย ลอเรน, แจเน็ต ม็อค, ซัลมา ฆาเยก, ยาลิตชา อปาริซิโอ, มิลลี่ บ็อบบี้ บราวน์, ลอรี นัน, ลาน่า คอนดอร์, เพทรา คอสต้า และเอวา ดูเวอร์เนย์ สำหรับประเทศไทย ได้รับเกียรติจากซินดี้-สิรินยา บิชอพ นักแสดง-นางแบบ และนักรณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศ มาเป็นตัวแทนร่วมแคมเปญ

“ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวและนำเสนอความหลากหลายของผู้หญิง เป็นการทำให้คนมองเห็นเรื่องที่พวกเขามักมองข้าม และพิสูจน์ว่าการนำเสนอและให้บทบาทกับผู้หญิงทั้งในหน้าจอ เบื้องหลัง และการเล่าเรื่อง จะทำให้สังคมก้าวหน้าไปได้อย่างแท้จริง” อนิตา บาเทีย รองกรรมการบริหาร องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าว

Advertisements

คอลเลคชั่นดังกล่าวได้ถูกจัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสวันสตรีสากลโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ในธีมของปีนี้ที่ชื่อว่า “I am Generation Equality: Realizing Women’s Rights” เพื่อให้เกียรติเรื่องราวที่จุดประกายให้กับผู้หญิงเก่งทั้ง 55 คนที่ให้แรงบันดาลใจกับเรา โดยภาพยนตร์-ซีรีส์-สารคดีที่พวกเธอเลือก เช่น Unbelievable (เสียงแห่งความกล้า), Followers (ฟอลโลเวอร์), Luna Nera (คำสาปคืนเดือนดับ), Orange is the New Black (ออเรนจ์ อีส เดอะ นิว แบล็ค), Lionheart (สิงห์สาวกำราบเสือ) และ Sex Education (เพศศึกษา หลักสูตรเร่งรัก) ได้นำไปสู่การพูดคุยถึงปัญหาสำคัญต่างๆ ที่อาจไม่ได้รับการยกมาถกกันมากเท่าที่ควร และท้าทายให้เรามองโลกในแง่มุมใหม่ๆ

“การให้โอกาสทุกคนมีภาพตัวแทนของตนเองปรากฏให้โลกเห็นนั้น คือความเท่าเทียมกันที่แท้จริง และการที่มีภาพแทนตัวตนของทุกคนโลดแล่นอยู่บนหน้าจอ ก็ทำให้เราสามารถวาดฝันถึงตนเองและผู้อื่นได้อย่างไร้ขอบเขต” ลาเวิร์น ค็อกซ์ (นักแสดง) กล่าว “Orange is the New Black เป็นโปรเจคแรกที่ให้โอกาสฉันรู้สึกถึงการเป็นผู้หญิงที่ทรงพลังอย่างแท้จริง ดิฉันต้องขอบคุณเจนจิ โคฮาน ผู้หญิงที่สร้างซีรีส์นี้ขึ้นมา รวมถึงผู้กำกับ นักเขียน โปรดิวเซอร์และทีมงานหญิงอีกหลายท่าน อีกทั้งบทของซีรีส์ที่นำเสนอความหลากหลายของผู้หญิงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซีรีส์นี้ได้ให้พื้นที่กับฉัน ในฐานะหญิงข้ามเพศผิวดำ ในการสร้างที่ยืนให้กับหญิงข้ามเพศคนอื่นๆ จากทุกเชื้อชาติ ในฐานะส่วนหนึ่งของมนุษยชาติอย่างแท้จริง”

ผู้ชมสามารถรับชมคอลเลคชั่นดังกล่าวได้ทาง Netflix.com/BecauseSheWatched หรือค้นหาคำว่า “Because She Watched” ในเน็ตฟลิกซ์ โดยภาพยนตร์-ซีรีส์-สารคดีแต่ละเรื่องจะมีชื่อของตัวแทนที่เลือกกำกับไว้ เช่น “XXXX’s Women’s Day Pick” เพื่อสมาชิกจะได้ทราบว่าใครเป็นคนเลือกเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถเลือกรูป โปรไฟล์เป็นตัวละครจากคอลเลคชั่น “Because She Watched” ได้อีกด้วย

“วงการทีวีและภาพยนตร์ มีอิทธิพลในการสะท้อนและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมประชานิยมของเรา ดังนั้น เราเชื่อว่าการที่ผู้คนได้เห็นชีวิตของตนเองถูกเล่าในหน้าจอนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก” ดร. สเตซี่ แอล สมิธ ผู้ก่อตั้งโครงการเพื่อความเท่าเทียม จากสถาบันแอนเนนเบิร์ก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย ซึ่งมุ่งวิจัยและศึกษาเรื่องความหลากหลายในสื่อบันเทิง กล่าว “ผลการวิจัยของเราชี้ว่า การมีคนหลากหลายทำงานเบื้องหลัง นำไปสู่ความหลากหลายที่ถูกสะท้อนออกมาบนหน้าจอมากขึ้น โดยในปีที่แล้ว 20% ของผู้กำกับภาพยนตร์ออริจินัลจากเน็ต ฟลิกซ์เป็นผู้หญิง และเราตื่นเต้นที่จะยกย่องผู้สร้างหญิงเหล่านี้ในวันสตรีสากล ยังมีเรื่องที่เราสามารถทำได้อีกเพื่อสร้างความเสมอภาค แต่การที่เราให้เกียรติผู้หญิงเก่งจากทั่วโลก เราหวังว่าจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้หญิงออกมาเล่าเรื่องราวของตนเอง และเพิ่มอัตราส่วนนี้ให้มากขึ้น”

 

“การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน และการสร้างความยอมรับซึ่งกันและกัน ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และเป็นสิ่งที่โลกกำลังพูดถึงเป็นอย่างมากในขณะนี้ ‘Because She Watched’ จึงเป็นแคมเปญสำคัญที่ให้พื้นที่กับผู้หญิงและเรื่องราวที่ไม่ธรรมดาของพวกเธอ สื่อบันเทิงไม่เพียงแต่นำความสุขมาให้โลกของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นสื่อที่เปี่ยมด้วยพลังในการถ่ายทอดเรื่องราวและสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นความไม่เสมอภาคและอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่ผู้หญิงยังต้องประสบอยู่จวบจนปัจจุบัน รวมถึงผู้หญิงในประเทศไทยด้วย ดิฉันหวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เราทุกคนท้าทายอคติทางเพศเดิมๆ ที่หยั่งรากลงในสังคมของเรา รวมถึงความเชื่อแบบเก่าๆ ที่ตีกรอบให้กับบทบาทและความสามารถของผู้หญิงโดยไม่ตรงกับความเป็นจริง” ซินดี้-สิรินยา บิชอพ ตัวแทนของประเทศไทยในคอลเลคชั่น “Because She Watched” กล่าว

ความร่วมมือระหว่าง UN Women และเน็ตฟลิกซ์นั้น เป็นการสนับสนุนแคมเปญ Generation Equality โดยจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของการรับรองปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ ที่มุ่งขับเคลื่อนประเด็นด้านสิทธิสตรี เน็ตฟลิกซ์หวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ว่าสิทธิสตรีคือการให้โอกาสผู้หญิงได้เป็นผู้นำในเรื่องต่างๆ เพื่อบรรลุความเสมอภาคทางเพศ

 

รายชื่อของผู้หญิงที่ร่วมคัดสรรภาพยนตร์-ซีรีส์-สารคดีสำหรับแคมเปญ “Because She Watched”

อเลฮันดรา อัซคาราเต้ (โคลอมเบีย) – Locked Up (ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นต่อ)

อลิซ วู (สหรัฐอเมริกา) – Frances Ha

อันเดรีย บาราต้า ริเบโร่ (บราซิล) – Sex Education (เพศศึกษา หลักสูตรเร่งรัก)

แอนนา วิงเออร์ (เยอรมนี) – Unbreakable Kimmy Schmidt (คิมมี่ ชมิดต์ ผู้แข็งแกร่ง)

เอวา ดูเวอร์เนย์ (สหรัฐอเมริกา) – A Wrinkle in Time (ย่นเวลาทะลุมิติ)

บาร์บาร่า โลเปซ (เม็กซิโก) – Scandal

เบเรน ซาต (ตุรกี) – Bird Box (มอง อย่าให้เห็น)

บรูน่า มาสคาเรนัส (บราซิล) – Quien Te Cantará (ใครจะร้องเพลงของฉัน)

เซซิเลีย ชัวเรซ (เม็กซิโก) – Marriage Story (แมริเอจ สตอรี่)

คริส นี (สหรัฐอเมริกา) – Orange is the New Black (ออเรนจ์ อีส เดอะ นิว แบล็ค)

คริสเตียน เซอร์ราโตส (สหรัฐอเมริกา) – The Goop Lab (ไลฟ์สไตล์ฉบับกวินเน็ธ พัลโทรว์)

ซินดี้ บิชอพ (ไทย) – Anne with an E (แอนน์ที่มี “น์”)

เอเลน่า ฟอร์เทส (เม็กซิโก) – Atlantics (แอตแลนติก)

เอสเธอร์ อาซิโบ (สเปน) – Chef’s Table: Bo Songvisava (เชฟส์ เทเบิ้ล ตอน โบ ทรงวิศวะ)

ฟาดิลี คามารา (ฝรั่งเศส) – How to Get Away with Murder (ก๊วนแสบอำพรางศพ)

ฟานนี่ เอร์เรโร (ฝรั่งเศส) – Je Parle Toute Seule

ฟาติมา อะบู บาการ์ (มาเลเซีย) – Babies (เบบี้)

ฟรานเชสก้า โกเมนชินี่ (อิตาลี) – What Happened, Miss Simone? (เกิดอะไรขึ้นกับมิสซีโมน)

จิโอวาน่า อิวแบงค์ (บราซิล) – The Most Beautiful Thing (เพลงรักจุดประกายฝัน)

ฮานน่า อาร์เดห์น (สวีเดน) – Silence of the Lambs

ฮาซาร์ แอร์กุชลู (ตุรกี) – House of Cards (เกมอำนาจ)

เฮนด์ ซาบรี (อียิปต์) – Joan Didion: The Center Will Not Hold (โจน ดิเดียน: เดอะ เซ็นเตอร์ วิล น็อต โฮลด์)

อีดา เอลีส บร็อค (นอร์เวย์) – RuPaul’s Drag Race (รูพอลส์ แดร็ก เรซ)

แจเน็ต ม็อก (สหรัฐอเมริกา) – Paris is Burning (ปารีสร้อนดั่งไฟ)

จอยซ์ เชง (ฮ่องกง) – Queer Eye (เควียร์ อาย)

จูเลียน่า วิเซ็นเต้ (บราซิล) – Whey They See Us (สายตาแห่งอคติ)

เคมี่ อเดติบ้า (ไนจีเรีย) – King of Boys (ราชินีบัลลังก์เหล็ก)

เคียรา อัดวานี (อินเดีย) – Lust Stories (เรื่องรัก เรื่องใคร่)

ลาลี่ เอสโปซิโต้ (อาร์เจนตินา) – Notting Hill (รักบานฉ่ำ ที่น้อตติ้งฮิลล์)

ลาน่า คอนดอร์ (สหรัฐอเมริกา) – Grace and Frankie (เกรซ แอนด์ แฟรงกี้)

ลอเรน มอเรลลี่ (สหรัฐอเมริกา) – Julie & Julia (ปรุงรักให้ครบรส)

ลอรี นัน (อังกฤษ) – The Keepers (เดอะ คีปเปอร์)

ลาเวิร์น ค็อกซ์ (สหรัฐอเมริกา) – Brené Brown: The Call to Courage (เบรเน บราวน์: เสียงเพรียกแห่งความกล้า)

ลิซ การ์บัส (สหรัฐอเมริกา) – She’s Gotta Have It (เชิด สวย มั่น… ฉันต้องได้)

โลแกน บราวนิ่ง (สหรัฐอเมริกา) – Someone Great (ขอหลุดโลกให้ลืมรัก)

ลินน์ ไฟน์ชตีน (เม็กซิโก) – 2001: Space Odyssey (2001 จอมจักรวาล)

มาร์เซลล่า เบนฮูแม (โคลอมเบีย) – Dead to Me (เดด ทู มี)

เมอร์เซดีส โมแรน (อาร์เจนตินา) – Aquarius (อควาเรียส)

มิกะ นินากาวะ (ญี่ปุ่น) – In the Realm of the Senses

มิลลี่ บ็อบบี้ บราวน์ (สหรัฐอเมริกา) – Miss Americana (มิส อเมริกาน่า)

มินา เอล ฮัมมานี (สเปน) – ¿Qué coño está pasando?

มินดี้ เคลิ่ง (สหรัฐอเมริกา) – Chewing Gum (ชูอิง กัม)

มิรา เลสมาน่า (อินโดนีเซีย) – ROMA (โรม่า)

มิธิลา ปัลการ์ (อินเดีย) – Hannah Gadsby: Nanette (แฮนนาห์ แกดสบี้: แด่แนเน็ตต์)

นาห์นัตช์กา ข่าน (สหรัฐอเมริกา) – Young Adult

โง ทัน วัน (เวียดนาม) – Wonder Woman (วันเดอร์ วูแมน)

โนซิโฟ ดูมิซ่า (แอฟริกาใต้) – Gravity (กราวิตี้ มฤตยูแรงโน้มถ่วง)

เพธี เดเฮซุส (บราซิล) – Raising Dion (ดิออน ซูเปอร์ฮีโร่ที่รัก)

พอลีน่า การ์เซีย (ชิลี) – Deux Jours, Une Nuit

เพทรา คอสต้า (บราซิล) – Feminists: What Were They Thinking? (สิทธิสตรี ณ วันนี้กับวันวาน)

ซัลมา ฆาเยก (เม็กซิโก) – Unbelievable (เสียงแห่งความกล้า)

แซนดี้ ตัน (สิงคโปร์) – Russian Doll (รัซเซียน ดอลล์)

ชีฟาลี่ ชาห์ (อินเดีย) – Delhi Crime (ล่าเดนเดลี)

โซเฟีย ลอเรน (อิตาลี) – The Crown (เดอะ คราวน์)

ยาลิตชา อปาริซิโอ (เม็กซิโก) – Knock Down the House (เขย่าบัลลังก์แห่งอำนาจ)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ Netflix

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button