ข่าว

เปิดพฤติการณ์ ดาว พี่เมียทนายตั้ม สมคบฟอกเงิน-ฉ้อโก้ง เจ๊อ้อย 39 ล้าน

ผ่าไทม์ไลน์ “ดาว” พี่สาวภรรยาทนายตั้ม ข้อหาร่วมกันฟอกเงิน-ฉ้อโกง มาดามอ้อย 39 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ชี้ มีพฤติการณ์ต้องสงสัยชัดเจน

อัปเดตความคืบหน้ากรณี คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ควบคุมตัว น.ส.ปิณฑิรา การวัลย์ หรือ “ดาว” พี่สาวภรรยาทนายตั้ม อายุ 43 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ในความผิดฐาน ร่วมกันฟอกเงิน และสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปฯ มายื่นคำร้องฝากขังครั้งเเรกต่อศาลอาญาเป็นเวลา 12 วัน

Advertisements

พฤติการณ์แห่งคดีคือ ก่อนเกิดเหตุ นางสาวจตุพร อุบลเลิศ หรือ เจ๊อ้อย ผู้เสียหาย ได้ว่าจ้าง นายษิทรา เบี้ยบังเกิด ให้เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ต่อมานายษิทราได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้น เป็นเหตุให้ผู้เสียหาย หลงเชื่อส่งมอบเงินให้กับนายษิทรา หลายเรื่องหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระกัน ดังนี้

1. ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ นายษิทรา ได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ลงทุนขายสลากกินแบ่งรัฐบาลทางออนไลน์ แต่อ้างว่าจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าจ้างเขียนโปรแกรมและระบบก่อน เป็นเงินจำนวนระหว่าง 2 ล้านยูโร พร้อมกับได้นำสัญญาว่าจ้างมาให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้โอนเงินค่าจ้างดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของนายษัทรา จำนวน 71,067,764 บาท

2. ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายได้มอบหมายให้นายษิทราหาชื้อรถยนต์ ยี่ห้อเบนซ์ รุ่นจี 400 จากนั้นนายษิทราได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสามารถหาซื้อรถยนต์ยี่ห้อและรุ่นดังกล่าวได้แล้วจากบริษัท 999 อิมพอร์ต จำกัด ในราคา 12,900,000 บาท และมีค่าติดฟิล์มรถยนต์ จำนวน 30,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้ว รถยนต์คันดังกล่าวมีราคาเพียง 11,400,000 บาท โดยไม่มีราคาติดฟิล์ม ผู้เสียหายหลงเชื่อได้โอนเงินชำระค่ารถยนต์คันดังกล่าว ไปเข้าบัญชีเงินธนาคารของนายษิทรา ทำให้นายษิทรา ได้ไปซึ่งเงินค่าส่วนต่างราคารถยนต์ และค่าฟิล์มรถยนต์ รวมเป็นเงินจำนวน 1,530,000 บาท

ภาพจาก CSI LA

3. ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ นายษิทรา ได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า นายษิทรา ได้ติดต่อว่าจ้างบริษัท ปีเตอร์ คอนสตรัคชั้น 1987 จำกัด เป็นผู้เขียนแบบก่อสร้างโรงแรม ดิแองเจิ้ล ที่ผู้เสียหายจะก่อสร้าง โดยนายษิทราอ้างว่ามีค่าจ้างเขียนแบบโรงแรม เป็นเงินจำนวน 9 ล้านบาท ทั้งที่ความจริงแล้วนายษิทราได้ไปว่าจ้างบริษัท กริต อาร์คิเทคท์ จำกัด ให้เขียนแบบโรงแรมดังกล่าวให้กับผู้เสียหายแล้ว ในราคา 3 ล้าน 5 เเสนบาท

ผู้เสียหายหลงเชื่อได้โอนเงินชำระค่าเขียนแบบดังกล่าว จำนวน 9 ล้านบาท ไปเข้าบัญชีธนาคารของนางพจมาน บัวลาส กรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท ปีเตอร์ฯ จากนั้นได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปมอบให้กับนายษิทราทำให้นายษิทรา ได้ไปซึ่งเงินส่วนต่างค่าเขียนแบบโรงแรมดังกล่าว เป็นเงินจำนวน 5 ล้าน 5 เเสนบาท

Advertisements

4. ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ นายษิทรา, นายนุวัฒน์ ยงยุทธ และนางสาวสารินี นุชนารถ ได้ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่านายนุวัฒน์ มีกระเป๋าเงินดิจิทัล สามารถโอนสกุลเงินดิจิทัลนิทคอยน์ได้ ผู้เสียหายจึงให้นายนุวัฒน์ โอนสกุลเงินดิจิทัล บิทคอยน์ให้กับผู้ใช้อินสตาร์แกรมชื่อบัญชี เฉินคุน จากนั้นได้หลอกลวงผู้เสียหายว่านายนุวัฒน์ ได้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลของนางสาวสารินี โอนเงินไปยังบุคคลดังกล่าวแล้วทำให้กระเป๋าเงินดิจิทัลของนางสาวสารินี ถูกระงับการใช้งาน ได้รับความเสียหายคิดเป็นเงิน จำนวน 39 ล้านบาท

โดยได้ร่วมกันส่งภาพถ่ายสำเนาบันทึกประจำวันแจ้งกรณีถูกอายัดเงินดังกล่าวไปให้ผู้เสียหายดูทางแอปพลิเคชั่นไลน์ด้วย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่ากระเป๋าเงินดิจิทัลของนางสาวสารินี ถูกระงับจริง ทั้งที่ความจริงแล้วกระเป๋าเงินสกุลดิจิทัลของนายนุวัฒน์ และนางสาวสารินีไม่ได้ถูกระงับการใช้งานแต่อย่างใด

ผู้เสียหายจึงส่งมอบเงินด้วยการซื้อแคชเชียร์เซ็คธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาขน) สาขาโลตัสปากช่อง สั่งจ่ายเงิน จำนวน 39 ล้านบาท ให้กับนางสาวสารินี แล้วนายนุวัฒน์ กับนางสาวสารินี ได้ร่วมกันนำแคชเชียร์เช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาโลตัสปากช่อง ของนางสาวสารินี จากนั้นนายษิทรานายนุวัฒน์ และนางสาวสารินี ได้ร่วมกันเบิกถอนเงินสด จำนวน 39 ล้านบาทดังกล่าว ออกจากบัญชีธนาคารของนางสาวสารินี

ภาพจาก @CSI LA

พฤติการณ์และการกระทำของนายษิทรากับพวก ถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ ตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปราม ได้ทำการสืบสวนพบว่านายษิทรา กับพวก ได้มีการกระทำต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ดังต่อไปนี้

1. กรณีที่นางสาวจตุพร ได้โอนเงินจำนวน 9 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าว่าจ้างออกแบบการก่อสร้างโรงแรม ไปเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ของนางพจมาน บัวลาศ ตามที่นายษิทรา หลอกลวงดังกล่าว

จากการสืบสวนพบว่าต่อมานางพจมาน และนายเขมวัฒน์ ได้เบิกถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวนำไปมอบให้กับนายษิทรา ตามคำสั่งของนายษิทรา แล้วนายษิทรา ได้แบ่งเงินสดดังกล่าวใส่ของกระดาษ แล้วนำไปมอบให้กับนางสาวปิณฑิรา การวัลย์ ผู้ต้องหา แล้วผู้ต้องหาได้นำเงินสดจำนวน 1 ล้านบาท ที่ได้รับมาดังกล่าว ไปทำธุรกรรมฝากเงินสดเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาเซ็นทรัล ศาลายาของผู้ต้องหา

2. กรณีที่นางสาวจตุพรได้ซื้อแคชเชียร์เช็คธนาคารกรุงศรีอยุธยา สั่งจ่ายเงินจำนวน 39 ล้านบาท ให้กับนางสาวสารินี ตามที่ได้ถูกนายษิทรา นายนุวัฒน์ ยงยุทธ และนางสาวสารินี ร่วมกันหลอกลวงว่ากระเป๋าเงินดิจิตอลถูกระงับ แล้วนายนุวัฒน์ กับนางสาวสารินี ได้นำแคชเชียร์เช็คดังกล่าวฝากเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาโลตัสปากช่อง ของนางสาวสารินี นั้น

จากการสืบสวนพบว่าต่อมานายษิทรา ได้แจ้งให้ผู้ต้องหา นำกระเป๋าเดินทางไปพบนายนุวัฒน์ และนางสาวสารินี ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว เพื่อไปรับเงินสดจำนวนดังกล่าว แล้วผู้ต้องหา ได้แจ้งให้คนขับรถของนายษิทราขับรถยนต์พาผู้ต้องหา พร้อมกับกระเป๋าเดินทางไปที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว เมื่อไปถึงผู้ต้องหาได้สั่งการให้คนขับรถนำกระเป๋าเดินทางไปพบนายนุวัฒน์ ภายในธนาคารกรุงครือยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว

ส่วนผู้ต้องหา ยืนรออยู่บริเวณหน้าธนาคารดังกล่าว โดยนายนุวัฒน์ และนางสาวสารินี ได้เบิกถอนเงินสดจำนวน 39 ล้านบาท ออกจากบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ของนางสาวสารินี แล้วมอบเงินสด จำนวน 20 มัด คิดเป็นเงินรวม 20 ล้านบาท ให้กับคนขับรถเพื่อบรรจุใส่ในกระเป๋าเดินทางดังกล่าว จากนั้นผู้ต้องหาได้สั่งการให้คนขับรถขับรถยนต์พาผู้ต้องหาพร้อมกระเป๋าเดินทางที่บรรจุเงินจำนวนดังกล่าวกลับบ้านพักที่ผู้ต้องหา และนายษิทราพักอาศัยอยู่ด้วยกัน แล้วนำกระเป๋าเดินทางดังกล่าวไปเก็บไว้ภายในบ้านพักบริเวณหน้าบันไดชั้นที่ 2 ของบ้าน

ภาพจาก @sittra.b

พฤติการณ์และการกระทำของนายษิทรา, นายนุวัฒน์, นางสาวสารินี และผู้ต้องหาดังกล่าว จึงเป็นการโอนรับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อน หรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้นเพื่อปกปิดอำพรางลักษณะที่แท้จริง การได้มา แหล่งที่ตั้งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการ กระทำความผิดด้วย

คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคำสั่งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางลงวันที่ 30 ต.ค.2567ได้รวบรวมพยานหลักฐานขออำนานาจศาลอาญาอนุมัติหมายจับ นางสาวปิณฑิรา การิวัลย์ ผู้ต้องหา ตามหมายจับของศาลอาญาลงวันที่ 26 พ.ย.2567 โดยกล่าวหาผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานผิดฐาน”ร่วมกันฟอกเงิน และสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน”

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พ.ย. เวลา 16.00 น. เจ้าพนักงานตำรวจ ได้ทำการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายดังกล่าวได้ที่บริเวณชั้น 9 ของห้างสรรพสินค้าสยามสเคป ถนนพญาโท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 3กองบังคับการปราบปราบปรามดำเนินคดีตามกฎหมาย

การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐาน “ร่วมกันฟอกเงิน และสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน” อันเป็นความผิดตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯมาตรา 3(18), มาตรา5 , 9 วรรคสอง และมาตรา 60 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่ง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับ4) พ.ศ.2556ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83

ภาพจาก @sittra.b

พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว หากแต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากต้องสอบสวนพยานอีก 10ปาก พยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม/ตรวจค้นรอผลการตรวจพิสูจน์ของกลาง รอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือและประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา ในกรณีผู้ต้องหา ขอให้ปล่อยชั่วคราว พนักงานสอบสวนขอคัดค้าน

1. เนื่องจากคดีที่ผู้ต้องหา ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดนี้ มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 10 ปี

2. ผู้ต้องหามีการกระทำต่อทรัพย์สินเป็นเงินที่ได้มาจากการฉ้อโกงผู้เสียหาย จำนวนสูงถึง 39 ล้านบาท ในลักษณะเป็นการโอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปอีก โดยมีเจตนาเพื่อซุกซ่อน หรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อให้ยากต่อการสอบสวนและติดตามทรัพย์สินนั้น

3. ก่อนที่ผู้ต้องหา จะถูกจับกุมตัว มีการเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ ตามคำสั่งของนายษิทราเจตนาเพื่อให้ยากต่อการติดตามตัวและเป็นการทำลายหลักฐานการติดต่อ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่มีอยู่ในโทรศัพท์

4. ผู้ต้องหาเคยให้การในฐานะพยาน อ้างถิ่นที่อยู่ว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2556 เวลา 17.00 น.(วันเกิดเหตุ) ผู้ต้องหาได้ไปรับบุตรของนายษิทรา ที่โรงเรียน โดยมีการนำภาพถ่ายสถานที่จากโทรศัพท์มือถือถือของบุตรนายพิทรา มาอ้างใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบคำให้การ แต่ข้อเท็จจริงจากการสอบสวนได้ความว่าผู้ต้องหาไม่ได้ไปรับบุตรของนายษิทราตามวันเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด

5.จากการตรวจค้นบ้านพักของนายษิทรา ที่ผู้ต้องหาอาศัยอยู่ด้วย พบมีร่องรอยการขนย้ายทรัพย์สินออกจากตู้นิรภัย ซึ่งบุคคลที่รู้รหัสและสามารถเปิดตู้นิรภัยดังกล่าวได้มีเพียงนายษิทรา, นางสาวปทิตตา เบี้ยบังเกิด (ภรรยาของนายษิทรา) และผู้ต้องหาเท่านั้น จึงเชื่อว่าผู้ต้องหานี้มีส่วนรู้เห็นในการขนย้ายทรัพย์สินต่างๆ ออกไปจากตู้นิรภัยด้วย ทำให้ยากต่อการติดตามทรัพย์สิน

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป เชื่อว่าผู้ต้องหาน่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และท้ายคำร้องผู้เสียหายขอคัดค้านการประกันตัวเนื่องจากคดีมีอัตราโทษจำคุกและมูลค่าความเสียหายสูง หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป เกรงว่าจะหลบหนี ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายในคดีพยานสำคัญในคดี

ภาพจาก @sittra.b

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button