คำขวัญวันเด็ก 2563 ศูนย์ต้านข่าวปลอมแจง ‘เด็กไทยยุคใหม่ต้องไปสกายวอล์ค’ เป็นข่าวปลอม
คำขวัญวันเด็ก 2563 ศูนย์ต้านข่าวปลอมแจง ‘เด็กไทยยุคใหม่ต้องไปสกายวอล์ค’ เป็นข่าวปลอม สร้างความปั่นป่วน อย่าแชร์
คำขวัญวันเด็ก 2563 – จากกรณีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2563 ว่า “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย”
ต่อมา ช่วงเวลาหลังจากนั้นได้เกิดกระแสการรวมตัวแฟลชม็อบขึ้น โดยมีจุดนัดพบ ณ สกายวอร์ค สี่แยกปทุมวัน เวลา 5 โมงเย็น วันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีประชาชนมารวมตัวกันอย่างจำนวนมากเพื่อแสดงพลัง โดยก่อนหน้านี้ในโลกออนไลน์ ได้หยิบเอาคำขวัญวันเด็กที่พลเอกประยุทธ์ มอบ ว่าเล่นล้อต่อท้ายคำขวัญว่า ‘และอย่าลืมไปสกายวอล์คพรุ่งนี้’ ซึ่งผู้โพสต์ระบุอย่างชัดเจนว่า พลเอกประยุทธ์ ไม่ได้กล่าไว้
อย่างไรก็ดี มีรายงานว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) ได้ออกมาชี้แจง ดังนี้
ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับกรณีที่มีผู้เผยแพร่ข้อความในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง สารคำขวัญวันเด็ก จากนายกฯ ‘เด็กไทยยุคใหม่ต้องไปสกายวอล์ค’ นั้นทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ข้อมูลที่ปรากฏตามสื่อดังกล่าวนั้น เป็น ข้อมูลเท็จ
กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” ซึ่งมีการเผยแพร่ออกมาจากรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2563 โดยนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 นายกรัฐมนตรี หวังให้เด็กมีความสามัคคีตั้งแต่เยาวชน และรู้ในหน้าที่ของพลเมืองไทย
ตามที่กำลังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ กรณี ส.ส.รายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความลงบนทวีตเตอร์ ระบุว่า “ไม่รู้ใครทำ แต่ชอบ! #ไม่ถอยไม่ทน #กลัวที่ไหน อย่าลืมนะคะเด็กไทยยุคใหม่ต้องไปสกายวอล์ค เสาร์ 14 ธันวาคมนี้ (ลุงตู่ไม่ได้กล่าว)” พร้อมภาพ สารคำขวัญวันเด็กประจำปี 2563 ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในภาพดังกล่าว ได้มีการเพิ่มเติมข้อความ ‘และอย่าลืมไปสกายวอล์คพรุ่งนี้’ ต่อจาก “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ เจตนาทำให้คนเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งเป็นข่าวปลอม อย่าแชร์
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ