หมอสมชายยืนยัน วัคซีนโควิด ไม่เกี่ยว “มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ไทยมีไม่ถึง 8 คน
หมอสมชาย พูดเอง วัคซีนโควิด 19 mRNA ไม่ใช่ปัจจัยหลักทำให้เกิดโรคมะเร็งหัวใจ เป็นเคสหายาก ในประเทศไทยมีเพียง 5-7 คนเท่านั้น
เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่ผ่านมา ร.อ.นพ.สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยสถานการณ์ “โรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ในประเทศไทย หลังเกิดกระแสแชร์ว่าต้นตอโรคต่อเกี่ยวข้องวัคซีนโควิค 19 (mRNA) บนโซเชียล โดยหมอสมชายกล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด เนื่องจากวัคซีนทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบก็จริง แต่อัตราการเกิดไม่ได้เยอะมาก โดยจะพบในกลุ่มวัยรุ่นมากกว่ากลุ่มอื่น แต่ส่วนใหญ่จะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการฉีดวัคซีนแล้วเกิดมะเร็ง (Turbo cancer)
เนื่องจากการสังเกตการณ์การเกิดโรคมะเร็งในประเทศไทยนั้น พบว่ามะเร็งบางชนิดลดลง บางชนิดเพิ่มขึ้น แต่ค่าเฉลี่ยราวเพิ่ม 3% และไม่เคยหลุดจากสถิติ ดังนั้น หากมะเร็งที่เกิดจากวัคซีนจริง ก็ควรจะเป็นมะเร็งเม็ดเลือด เพราะเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันมากกว่า ไม่ใช่โรคมะเร็งหัวใจหรือมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจแต่อย่างใด
มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้นพบได้น้อยมาก ทั้งสถิติระดับโลกและประเทศไทย เนื่องจากธรรมชาติของโรคมะเร็งจะเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ หรืออวัยวะและเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งร่างกายจะมีกระบวนจะตรวจจับการแบ่งตัวผิดปกติของอวัยวะ หรือเซลล์นั้นอยู่ แต่หากกระบวนการตรวจจับแย่ลง หรือการซ่อมแซมเสียไปก็มีโอกาสเกิดมะเร็งได้ ขณะที่หัวใจเป็นเซลล์หัวใจเป็นเซลล์ที่เติบโตแล้ว จึงไม่ค่อยมีการแบ่งตัว ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่จะมีการแบ่งตัวผิดปกติมีน้อย และโอกาสที่จะเป็นมะเร็งก็น้อยตาม
สาเหตุหลักของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น ยังไม่ทราบที่มาชัดเจน แต่มีการค้นพบพันธุกรรมบางอย่างที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด ส่วนความเสี่ยงอื่น ๆ ก็ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ในประเทศไทยประมาณการผู้ป่วย 5-7 คนต่อปี ช่วงอายุที่พบได้บ่อยคือ อายุ 30 – 50 ปี ส่วนอายุเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 44 ปี และส่วนใหญ่จะพบในผู้ชาย อัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 0.1 ต่อประชากร 1 ล้านคน.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก ‘มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ’ เกิดได้ยาก แต่อันตรายถึงชีวิต
- เผยคำสั่งเสียสุดท้ายของ อ๋อม อรรคพันธ์ พูดอะไรกับครอบครัวก่อนเสียชีวิต
- รู้จัก “โรคมะเร็งอัณฑะ” ภัยเงียบชายไทย แม้ไม่รุนแรง แต่กระทบใจ