สุขภาพและการแพทย์

หมอเพจดังเฉลย การนวดทำให้ตายได้ไหม โรคไหนห้ามนวดเด็ดขาด

ไขสงสัย การนวดร่างกายทำให้คนตายได้หรือไม่? แม้การนวดจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจแถมยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตอีกด้วย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถนวดตัวได้ เพราะหากทำผิดหลักก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ด้วยเช่นกัน

นวดดี ๆ ผ่อนคลายสบายใจ แต่ถ้านวดแรง ๆ ผิดวิธี อาจทำให้ร่างกายได้รับอาการบาดเจ็บได้ หรือ อาจถึงแก่ความตาย? ล่าสุด เพจ Drama-addict เตือนสายนวด เช็กให้ดีร่างกายเราเข้าเกณฑ์ห้ามนวดรึเปล่า เพราะในบางครั้งผู้ถูกนวดอาจมีภาวะของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือด หรือระบบประสาทในบริเวณไขสันหลัง ที่อาจทำให้มีอาการแย่ลงหลังจากถูกนวดอย่างผิดวิธี ซึ่งโรคที่ควรหลีกเลี่ยงการนวด ได้แก่

Advertisements

1. โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อ

กรณีที่ร่างกายถูกกดหรือดัดแรง ๆ อาจส่งผลให้เพิ่มแรงกดทับต่อเส้นประสาท ทำให้อาการปวดและอ่อนแรงแย่งลง โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc)

ทั้งนี้ การนวดที่รุนแรงกับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) อาจเสี่ยงทำให้กระดูกหักหรือแตกได้ด้วยเช่นกัน ส่วนผู้ที่เป็นโรคข้อต่อกระดูกคอหลวม (C1/C2 Instability) หรือโรคหินปูนพอกเส้นเอ็น (Ossified Posterior Longitudinal Ligament: OPLL) ที่เป็นภาวะไม่แสดงอาการ ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะไขสันหลังถูกกดทับ

สำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังติดเชื้อ (Spinal Infection) หรือก็คือ การติดเชื้อวัณโรคในกระดูกสันหลัง ไม่ควรนวดด้วยเช่นกัน

ข้อควรปฏิบัติในการนวดอย่างปลอดภัย

2. โรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด

ในส่วนของผู้ป่วยที่มีภาวะการตีบของหลอดเลือดคอ (Carotid Artery Stenosis) หากสัมผัสแรงเกินไป อาจนำไปสู่การ ตีบตันหรือฉีกขาด ส่งผลให้สมองขาดเลือด หรือที่เรียกว่าสมองขาดเลือด (Stroke) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่พรากการเคลื่อนไหวและชีวิตของผู้คนมานับไม่ถ้วน

Advertisements

นอกจากนี้ การนวดโดยไม่ได้ระวังในบริเวณที่มีลิ่มเลือดหรือคราบไขมันสะสมในผนังหลอดเลือด (Plaque) หรือผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด หรือสมอง (Venous Thromboembolsim, VTE) อาจทำให้เศษลิ่มเลือดหลุดลอยไปอุดกั้นหลอดเลือดสำคัญ เช่น หลอดเลือดสมองหรือหลอดเลือดปอด ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจนำไปสู่ความตายโดยไม่ทันตั้งตัว

3. โรคที่เกี่ยวข้องกับการกดทับของระบบประสาทส่วนคอ

เส้นประสาทและไขสันหลัง คือศูนย์กลางของการสั่งการที่ทำให้เราเคลื่อนไหวและสัมผัสได้ การกดทับที่ผิดพลาด เช่น ภาวะ กดทับรากประสาทส่วนคอ (Cervical Radiculopathy) หรือการกดทับไขสันหลัง (Cervical Myelopathy) อาจทำให้เกิดอาการปวดร้าว ชา อ่อนแรง และในกรณีรุนแรง อาจสูญเสียการควบคุมการขับถ่ายหรือการเคลื่อนไหวอย่างถาวร

สรุปการนวดทำให้เสียชีวิตได้ไหม

สัญญาณเตือน งดการนวดทันที

1. มีอาการปวดเฉียบพลันหรือรุนแรงบริเวณคอหรือหลัง

2. มีอาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณแขนหรือขา ใช้งานมือได้ไม่ถนัด เดินลำบาก

3. สูญเสียการควบคุมการขับถ่าย

4. อาการเวียนศีรษะ อาเจียน เห็นภาพซ้อน ปากเบี้ยวหน้าเบี้ยว หรือหมดสติหลังจากการนวด

โรคไหนห้ามนวดตัวบ้าง
ภาพจาก : Drama-addict

ข้อควรปฏิบัติในการนวดอย่างปลอดภัย

1. เลือกรับการนวดผู้เชี่ยวชาญ

  • ควรรับบริการนวดจากผู้ที่ได้รับการรับรองและมีประสบการณ์

2. แจ้งประวัติสุขภาพ

  • หากมีโรคประจำตัวหรืออาการผิดปกติ ควรแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบก่อนเริ่มการนวด

3. หลีกเลี่ยงการนวดรุนแรง หรือมีการสะบัดอย่างรวดเร็ว

  •  โดยเฉพาะในบริเวณสำคัญ เช่น คอ ที่มีหลอดเลือดหรือเส้นประสาทไขสันหลังอยู่

4. ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

  • หากมีภาวะสุขภาพที่อาจเสี่ยง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือภาวะการตั้งครรภ์

5. หากภายหลังการนวดมีอาการผิดปกติดังที่ได้กล่าวไป

  • ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันที

อันตรายจากการนวด

สรุปการนวดทำให้เสียชีวิตได้ไหม?

การนวดที่ดำเนินการอย่างเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญนั้นมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย แต่ในบางกรณี การนวดที่ขาดความระมัดระวังหรือดำเนินการโดยบุคคลที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้รับบริการมีโรคประจำตัวหรือภาวะเสี่ยงอยู่ก่อน เช่น การกดทับเส้นประสาท การฉีกขาดของหลอดเลือด หรือภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

การเสียชีวิตจากการนวด แม้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงแฝงอยู่ เช่น โรคทางระบบประสาทหรือหลอดเลือด หากมีอาการผิดปกติหลังการนวด เช่น ชา อ่อนแรง หรือเวียนศีรษะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต การตัดสินใจเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีใบรับรองและการแจ้งประวัติสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การนวดเป็นการบำบัดที่ปลอดภัยและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสุขภาพมากกว่าผลเสียที่คาดไม่ถึง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลโดย : อนุสาขากระดูกสันหลัง ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button