การเงินเศรษฐกิจ

9 คณะ เด็กมหาวิทยาลัย เสี่ยงตกงานสูง ในปี 2025 ไม่ปรับตัวอยู่รอดยาก

9 คณะ เด็กมหาวิทยาลัย เสี่ยงตกงานสูง ในปี 2025 ไม่ปรับตัวอยู่รอดยาก

ในปี 2025 สภาพสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก้าวหน้าอย่างมากจนเก่งเพียงพอจะมาทดแทนคนจริงๆ ได้ในหลายงาน เช่น การเขียนโค้ด เขียนบทความ รวมถึงการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning), บล็อกเชน และระบบอัตโนมัติ (Automation) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการ

Advertisements

วันนี้ทีมข่าวไทยเกอร์ ได้วิเคราะห์ 10 คณะในมหาวิทยาลัย ที่เด็กจบใหม่ออกมามีโอกาสหางานยากขึ้น เสี่ยงตกงานสูง ต้องปรับตัวและพัฒนาศักยภาพของตัวเองโดยเร่งด่วน

1. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

สื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคหันไปใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลหลัก ทำให้บริษัทสื่อแบบฮารด์ก็อปปี้ต้องลดขนาดหรือปรับตัว

แม้แต่สื่อออนไลน์เองตอนนี้ก็ประสบความท้าทาย เนื่องจากหลายบริษัทเริ่มใช้เทคโนโลยี AI ในการผลิตเนื้อหา:เขียนบทความข่าว, สรุปข้อมูล, และสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจได้โดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์ ทำให้ความต้องการนักข่าวและผู้สื่อข่าวลดลง

แต่ใช้ว่าจะไม่มีโอกาสเติบโต เพราะการเกิดขึ้นของผู้สร้างเนื้อหาอิสระ บล็อกเกอร์, ยูทูบเบอร์, และอินฟลูเอนเซอร์สามารถสร้างรายได้จากการผลิตเนื้อหาเอง ทำให้การแข่งขันในสายงานสื่อสารมวลชนเพิ่มขึ้น ถ้าฝีมือเราโดดเด่น ก็อาจไม่ต้องง้อบริษัทใหญ่ก็ได้

2. คณะบริหารธุรกิจสาขาทั่วไป

ธุรกิจในยุคดิจิทัลต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), การตลาดดิจิทัล, และการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อน

Advertisements

ปัจจุบันมีผู้จบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจเป็นจำนวนมาก ตลาดแรงงานอิ่มตัว ทำให้การแข่งขันในการหางานสูงขึ้น และอาจทำให้ค่าตอบแทนลดลง ทำสำคัญเทคโนโลยีสามารถแทนที่งานบริหารบางส่วน เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) และซอฟต์แวร์บริหารจัดการอื่นๆ สามารถทำงานที่เคยต้องใช้มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. คณะภาษาศาสตร์และวรรณคดี

การพัฒนาของเครื่องมือแปลภาษาอัตโนมัติ: AI และ Machine Learning ทำให้การแปลภาษาและการประมวลผลภาษาธรรมชาติมีความแม่นยำสูงขึ้น ลดความต้องการนักแปลมนุษย์ ทำให้โอกาสในตลาดเริ่มแคบจำกัดตำแหน่งงานส่วนใหญ่จะอยู่ในวงการการศึกษา, การวิจัย, หรือองค์กรที่ต้องการทักษะเฉพาะทาง ตัวเลือกในชีวิตมีน้อยลง

นักศึกสายภาษาต้องปรับตัวให้มีทักษะหลายภาษา รวมถึงทักษะอื่นๆ ควบคู่กันจะได้รับความสนใจมากกว่า เช่น ทักษะด้านการวิเคราะห์ การใช้ AI หรือการตลาด

4. คณะปรัชญา

เนื้อหาที่เรียนของคณะนี้มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการตลาดงานปัจจุบัน แม้ว่าการศึกษาด้านปรัชญาจะส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ก็ตาม แต่ไม่ได้นำเสนอทักษะทางเทคนิคหรือปฏิบัติที่ตลาดงานต้องการ

งานส่วนใหญ่จะอยู่ในด้านการสอนหรือการวิจัย ซึ่งมีจำนวนตำแหน่งน้อยและการแข่งขันสูง ขัดแย้งกับนายจ้างมักต้องการบุคลากรที่สามารถนำทักษะมาใช้ในการทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องฝึกอบรมเพิ่มเติม

5. คณะประวัติศาสตร์

ข้อมูลประวัติศาสตร์สามารถหาได้ง่ายผ่านอินเทอร์เน็ต ลดความจำเป็นในการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ตำแหน่งงานส่วนใหญ่จะเหลืออยู่แค่ในพิพิธภัณฑ์, สถาบันการศึกษา, หรือองค์กรวิจัย ซึ่งมีตำแหน่งน้อยและการแข่งขันสูง

6. คณะภูมิศาสตร์

เทคโนโลยี GIS และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่อัตโนมัติ ซอฟต์แวร์ขั้นสูงสามารถทำการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมากนัก ยิ่งมีการใช้โดรนและภาพถ่ายดาวเทียมทำให้การเก็บข้อมูลภาคสนามน้อยลง อาชีพนักประวัติศาสตร์ที่ลงพื้นที่จึงมีความต้องการลดลงอยางมาก

นักเรียนประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมมิ่งหรือการวิเคราะห์ข้อมูลจะหางานได้ยากขึ้น ดังนั้นระหว่างเรียนแนะนำให้หาความรู้ด้านนี้เพิ่มเติมด้วย

7. คณะศิลปกรรมศาสตร์

การแทนที่ด้วยเทคโนโลยี AI สามารถสร้างงานศิลปะ, ดนตรี, และการออกแบบได้ ทำให้ความต้องการนักศิลปะลดลงในบางสาขา โดยเฉพาะด้านการออกแบบ วาดภาพ วงการบันเทิง ประกอบกับตอนนรี้ตลาดงานอิ่มตัวอยู่แล้ว มีศิลปินและนักออกแบบจำนวนมากในตลาด แต่ความต้องการงานอาจไม่เพิ่มขึ้นตาม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในวงการศิลปะ ผู้บริโภคหันไปสนใจงานศิลปะดิจิทัลและสื่อใหม่ๆ มากขึ้น ทำให้อาชีพที่เป็นสายศิลปะบริสุทธิ์รายได้น้อยลง

8. คณะการเกษตรแบบดั้งเดิม

การเกษตรสมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีสูง ทั้งการใช้ IoT, หุ่นยนต์, และระบบอัตโนมัติทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลายฟาร์ม รายเกษตรกรรมจึงลดความต้องการแรงงานมนุษย์ ประกอบกับความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ที่ไม่มีทักษะด้านการเกษตรที่ยืดหยุ่นอาจประสบปัญหา

9. คณะสังคมสงเคราะห์

นักศึกษาที่จบจากคณะสังคมสงเคราะห์หางานยากขึ้น เนื่องจากงบประมาณขององค์กรรัฐและไม่แสวงหาผลกำไรที่จำกัด ทำให้มีตำแหน่งงานน้อยลง ตลาดงานต้องการทักษะเฉพาะทางและความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีที่แทนที่บางงานด้วยระบบออนไลน์หรือ AI นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้นและค่าตอบแทนที่ไม่สอดคล้องกับภาระงานยังเป็นอุปสรรคสำคัญ

เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางาน นักศึกษาควรพัฒนาทักษะเฉพาะทาง เช่น การให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน และเสริมทักษะด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ การขยายเครือข่ายวิชาชีพและพิจารณาการศึกษาต่อเพื่อรับรองวิชาชีพเพิ่มเติมจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สรุปแล้ว ในยุคที่เทคโนโลยีและเศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาควรพิจารณาทักษะที่ตลาดงานต้องการ เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยี, การวิเคราะห์ข้อมูล, และทักษะที่ไม่สามารถถูกแทนที่ด้วย AI การเสริมสร้างทักษะที่หลากหลายและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงาน

ก่อนตัดสินใจเลือกคณะศึกษา ควรศึกษาตลาดแรงงานและแนวโน้มในอนาคต รวมถึงพิจารณาเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้การศึกษาเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างอนาคตที่มั่นคง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button