ข่าวอาชญากรรม

เบิร์ดวันว่างๆ ร้องไห้ขอโทษแม่แบงค์ ปัดจ้างดื่ม วอนสังคมอย่าหากินกับคนตาย

เบิร์ด วันว่างๆ ร้องไห้ยืนขอโทษข้างแม่แบงค์เลสเตอร์ ที่เดินทางมารับศพลูกชาย รับผิดเป็นคนชวนมางานเลี้ยงสลด แต่ยันคนตายอยากดื่มเองแลกเงินปัดทำคอนเทนต์ วอนสังคมอย่าเอาคนตายมาหากิน

จากกรณีที่ นางวนิดา อายุ 51 ปี แม่ของนายธนาคารหรือแบงค์ เลสเตอร์ เดินทางไปติดต่อรับศพลูกชายที่นิติเวชโรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี วานนี้ (27 ธ.ค.)ทันทีที่เจ้าหน้าที่นำร่างของออกมาจากห้องตรวจพิสูจน์ มารดาคนตายก็วิ่งเข้าไปกอดเเละหอมแก้มร่างไร้วิญญาณทันที

Advertisements

ในระหว่างนั้น เอ็ม เอกชาติ พร้อมคุณแม่ เเละนายธีระวัฒน์ ศรีรอด หรือ “เบิร์ดวันว่างว่าง” ได้เดินทางมาแสดงความเสียใจกับแม่ของนายแบงค์ ที่เดินทางมารับศพ โดยทั้งนายเอ็มและนายเบิร์ด ต่างออกอาการร้องไห้เสียใจหนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางช่วงมีการยืนร้องไห้กอดแม่ผู้ตายต่อหน้าวงล้อมสื่อมวลชน

โดยนายธีระวัฒน์หรือ “เบิร์ด” กล่าวขณะยืนแสดงสีหน้าด้วยความโศกเศร้า โดยเจ้าตัวยอมรับว่าเป็นฝ่ายผิดเองที่ดูแลแบงค์ไม่ดี พอแม่คนตายได้ยินจึงสวนกลับว่า “ลูกสติไม่ดี” ก่อนตำหนิเบิร์ดที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่าแล้วไม่ให้ปรามจนเกิดเรื่องสลด

เบิร์ดวันว่างๆ ร้องไห้ ข้างแม่แบงค์เลสเตอร์
แฟ้มภาพ

จากนั้น เบิร์ดอ้างต่อว่าแบงค์อยากมางานเลี้ยงเองในคืนก่อนเกิดเหตุ เพราะแบงค์รักพี่เอ็ม (เอกชาติ) ลูกชายเจ้าของร้านที่เกิดเหตุ เลยชักชวนกันมา และแบงค์อยากเอนเตอร์เทนคนในงานเลี้ยง พอกินเหล้าเอ็มเลยให้เงิน ส่วนเรื่องว่าจ้างให้ตัดไปเลย ไม่มีอยู่แล้ว ก่อนจะกล่าววิงวอนผ่านสื่อไปถึงสังคม ไม่ใช่เอาแต่ยอดไลก์ยอดแชร์ เอาแต่เหรียญ อย่าหากินกับคนตาย ตนพูดได้เท่านี้ก่อนจะยกมือไหว้ขอบคุณสื่อ

ทั้งนี้รายงานจากสำนักข่าวไทย จากการตรวจสอบความคืบหน้าทางคดีในเบื้องต้น เริ่มจากการทำสำนวนคดีชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายอาญาก่อน เพื่อให้ทราบสาเหตุแห่งการตายว่าเป็นการตายผิดธรรมชาติหรือตามธรรมชาติซึ่งจะต้องมีการตรวจพิสูจน์โดยแพทย์นิติเวช ขณะนี้ร่างอยู่ระหว่างการผ่าพิสูจน์ ส่วนผลจะเป็นอย่างไรยังไม่ทราบรายละเอียด

Advertisements

อย่างไรก็ดีการจะชี้ว่าใครกระทำผิดหรือไม่ต้องมีหลักฐานหลายอย่าง โดยพล.ต.อ.นิรันดร เหลื่อมศรี รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ฝ่ายกฎหมาย) ระบุชัดเจนตอนน้ยังไม่สามารถฟันธงได้เนื่องจากมีรายละเอียดจำนวนมาก ซึ่งคดีนี้อาจจะเทียบเคียงคดีในอดีต เช่น คดีลัลลาเบล ที่อาจจะมีพฤติการณ์ใกล้เคียงกัน คือ มีการชักชวนให้ดื่มสุราในงานปาร์ตี้ ย้ำต้องทราบสาเหตุการเสียชีวิตก่อนอย่าเพิ่งกล่าวหาบุคคลใดเพราะเป็นการชี้นำสังคม แม้สังคมจะเชื่อแล้วก็ตามว่ามีการว่าจ้างแล้วชี้ว่าบุคคลนั้นต้องผิดหรือต้องถูก ยืนยันว่าตำรวจทำงานไม่ล่าช้า.

แฟ้มภาพ
แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button