การเงินเศรษฐกิจ

แชร์ว่อน ลิงก์รับเงินดิจิทัล แอปฯ ทางรัฐ ค้างขั้นตอนที่ 3 4 แก้ไขยังไง

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แจงชัด คลิกลิงก์แก้ไขแอปฯ ทางรัฐ ค้างอยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 เพื่อรับเงินดิจิทัล เป็นข่าวเท็จ ไขข้อสงสัยสถานะในแอปฯ หมายถึงอะไร

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แนะนำวิธีแก้ไขรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ ค้างอยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 โดยให้คลิกลิงก์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็น “ข้อมูลเท็จ”

Advertisements

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ดำเนินการตรวจสอบและชี้แจงว่า เว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาชีพจัดทำขึ้น เพื่อหลอกลวง ขโมยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่ช่องทางให้ข้อมูลจาก สพร. อย่างเป็นทางการ อีกทั้งไม่มีนโยบายส่งหรือคลิกลิงก์ เพื่อแก้ไขแอปฯ ทางรัฐแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถลงทะเบียน เช็กสถานะการรับสิทธิ และรับข่าวสารดิจิทัลวอลเล็ตหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ได้ในแอปพลิเคชันทางรัฐบนโทรศัพท์ หรือสมาร์ทโฟนเท่านั้น ไม่สามารถลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือช่องทางอื่น ๆ

แอปฯ ทางรัฐ ขั้นตอน 3 และ 4 คืออะไร

หากแอปฯ ทางรัฐ ปรากฏหน้าจอสถานะเงินดิจิทัลระบุว่า อยู่ในขั้นตอนที่ 3 หมายถึง ระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ ซึ่งอยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียนกับหน่วยงานของเจ้าของข้อมูลตามหลักเกณฑ์ รวมทั้งเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการ นโยบาย และคณะอนุกรรมการกำกับฯ กำหนด

ส่วนขั้นตอนที่ ขั้นตอนที่ 4 หมายถึง ท่านไม่ได้รับสิทธิ หากระบบทำการประมวลแจ้งข้อมูลว่าข้อใดที่ไม่ตรงกับเงื่อนไข ประชาชนสามารถขอทบทวนสิทธิกับหน่วยงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก่อนกำหนดการบนแอปฯ ทางรัฐอีกครั้ง และขั้นตอนที่ 5 หมายถึงได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

วิธีแก้ไขแอปฯ ทางรัฐ ค้างอยู่ขั้นตอน 3

สำหรับท่านใดที่แอปฯ ทางรัฐค้างอยู่ในขั้นตอนที่ 3 อย่างเพิ่งเป็นกังวลใจไป ยังไม่ต้องแก้ไขหรือกดลิงก์ที่มีการแชร์ในโซเชียล เนื่องจากรัฐบาลกำลังประชุมเพื่อหาข้อสรุปและว่าจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับสิทธิ เงื่อนไขการแจกเงิน และจำนวนเงิน อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนรอฟังแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

Advertisements

ประชาชนที่ต้องการติดต่อข่าวสารจากช่องทางที่เป็นทางการของ สพร. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลการดำเนินงานตามภารกิจที่ถูกต้อง และมีไว้เพื่อตอบข้อสงสัยของประชาชน มีดังนี้

1. เว็บไซต์ DGA >> คลิก

2. เว็บไซต์ ทางรัฐ >> คลิก

3. Line Official DGAThailand>> คลิก

4. เพจ Facebook DGAThailand >> คลิก

5. YouTube DGAThailand >> คลิก

6. TikTok DGAThailand >> คลิก

7. Instagram DGAThailand >> คลิก

8. X DGAThailand >> คลิก

ข้อมูลจาก : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button