ข่าวภูมิภาค

คาดสาเหตุการตายของ ‘ช่วงช่วง’ แพนด้ายักษ์เชียงใหม่

คาดสาเหตุการตายของ ‘ช่วงช่วง’ แพนด้ายักษ์เชียงใหม่ ในวัย 19 ปี

ช่วงช่วงตาย – จากกรณีสวนสัตว์เชียงใหม่รายงานการเสียชีวิตของ ช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ ทูตสันธวไมตรีระหว่างไทยกับจีน เมื่อวานนี้ โดยมีอายุรวม 19 ปี นั้น

ช่วงช่วง
ภาพแพนด้า “ช่วงช่วง” เมื่อครั้งงานวันเกิดครบ 19 ปี (ภาพจากสวนสัตว์เชียงใหม่)

ต่อมา สำนักข่าวเดลินิวส์ ได้รายงานช่วงการเสียชีวิตของช่วงช่วง ว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน เวลาบ่ายสามโมง ช่วงช่วงได้หมดสติล้มลงหลังจากกินใบไผ่ไปได้ประมาณเพียง 2 นาที ก่อนสิ้นใจลงในเวลาต่อมา ทีมแพทย์ไม่สามารถยื้อชีวิตได้

Advertisements

เมื่อโรงพยาบาลสัตว์เชียงใหม่เอกซเรย์พบวัตถุปริศนาค้างอยู่บริเวณหลอดลม กระบวนการหลังจากนี้ ทางทีมแพทย์จีนจะเดินทางมาร่วมผ่าพิสูจน์กับสัตวแพทย์ขององค์การสวนสัตว์เชียงใหม่

ช่วงช่วง
ภาพจากสวนสัตว์เชียงใหม่

ทั้งนี้ ช่วงช่วงจัดเป็นแพนด้า ประเภทแพนด้ายักษ์ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 20 ปี เท่าที่บันทึกมา แพนด้ายักษ์ที่อายุยืนที่สุดในโลก คือ เจี๋ย เจี๋ย แพนด้ายักษ์ ใน ‘โอเชียน พาร์ค’ ในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ของประเทศจีน เสียชีวิตลงในวัย 38 ปี (16 ตุลาคม 2559)

ลักษณะทั่วไปของแพนด้ายักษ์

แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร ถึงแม้จะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง ร้อยละ 99 ของอาหารที่แพนด้ากินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ากินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ด้วย

ไผ่เป็นพืชที่ให้พลังงานกิโลแคลเลอรี่ต่ำมาก ทำให้แพนด้ายักษ์ใช้เวลากินไผ่นานถึงวันละ 16 ชั่วโมง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัม และขับถ่ายมากถึงวันละ 40 ครั้ง จากพฤติกรรมกินไผ่อันยาวนานนี้เอง เป็นสาเหตุที่ทำให้แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์ที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ยาก 1 ปี แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะมีอาการติดสัดเพียง 1-2 วันเท่านั้น และออกลูกรวมถึงเลี้ยงลูกให้รอดจนเติบโตในธรรมชาติได้ยากมาก ลูกแพนด้ายักษ์ที่เพิ่งเกิด ตาจะยังไม่ลืมและไม่มีขน และมีน้ำหนักน้อยกว่าแพนด้ายักษ์ตัวเต็มวัยถึง 900 เท่า แต่ทว่ากลับมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวจาก 1.8 กิโลกรัม เป็น 89 กิโลกรัม ได้ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว

แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า

Advertisements

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button