ข่าว

ทนายไพศาล ถามดี ทำไม ‘น้องแพน’ ไม่เขียนพินัยกรรมให้พ่อ – ตามกฎหมายมีสิทธิได้เงินไหม

ศึกมรดก 4.8 ล้าน “น้องแพน” ป่วยมะเร็ง พ่อแท้ๆ ยื่นฟ้องขอเอาเงินบริจาค ทั้งที่ไม่มีชื่อในพินัยกรรม เป็นไปได้ไหม ยกตามตัวบทกฎหมาย มีสิทธิได้เงินไหม

กรณีการเสียชีวิตของ “น้องแพน” หญิงสาววัย 32 ปีจากจังหวัดระยอง ผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ที่ได้รับความช่วยเหลือจากประชาชนทั่วประเทศผ่านการบริจาคเงินเพื่อรักษาตัว รวมเป็นเงินกว่า 7.7 ล้านบาท แต่หลังจากการเสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน 2567 ได้เกิดข้อพิพาท จู่ๆ พ่อมาอ้างสิทธิขอเงินบริจาคที่เหลืออยู่ประมาณ 4.8 ล้านบาท

ก่อนเสียชีวิต น้องแพนได้ทำพินัยกรรม มีพยานรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระบุให้แบ่งเงินบริจาคที่เหลือให้กับยายวัย 80 ปี น้า 47 ปี และหลานชาย ไม่ได้ระบุชื่อพ่อแท้ๆ ไว้ในพินัยกรรม

หลังน้องแพนเสียชีวิต มีการตกลงร่วมกันระหว่างยาย น้า และพ่อของน้องแพนว่า จะแบ่งเงินบริจาคตามสัดส่วน ยายได้ 1.2 ล้าน น้าได้ 1.5 ล้าน พ่อได้ 1.6 ล้าน และหลานอีก 5 แสน ซึ่งมีคลิปวิดีโอและเอกสารยืนยัน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นพยาน แต่พ่อน้องแพนกลับยื่นฟ้องศาลเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดกและขอครอบครองเงินบริจาคทั้งหมด

ทนายความของฝ่ายยายกับน้าได้ยื่นคัดค้านโดยอ้างพินัยกรรมที่น้องแพนได้เขียนไว้ ระบุชัดเจนถึงความประสงค์ในการแบ่งเงินบริจาค ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล

มีรายงานว่าพ่อไม่ได้อยู่ดูแลน้องแพนมานานแล้ว พ่ออาจไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูน้องแพนด้วย ช่วงที่น้องแพนป่วยหนัก มีแค่ยายกับน้า รวมถึงชาวบ้านคนอื่นที่ช่วยกันดูแล

ยายเผยในรายการโหนกระแสว่า ตอนน้องแพนป่วย มีแค่ตนกับน้าดูแล โดยเฉพาะในช่วงที่น้องแพนต้องกินข้าวพร้อมถือกระจกเพื่อดูมุมปากตัวเอง ไม่เช่นนั้นจะกินไม่ได้ ไม่เคยทอดทิ้ง ขณะที่พ่อของน้องแพนแทบไม่เคยมาเยี่ยม แต่กลับมาโผล่ตอนมีเงินบริจาค เข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน

ภายหลังน้องแพนเสียชีวิต มีการตกลงร่วมกันระหว่างยาย น้า และพ่อของน้องแพนว่า จะแบ่งเงินบริจาคตามสัดส่วน ยายได้ 1.2 ล้าน น้าได้ 1.5 ล้าน พ่อได้ 1.6 ล้าน และหลานอีก 5 แสน ซึ่งมีคลิปวิดีโอและเอกสารยืนยัน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นพยาน

โหนกระแส เปิดข้อกฎหมาย พ่อน้องแพน มีสิทธิได้เงินบริจาคไหม

รายการ “โหนกระแส” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ดำเนินรายการโดย นายกรรชัย กำเนิดพลอย มีตอนหนึ่งพูดถึงข้อกฎหมายไว้ว่า นายมนต์ชัย จงไกรรัตนกุล หรือ ทนายแก้ว กล่าวในรายการว่า พินัยกรรมฉบับดังกล่าวมีพยานร่วมลงนาม 2 คน ซึ่งไม่มีส่วนได้เสีย จึงมีผลตามกฎหมายสมบูรณ์ 100% ไม่สามารถแก้ไขภายหลังได้ แม้จะมีเอกสารฉบับที่ 2 ซึ่งจัดทำหลังจากน้องแพนเสียชีวิต เพื่อแบ่งเงินบางส่วนให้พ่อกับน้องชาย แต่ถือว่าเป็นเพียง “ข้อตกลงภายในครอบครัว” ไม่ใช่พินัยกรรม

นายไพศาล เรืองฤทธิ์ ทนายความที่เข้ามาดูแลฝ่ายครอบครัวน้องแพน ระบุว่า หากฝ่ายพ่อยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก ฝ่ายตนก็จะใช้พินัยกรรมดังกล่าวยื่นคัดค้าน เพราะผู้ตายมีเจตนารมณ์ชัดเจน ระบุชื่อผู้ใหญ่บ้านกับน้าสาวให้เป็นผู้ดูแลจัดการเงินทั้งหมด

ประเด็นสำคัญที่ถูกตั้งคำถามในรายการคือ สถานะของพ่อน้องแพนว่ามีสิทธิรับมรดกหรือไม่

ทนายแก้วอธิบายว่า หากพ่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาน้องแพน ไม่มีเอกสารรับรองบุตรตามกฎหมาย พ่อจะถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิในมรดกแม้จะเป็นพ่อโดยสายเลือด

ด้านนางสมจิตร น้าสาว และนางแจ๋ว ยายของน้องแพน เปิดเผยว่า ระหว่างที่น้องแพนป่วย พ่ออยู่ร่วมบ้านบ้างไม่อยู่บ้าง ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อได้รับเงินบริจาค น้องแพนได้นำบางส่วนให้พ่อไปซื้อที่ดินกับบ้านที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งถือเป็นการให้โดยเสน่หา ไม่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม

ในช่วงท้ายรายการ นายไพศาลเตือนว่า หากมีการเบิกถอนเงินจากบัญชีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม อาจเข้าข่ายลักทรัพย์ และยืนยันจะดำเนินการทางกฎหมายเต็มที่หากมีการฟ้องร้องจากฝ่ายพ่อ

สำหรับกรณีนี้ สาระสำคัญอยู่ที่เจตนารมณ์ของน้องแพนที่ระบุไว้ชัดในพินัยกรรม โดยให้ผู้ใหญ่บ้านและน้าสาวเป็นผู้จัดการมรดกและแบ่งเงินให้เฉพาะบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้น ฝ่ายพ่อหรือญาติคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในพินัยกรรม ไม่มีสิทธิ์อ้างว่าตนมีสิทธิรับมรดก เว้นแต่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีพินัยกรรมครอบคลุมทรัพย์ส่วนนั้น

ด้านทนายไพศาล ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กคาดถึงสาเหตุน้องแพนไม่ได้ยกอะไรให้พ่อไว้ว่า

“ทำไมน้องแพนถึงทำพินัยกรรม มอบให้ ยาย น้า หลาน ทำไมไม่มีชื่อพ่อ

อาจเป็นเพราะน้องคิดว่า น้องให้เงินพ่อซื้อที่ดินและสร้างบ้าน หรือได้เงินจำนวนหนึ่งไปแล้ว ส่วนที่เหลือ

จึงมีชื่อในพินัยกรรมเพียง 3 คน #แค่สงสัย”

ทำไมน้องแพนถึงทำพินัยกรรม มอบให้ ยาย น้า หลาน ทำไมไม่มีชื่อพ่อ

ล่าสุด ศาลจังหวัดระยองมีคำสั่งอายัดเงินบริจาค 4.8 ล้านบาทไว้ชั่วคราว นัดให้ทุกฝ่ายเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยร่วมกันในวันที่ 16 มิถุนายน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx