เตือน 5 พฤติกรรม ล้างจานผิดวิธี กินสารพิษไม่รู้ตัว เสี่ยงโรคร้ายเพียบ
ภัยเงียบใกล้ตัว รวมพฤติกรรมล้างจานผิดวิธี ทานสารพิษเข้าร่างกายโดยไม่รู้ตัว เสี่ยงเป็นมะเร็งและโรคร้าย แนะนำวิธีเลือกน้ำยาล้างจาน และวิธีล้างจานที่ถูกต้อง
หลายคนอาจไม่เคยนึกมาก่อนว่า กิจวัตรธรรมดาอย่างการล้างจานที่ทำทุกวันอาจกำลังแอบแฝงอันตรายร้ายแรงที่ค่อย ๆ สะสมในร่างกายจนกลายเป็นภัยเงียบ โดยเฉพาะเมื่อเราใช้น้ำยาล้างจานไม่ถูกวิธี
ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร จานชามจะเปื้อนคราบน้ำมัน ไขมัน โปรตีน และกักเก็บแบคทีเรีย ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ลองสังเกตดูสิว่าเวลานำจานที่เปื้อนไปล้างน้ำเปล่า น้ำจะไหลกระจายออกด้านข้าง ไม่สามารถชะล้างคราบสกปรกออกได้หมด ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราจำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างจาน เพราะมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยให้น้ำกับน้ำมันรวมตัวกันและล้างออกได้ง่าย
รวม 5 วิธีล้างจานที่ควรเลิก ปลอดภัย ห่างไกลสารพิษ
การล้างจานไม่ถูกวิธีเปรียบเสมือนการดื่มยาพิษเข้าร่างกายโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ได้รวบรวม 5 พฤติกรรมในการใช้น้ำยาล้างจานที่ควรเปลี่ยนเพื่อปกป้องสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว
1. ไม่เจือจางหรือใช้น้ำยาล้างจานมากเกินไป
หลายคนอาจไม่ทราบว่า พฤติกรรมการใช้น้ำยาล้างจานที่ผิดวิธีกำลังเปิดประตูให้สารพิษแอบแฝงเข้าสู่ร่างกายทีละน้อย เริ่มจากความเข้าใจผิดที่ว่ายิ่งใช้น้ำยาล้างจานเข้มข้นมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสะอาดมากขึ้นเท่านั้น แท้จริงแล้ว การใช้น้ำยาล้างจานโดยไม่เจือจางไม่เพียงแต่สิ้นเปลืองเท่านั้น แต่ยังทำให้สารเคมีตกค้างบนภาชนะในปริมาณมาก และเมื่อเรานำภาชนะเหล่านั้นมาใส่อาหาร สารเคมีก็จะค่อย ๆ ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายของเรา อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยในระยะยาว
สำหรับวิธีการใช้น้ำยาล้างจานที่ถูกต้องควรใช้ชามแยกผสมน้ำยาล้างจานเล็กน้อยกับน้ำคนให้เข้ากันจนเกิดฟองก่อนใช้ หรือเติมน้ำยาล้างจานลงในฟองน้ำแล้วใส่ในชามแยกต่างหากเพื่อสร้างโฟมแล้วใช้ขัดลงบนภาชนะ
2. ล้างน้ำแค่รอบเดียว
การล้างจานด้วยความรีบ ชอบล้างจานเบา ๆ หรือเพียงแค่ล้างน้ำรอบเดียว เมื่อไม่เห็นฟองแล้วก็คิดว่าสะอาด โดยไม่รู้ว่าสายตาของเราไม่สามารถมองเห็นสารเคมีที่ตกค้างอยู่บนผิวภาชนะได้ ดังนั้นการทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด 2 ถึง 3 ครั้ง
3. แช่ภาชนะในน้ำยาล้างจานนานเกินไป
พฤติกรรมเสี่ยงอีกอย่างคือการแช่ภาชนะในน้ำยาล้างจานเป็นเวลานาน หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ายิ่งแช่น้ำนานเท่าไหร่ภาชนะจะยิ่งสะอาดขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะภาชนะที่ทำจากวัสดุดูดซึมได้ดีที่ทำจากไม้หรือไม้ไผ่ เช่น ตะเกียบ สารเคมีก็ยิ่งซึมลึกเข้าไปในเนื้อวัสดุมากขึ้นเท่านั้น
4. ใช้กับภาชนะที่มีรอยแตก
อันตรายยิ่งทวีคูณขึ้นเมื่อเราใช้น้ำยาล้างจานกับภาชนะที่มีรอยแตกหรือบิ่น ไม่ว่าจะเป็น ถ้วย จาน หรือแจกันเซรามิก เพราะสารเคมีจะแทรกซึมเข้าไปในรอยแตกเหล่านั้นและไม่สามารถล้างออกได้หมด แม้ว่าจะล้างด้วยน้ำสะอาดกี่รอบก็ตาม
5. ใช้น้ำยาล้างจานที่ไม่ได้มาตรฐาน
การใช้น้ำยาล้างจานที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่มีที่มาชัดเจนอาจมีส่วนผสมของสารพิษปะปนอยู่ ซึ่งสารเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ฝ่ามือระคายเคือง แต่ยังสามารถซึมผ่านผิวหนัง เข้าสู่ร่างกายทางระบบย่อยอาหารและระบบหายใจ นำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและโรคร้ายแรงอื่น ๆ
ดังนั้น ควรใช้น้ำยาล้างจานคุณภาพที่มีแหล่งกำเนิดที่ชัดเจนทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ
ข้อมูลจาก : soha
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง