สุขภาพและการแพทย์

หมอเจด แนะ 5 วิธี ลดอาการกรดไหลย้อนเรื้อรัง ไม่หายขาด ทำตามนี้

หมอเจด แนะนำ วิธีลดอาการกรดไหลย้อนเรื้อรัง ไม่หายขาด เพียง 5 วิธีง่าย ๆ ทำได้ด้วยตนเอง

นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ ‘หมอเจด’ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ออกมาอัปเดตความรู้เรื่องสุขภาพผ่านเฟซบุ๊ก หมอเจด เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง ‘กรดไหลย้อน’ ระบุว่า ปัจจุบันโรคกรดไหลย้อนกลายเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกช่วงอายุ หลายคนคิดว่าเป็นแค่ความรู้สึกแสบหน้าอกหรือจุกแน่น แต่ความจริงแล้วอันตรายมากกว่าที่คิด

Advertisements

การเป็นกรดไหลย้อน หากไม่ได้รับการดูแลหรือปล่อยไว้นานๆ อาจส่งผลเสียรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่การใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนอยู่ตลอด พฤติกรรมที่ว่าถ้าแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและอาการของกรดไหลย้อนได้ หมดเจดแนะนำวิธีการหายจากอาการกรดไหลย้อน เพียง 5 ข้อง่าย ๆ ดังนี้

เปิด 5 วิธี ลดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

1. อย่ากินเยอะเกินไป

สำหรับนักกินตัวยง เวลาไปบุฟเฟ่ต์อาจจะกินให้คุ้ม บางครั้งก็ไม่ได้หิวแต่อดใจไม่ได้ เป็นสาเหตุหลักของอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากการทานมากเกินไป นอกจากจะทำให้อิ่มจุก ยังทำให้กระเพาะต้องทำงานหนักเกินไปจนกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาได้

หากต้องการรักษาหรือลดอาการกรดไหลย้อน ให้ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง กินพออิ่มและเคี้ยวให้ละเอียดจะช่วยให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป และช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น

Advertisements

2. ทานเสร็จอย่าพึ่งนอน

ถ้าเพิ่งทานอาหารอิ่มอย่านอนโดยทันที เพราะกระเพาะยังย่อยไม่เสร็จ ทำให้อาหารที่ยังค้างอยู่ในกระเพาะไปกดทับและทำให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ง่าย

ดังนั้นหลังจากทานข้าวเสร็จ ลองลุกขึ้นเดินเล่นหรือทำกิจกรรมเบา ๆ ประมาณ 15-20 นาที เพื่อช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะมื้อเย็นหรือมื้อดึกให้ลดปริมาณอาหารลงหน่อย และเว้นระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน

3. ปรับการนอนหมอนสูงหน่อย ช่วยได้เยอะ

หมอเจด เผยว่า บางคนอาจจะไม่รู้ว่าการนอนหมอนสูงช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้ เพราะเมื่อหัวเราสูงขึ้นนิดนึงจะช่วยให้กรดในกระเพาะไม่ไหลย้อนกลับขึ้นมาง่าย ๆ ลองใช้หมอนที่ยกศีรษะให้สูงขึ้นหรือหมอนลิ่มเพื่อการนอนที่สบายและป้องกันกรดไหลย้อน ถ้าใครเคยนอนแล้วรู้สึกคอไม่สบาย สามารถปรับความสูงของหมอนให้น้อยลง แต่ควรยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัว

4. เลี่ยงอาหารที่กระตุ้นกรด

นอกจาก 3 วิธีข้างต้นแล้ว หลายคนอาจไม่ทราบว่า อาหารบางประเภทสามารถกระตุ้นกรดไหลย้อนได้ เช่น อาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรืออาหารที่มีแก๊สเยอะ ๆ ได้แก่ พริก กระเทียม และหม่าล่า หากเป็นไปได้ลองเลี่ยงอาหารพวกนี้หรือทานให้น้อยลง

5. แอลกอฮอล์และบุหรี่

ส่วนวิธีสุดท้าย คือ การลดแอลกอฮอล์และบุหรี่ เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารทำงานแย่ลง ทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาง่ายขึ้น ส่วนบุหรี่ก็ทำให้เกิดกรดไหลย้อนโดยตรงเช่นกัน เพราะนิโคตินในบุหรี่จะลดการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดเช่นเดียวกันทำให้กรดสามารถย้อนกลับขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตาม โทษของการดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และบุหรี่ก็ยังทำลายเนื้อเยื่อในกระเพาะไปเรื่อย ๆ ยิ่งดื่มหรือสูบเยอะ ระบบการย่อยอาหารก็จะแย่ลง ทำให้โอกาสเกิดกรดไหลย้อนบ่อยขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดปัญหากระเพาะอาหารอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

หมอเจด แนะนำว่า ถ้าอยากหายจากกรดไหลย้อน แนะนำให้ลดหรือเลิกทั้งแอลกอฮอล์และบุหรี่ได้จะดีที่สุด อาจจะเริ่มจากลดปริมาณให้น้อยลง และถ้าสามารถหยุดได้จะช่วยให้สุขภาพกระเพาะและการย่อยอาหารดีขึ้น เพราะร่างกายจะได้ฟื้นฟูจากการโดนทำลายจากสารเหล่านี้ด้วย การเลี่ยงสองสิ่งนี้จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อน และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกได้แน่นอน

นายแพทย์ เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า สำหรับใครที่อยากหายจากอาการกรดไหลย้อนลองปรับพฤติกรรม 4 – 8 สัปดาห์ ควบคู่กับการทานยา ไม่เกิน 2 เดือนจะดีขึ้น และลองค่อย ๆ ลดยาลง แล้วอาการดีขึ้นก็คือหายแล้ว การหายคือการเอายาออก ยาไม่ได้มีไว้กินตลอดชีวิต

ทั้งนี้ กรดไหลย้อน โรคกระเพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยได้ ทำให้อาการดีขึ้นและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำใหม่ บางคนกินยาแล้วดีขึ้นแต่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมยังทำเหมือนเดิมยังไงก็ไม่มีทางหายขาดและกลับมาเป็นซ้ำอีก หรือบางกลุ่มที่เป็นนาน ๆ กินยาแล้วก็ไม่ดีขึ้นมีอาการ 3-6 เดือน อาจจะต้องไปส่องกล้องและรักษาโดยการผ่าตัด

ข้อมูลจาก : หมดเจด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button