หยุดล้างขวดน้ำผิดวิธี แพทย์เตือน สกปรกกว่าส้วม เสี่ยงติดเชื้อ
แพทย์เตือน ขวดน้ำพกพาที่ใช้อยู่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว หากเก็บรักษาและล้างไม่ถูกวิธี เผยอันตรายจาก เชื้อราและสารเหนียวที่น้ำลาย ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ แนะวิธีดูแลรักษาขวดน้ำพกพาที่ถูกต้อง
สถาบันทางการแพทย์ฮุสตัน เมธอดิสต์ (Houston Methodist) ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เผยว่า การใช้ขวดน้ำพกพาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในยุคที่เราพยายามลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก แต่การดูแลทำความสะอาดขวดน้ำ ให้ถูกต้องกลับเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม แบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ อาจสะสมภายในขวดน้ำจนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่อันตราย หากขวดน้ำไม่ได้รับการล้างทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเกิน 5 วัน ซึ่งความเข้มข้นของแบคทีเรียอาจสูงกว่าที่พบในโถส้วมเสียอีก
ทำไม “ขวดน้ำ” ถึงเสี่ยงต่อการสะสมแบคทีเรีย?
จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา เช่น ดร. เอส. เวสลีย์ ลอง ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ด้านจุลชีววิทยาที่ ฮุสตัน เมธอดิสต์ กล่าวว่า ขวดน้ำที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะ เชื้อราและ แบคทีเรีย ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ง่ายในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่อบอุ่น “หากคุณดื่มน้ำจากขวดน้ำ ที่ไม่สะอาด ก็อาจเสี่ยงต่อการป่วยจากเชื้อโรคที่ไม่สามารถมองเห็นได้” ดร. ลองกล่าว
การที่น้ำดื่มถูกเก็บในขวดน้ำพกพา อาจได้รับการปนเปื้อนจากน้ำลาย ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย เมื่อดื่มน้ำจากขวดน้ำ เหล่านี้หลายครั้งโดยไม่ทำความสะอาด อาจทำให้ แบคทีเรีย สะสมในขวดน้ำอย่างรวดเร็ว และเมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง นอกจาก แบคทีเรีย จะเติบโตแล้ว เชื้อราและเชื้อโรคต่าง ๆ ก็สามารถเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีความชื้น
นอกจากนี้ การทิ้งขวดน้ำในที่ที่มีความร้อนสูง เช่น ในรถยนต์ที่จอดกลางแดด ก็จะยิ่งเร่งการเติบโตของเชื้อโรคได้เช่นกัน
คำเตือนจากแพทย์ “น้ำลายไม่สามารถฆ่าเชื้อได้”
หลายคนเชื่อว่า “น้ำลาย” สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่ความจริงคือน้ำลายเองก็มีแบคทีเรีย ในตัวเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า การไม่ล้างขวดน้ำ อย่างถูกต้องหลังการใช้งาน อาจทำให้แบคทีเรีย ที่เราผสมกับน้ำไปนั้นสะสมมากขึ้นจนกลายเป็นอันตรายได้ สำหรับผู้ที่มีโรคปริทันต์ หรือโรคเกี่ยวกับช่องปาก เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือไซนัสอักเสบ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจาก เชื้อแบคทีเรีย ในปากจะสามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น
อันตรายจากสปอร์เชื้อราและไบโอฟิล์มในขวดน้ำ ตามคำอธิบายของเบนจามิน เทิร์นเนอร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยอลาบามาที่เบอร์มิงแฮม เผยว่า เชื้อราสามารถเติบโตและแพร่กระจายผ่านสปอร์ที่ลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งจะเกาะติดกับขวดน้ำที่มีความชื้นและก่อตัวเป็นปื้นสีดำหรือสีเทาขาวได้ แม้ว่าบางชนิดของเชื้อราจะไม่เป็นอันตราย แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจและอาการแพ้ได้
นอกจากนี้ การดื่มจากขวดน้ำที่มีไบโอฟิล์มซึ่งเป็นสารเหนียวที่เชื้อโรคสร้างขึ้นภายในขวดน้ำ ก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเชื้อโรคเหล่านั้นมาจากผู้ที่มีเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือ COVID-19
วิธีการทำความสะอาดขวดน้ำที่ถูกต้อง
การทำความสะอาดขวดน้ำ เป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียต่าง ๆ โดยการล้างขวดน้ำด้วยน้ำร้อนและสบู่ทุกวัน หรือทุกสองสามวันนั้นถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี นอกจากการล้างด้วยน้ำอุ่นและน้ำยาทำความสะอาดแล้ว ควรทำความสะอาดทุกส่วนของขวดน้ำรวมถึงฝาขวดและหลอด (ถ้ามี) เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อาจหลบซ่อนอยู่ในซอกมุมเล็ก ๆ
หากต้องการฆ่าเชื้อโรคอย่างละเอียดมากขึ้น ควรแช่ขวดน้ำในน้ำส้มสายชูผสมน้ำ ในอัตราส่วน 1:3 หรือ 1:4 และล้างออกด้วยน้ำร้อนและสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะ
การทำให้ขวดน้ำแห้งหลังการล้างก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย เพราะความชื้นที่เหลืออยู่ในขวดน้ำสามารถทำให้เชื้อราเติบโตได้ง่ายขึ้น เทิร์นเนอร์ยังเสริมว่า “เชื้อราต้องการออกซิเจน น้ำ และอุณหภูมิที่อบอุ่น ดังนั้นการทำให้ขวดน้ำ แห้งจะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี”
อย่างไรก็ตาม การใช้ขวดน้ำพกพา แบบพกพาถือเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งที่สำคัญคือการดูแลทำความสะอาดขวดน้ำให้ถูกวิธี โดยการล้างขวดน้ำ ทุกครั้งหลังใช้งาน และตากให้แห้งสนิทเพื่อไม่ให้แบคทีเรีย และเชื้อราเติบโต หากเราละเลยการทำความสะอาดขวดน้ำอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่อันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น อย่าลืมดูแลความสะอาดของขวดน้ำ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปกป้องทั้งตัวเราและผู้อื่นจากโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เตือน 5 พฤติกรรม ล้างจานผิดวิธี กินสารพิษไม่รู้ตัว เสี่ยงโรคร้ายเพียบ
- ผลไม้ 5 ชนิด ห้ามกินตอนท้องว่าง เสี่ยงกระเพาะพัง เหมือนยัดหินลงท้อง
- โรคไอกรนคืออะไร? หมอยง แนะวิธีรับมือ ย้ำอย่าตื่นตระหนก เช็กอาการ-กลุ่มเสี่ยง
อ้างอิง: BCM, AARP, Houston Methodist