อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

วิธีทำความสะอาดบ้านหลังน้ำท่วม เช็กอุปกรณ์ขัด-ถู กำจัดคราบเชื้อรา

รวมขั้นตอนทำความสะอาด ฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วม เช็กลิสต์อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม พร้อมมาตรการความปลอดภัยในการขจัดคราบสกปรกและเก็บกวาดสิ่งของเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่

ภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคเหนือของไทยส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก นอกจากความเสียหายทางกายภาพแล้ว สิ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กันคือปัญหาสุขอนามัยและความเสี่ยงต่อโรคภัยที่มากับน้ำท่วม บทความนี้จะนำเสนอ 10 ขั้นตอนสำคัญในการทำความสะอาด และเตรียมความพร้อมบ้านของคุณให้กลับมาปลอดภัยและน่าอยู่ดังเดิม

Advertisements

1. ป้องกันตัวเองจากสิ่งปนเปื้อนที่มากับน้ำท่วม

การแต่งกายให้มิดชิดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายและสิ่งสกปรกที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เริ่มต้นด้วยการสวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกันการสูดดมเชื้อรา ใส่แว่นตากันลม ถุงมือยาง กางเกงขายาว และรองเท้าบู๊ท การแต่งกายและการใช้เครื่องป้องกันนี้จะช่วยไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับเชื้อราและสารเคมี รวมถึงช่วยป้องกันอันตรายจากไฟดูดด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไม่ทำความสะอาดบ้านหลังน้ำท่วมด้วยตัวคนเดียว ควรมีหลายคนร่วมมือกันทำความสะอาด เพื่อให้สามารถช่วยเหลือกันในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที

แนะนำวิธีทำความสะอาดบ้านเรือนหลังเจอปัญหาน้ำท่วมใหญ่

2. เตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

อุปกรณ์ที่ควรใช้ในการทำความสะอาด ได้แก่ ไม้กวาด แปรงขัดพื้น ไม้ถูพื้น ไม้กวาดซี่มะพร้าว แปรงสีฟันเก่า ถังน้ำ ถุงขยะสีดำ ที่รัดปาก ถุงขยะ กระดาษหนังสือพิมพ์ ไฟฉาย พลั่ว และกระดาษชำระ สำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่แนะนำมีดังนี้ น้ำยาซักผ้าขาวที่มีเบคกิ้งโซดาส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค 70% และน้ำยาทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อ นอกจากการทำความสะอาดแล้ว เราต้องจัดการกับสารปนเปื้อนและคราบที่ติดตามผนังของบ้านด้วย

อุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อใช้หลังน้ำลดระดับ

3. เปิดประตูและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ขจัดกลิ่นอับชื้น

เปิดพัดลมเป่าบริเวณที่เปียกชื้น โดยหันทิศทางลมให้พัดออกไปทางหน้าต่างหรือประตู เพื่อให้ลดความชื้นที่ก่อให้เกิดเชื้อราภายในบ้านเรา เพราะหลังจากเจอน้ำท่วมหนัก ทำให้เกิดความหมักหมม เป็นแหล่งเพราะพันธุ์ชั้นดีที่จะทำให้เกิดเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา

Advertisements

4. ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน

นี้คือสิ่งสำคัญที่สุด ที่ห้ามลืมเป็นอันขาด เพราะระบบไฟฟ้าภายในบ้านอาจจะมีปัญหาหลังน้ำเข้าไปตามรูปลั๊ก ก่อนทำความสะอาดต้องเช็กให้แน่ใจว่าสับสวิตช์คัตเอาท์ลงและไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปในตัวบ้าน หากมีจุดไหนเสียหายที่ต้องรีบจัดการซ่อมแซมทางที่ดีควรปรึกษาช่างไฟฟ้ามืออาชีพ หรือถ้าจะตรวจสอบตัวเองสามารถใช้ไขควงลองไฟในการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าได้ แต่ต้องสวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทตลอดเพื่อป้องกันไฟดูด

ตรวจสอบเรื่องไฟ้าบริเวณบ้านหลังน้ำท่วมเพื่อความปลอดภัยก่อนเริ่มทำความสะอาด

5. ย้ายสิ่งของและเก็บเศษขยะทั้งหมดออกจากบ้าน

นำของที่เปียกเกินสองวันหรือมากกว่านั้นออกไปข้างนอก สิ่งของเหล่านี้อาจมีเชื้อราเติบโต อยู่แม้ว่าคุณอาจจะไม่เห็น
ทิ้งเศษขยะที่มาตามน้ำ สิ่งของที่ดูดซับน้ำไม่สามารถทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนได้ (เช่น ที่นอน พรม ของเล่นนุ่มนิ่ม) แนะนำว่าควรทิ้ง

6. ทำความสะอาดด้านบนก่อนค่อยลงมาทำด้านล่างของบ้าน

เริ่มต้นโดยการเก็บกวาดคราบดินโคลนตามพื้น บ้านที่มีสองชั้นควรทำความสะอาดจากชั้นสองลงมาชั้นหนึ่ง หากเป็นบ้านชั้นเดียวก็เริ่มทำความสะอาดจากเพดานหรือผนังบ้านก่อน การทำความสะอาดผนังหรือกำแพงบ้าน ต่อด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาล้างจานแล้วฉีดน้ำล้าง ส่วนของผนังบ้าน การขัดทำความสะอาดอาจทำให้สีผนังหลุดลอกออก จำเป็นต้องปล่อยให้ผนังแห้งสนิทก่อนทาสีหรือตกแต่งผนังใหม่

7. เคลียร์ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์

เฟอร์นิเจอร์ทำจากไม้หากแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานหากอมน้ำจนบวมไม่ควรนำกลับมาใช้อีก ส่วนเฟอร์นิเจอร์ผ้า อย่างฟูกนอน หมอน โซฟา หลังจากทิ้งไว้จนแห้ง ก็นำไปซัก ปัดหรือดูดฝุ่นออกแล้วตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค

ขั้นตอนการทำความสะอาดเศษขยะ และดูแลเฟอร์นิเจอร์หลังเปียกน้ำ

8. ตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ

ของประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า แนะนำว่าให้ตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอันดับแรก ว่าเกิดความเสียหายมากน้อยขนาดไหน ทางที่ดีควรส่งให้ช่างตรวจเช็กและซ่อมแซมก่อนนำกลับมาทำความสะอาดอีกครั้ง

ส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้อื่น ๆ อย่าง เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ทำความสะอาดได้โดยการแช่ในน้ำผสมคลอรีน (คลอรีน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แกลลอน) อย่างน้อย 10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ จากนั้นนำไปพึ่งแดดให้แห้ง แล้วจึงนำมาทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานอีกครั้ง

อุปกรณ์จำพวกเครื่องเงินหรือโลหะ เช่น ช้อน ส้อม มีด หม้อ และกระทะ แนะนำให้เอาอุปกรณ์เหล่านี้ไปต้มในน้ำเดือดอย่างน้อย 10 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานได้ตามปกติ

ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟ้าและอุปกรณ์ในห้องครัว

9. ทำความสะอาดด้วยน้ำผสมน้ำยาฟอกขาว

ก่อนจะใช้น้ำยาฟอกขาวเช็ดทำความสะอาดควรเปิดประตูและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาซักผ้าขาวผสมน้ำ เช็ดคราบเชื้อราทิ้งไว้ 15 – 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ จากนั้นใช้พัดลมเป่าภายในบ้านและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ทำความสะอาด เพื่อดึงสปอร์ราที่อยู่ในอากาศในบ้านออกไป ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้แห้งสนิท

ทำให้บ้านสดชื่นไร้กลิ่นอับชื้น ด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของน้ำหอม

10. กำจัดกลิ่นเหม็น กลิ่นอับชื้น

หลังจากทำความสะอาด ไล่ความชื้น กำจัดเชื้อราและเชื้อโรคแล้ว กลิ่นเหม็นที่หมักหมมจะจางลง แต่อาจมีกลิ่นจากท่อระบายน้ำหรือพื้นที่อับชื้น เช่น ห้องน้ำ ซึ่งเราสามารถกำจัดกลิ่นเหล่านี้ได้โดยใช้น้ำหมักชีวภาพเทลงในคอห่านและท่อระบายน้ำจุดต่างๆ เพื่อช่วยกำจัดกลิ่น ข้อควรระวังคือ น้ำยาที่ผสมน้ำหอม หรือน้ำหอมต่าง ๆ ไม่ควรฉีดหรือราดลงในท่อระบายน้ำ นอกจากจะไม่ช่วยให้กลิ่นเหม็นหายไปแล้ว ยังทำให้เพิ่มกลิ่นรุนแรงขึ้นอีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button