อุทาหรณ์ สาวปวดหัวซื้อยากินเอง สุดท้ายช็อกโรคหัวใจดับ
อุทาหรณ์ สาวปวดหัวซื้อยากินเองนานเป็นปี สุดท้ายช็อกด้วยอาการโรคหัวใจเสียชีวิต
ยา จุดประสงค์คือการรักษาโรค แต่ต้องอยู่ในความพอดีและใช้อย่างระมัดระวัง เพราะตัวยาอาจมีผลข้างเคียงที่เราไม่สามารถรู้ได้ อย่างเช่นกรณีชวนเศร้าของน.ส.จิดาภา หรือน้องแนน พรงาม อายุ 25 ปี ที่พี่สาวโพสต์เล่าเหตุการณ์ไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า น้องสาวของเธอชอบปวดหัวบ่อยๆ เหมือนไมเกรน จึงซื้อยามากินเองและกินติดต่อกันนานนับปี ช่วงหลังป่วยบ่อย ปวดเนื่อปวดตัว เป็นผื่นแพ้
กระทั่งล่าสุดวันศุกร์ที่ 2 ส.ค น้องปวดหัว ปวดตัว อาเจียน จนเป็นลม จึงได้รีบส่งโรงพยาบาล หมอบอกว่าความดันต่ำ และที่ปวดหัวอาจเป็นผลมาจากยาที่กินเข้าไป เมื่อกลับมาบ้านก็แน่นหน้าอก เวียนหัว จะอาเจียนตลอดเวลา เป็นอยู่เช่นนี้จนกระทั่งคืนวันที่ 3 ส.ค. ต้องรีบกลับไปหาหมออีกครั้ง
เช้าวันที่ 4 ส.ค. อาการยังไม่ดีขึ้น แต่พูดคุยได้ปกติ กระทั่งช่วงเย็น หลังจากส่งตัวไปโรงพยาบาลชลบุรี น้องอาการทรุดลง ช็อกหมดสติ ดันต่ำมาก ชีพขจรเต้นช้าลงเรื่อยๆ ท้ายที่สุดหมอก็ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้
พี่สาวระบุว่า แพทย์บอกว่าน้องได้ยาแรงมากจนร่างกายรับไม่ไหว จนเกิดภาวะช๊อค ที่น่าตกใจคือ แพทย์โรงพยาบาลพนัสที่เข้ารักษาเมื่อวันที่ 4 ส.ค. แจ้งว่าน้องอาจเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ หัวใจสูบฉีดเลือดไม่พอค่าหัวใจคนปกติยุที่0-14 แต่น้องสูงถึง 9931
ด้านเพจดรามา Drama-addict ซึ่งเป็นอดีตแพทย์ ได้แสดงความเห็นตัวยาจากภาพที่ญาติผู้เสียชีวิตลงไว้ ระบุว่า
“เท่าที่เห็น มียาแก้แพ้สองตัว ยาแก้ปวดสามตัว จริงๆยาแก้ปวดสามตัวนี้เป็นตัวยอดนิยม ค่อนข้างปลอดภัย ใช้กันแพร่หลายทั่วไป มี Ibuprofen , ponstan , celecoxib
ปัญหาคือ มันกลุ่ม nsaids เหมือนกัน ไม่ควรใช้ควบกัน เพราะการใช้ยากลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อนมันจะเพิ่มความเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้มากขึ้น ที่พบบ่อยคือ เลือดออกในกระเพาะอาหาร ไตวาย เพิ่มความเสี่ยงโรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจในกลุ่มเสี่ยง”
https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.10151331013638291/10157732062328291/?type=3&__xts__%5B0%5D=68.ARA5nfwIsfsy17V-bal9d0iTAOYj6aee64Jfkcf4knoY_1RRDs7OTQuZeeAC_VooyLQFHUPYiENoWNO-WN3ADjfcn6HBZqTT5qkKgmLcXlRtcA8XpzzmkNeWzxuhn0zZofnlIvq4n04RrM4z5nhOSXx_BYVGXsSn0auZOkYkD4ZRniC-TeL406mUx3qZDX_J7RGxe9F7-Ror4ZDysW-E-TYIUj5PfJM8aMI7b3cn2pnHnRwl5EiFJe7-oq-TSjG0jHctp3mKMwsnIFhqf9JsNgxA193ZXidjswe0Sni4unm-Dg4ygAvnf7CSwy0T-addKyF3ZaaYzTpvaH6LqEfr&__tn__=-R
ดังนั้นทางที่ดีที่สุด การเลือกรับประทานยา โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์รุนแรง ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์และเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย เพราะคนเราสามารถต้านทายาได้ไม่เท่ากัน และเกิดผลข้างเคียงต่อตัวยาไม่เหมือนกัน