สุขภาพและการแพทย์

ครั้งแรกของโลก ไข้เลือดออกติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์

ครั้งแรกของโลก ไข้เลือดออกติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์คู่รักร่วมเพศ

ไข้เลือดออกtelegraph.co.uk รายงาน เจ้าหน้าที่สาธารสุขของสเปนออกมายืนยันว่าชายคนหนึ่งได้แพร่เชื้อไวรัสเดงกี หรือโรคไข้เลือดออกผ่านเพศสัมพันธ์ให้กับคู่รักของตนเอง เป็นครั้งแรกของโลก

เราเข้าใจกันดีว่าโรคไข้เลือดออกมีพาหะคือยุงลาย โดยจะไม่ติดต่อผ่านคนสู่คน เมื่อเดือนกันยายน แพทย์ต่างงุนงงที่ชายวัย 41 ปีจากกรุงมาดริดเป็นโรคไข้เลือด ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้เดินทางไปประเทศที่เป็นแพร่ระบาดของโรค (โรคไข้เลือดออกพบได้มากในเขตร้อนซึ่งมีประชากรหนาแน่นและมีน้ำขังเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงลาย)

เขามีอาการอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง และปวดเมื่อยตามร่างกาย และเมื่อตรวจสอบประวัติพบว่า คู่รักชายของเขาซึ่งก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศคิวบาและโดมินิกัน ก็มีอาการป่วยคล้ายกัน แต่ทุเลาลง 10 วันก่อนหน้า แพทย์วินิจฉัยว่าเขาได้รับเชื้อเดงกีมาจากยุงกัดเมื่อครั้งไปเที่ยว

แพทย์เผยผลแลปที่น่าตกตะลึงว่า “การวิเคราะห์สเปิร์มของพวกเขาเผยให้เห็นว่าไม่เพียงแต่พวกเขาเป็นไข้เลือดออกเท่านั้น แต่ยังเป็นไวรัสตัวเดียวที่แพร่กระจายในคิวบา”

นับเป็นคู่รักชายชายคู่แรกของโลกที่ติดเชื้อไข้เลือดออกผ่านเพศสัมพันธ์ คล้ายกับกรณีการศึกษาในเกาหลีใต้ที่คู่รักชายหญิงมีแนวโน้มติดเชื้อไข้เลือดออกผ่านเพศสัมพันธ์

เชื้อเดงกีมียุงเป็นพาหะ มันฆ่าคน 10,000 คนต่อปีและมีผู้ติดเชื้อกว่า 100 ล้านคน อาการของโรคส่วนมากจะมีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง และอาเจียน บางรายอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และไม่มีคำตอบว่าทำอัตราการเสียชีวิตของเด็กผู้หญิงจึงมีสูงกว่ากลุ่มประชากรอื่น

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ และไข้เลือดออก Dengvaxia ซึ่งเป็นวัคซีนตัวแรกที่พัฒนาขึ้นมีผลเฉพาะกับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วเท่านั้น

นักวิจัยประกาศเมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่าพวกเขาคาดว่าโรคจะแพร่กระจายไปทั่วโลกภายใน 60 ปีข้างหน้า ไข้เลือดออกหรือที่เรียกกันว่า “ไข้กระดูกแตก” เนื่องจากมีอาการปวดข้อ จะเป็นสาเหตุจะคุกคามประชากรโลกร้อยละ 60 หรือหกพันล้านคนภายในปี 2080

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความรู้ว่า เชื้อไวรัสเดงกีมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก

ทั้งนี้ ในแต่ละปีพบว่ามีการกระจายของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนกัน และมีเชื้อที่เด่นแตกต่างกันไป ทำให้มีการระบาดของโรคมาโดยตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : telegraph.co.uk

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button