ไลฟ์สไตล์

5 วิชา ที่นักเรียนไทยอยากโบกมือลา ท่องจำซ้ำซาก ไม่เชื่อมโยงชีวิตจริง ยกเลิกเถอะ

เปิด 5 อันดับวิชา ที่เด็ก ๆ รุ่นใหม่ จัดอันดับว่าไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนของวิชาเหล่านี้มากที่สุด

ในยุคดิจิทัลเรื่องของการศึกษาหรือวิชาการเรียนการสอนของเด็กยุคใหม่ ส่วนใหญ่ก็ต้องการเรียนรู้วิชาที่ได้ประโยชน์และนำไปใช้ต่อยอดในวิชาชีพของตัวเอกในอนาคต มุมมองต่อวิชาที่ควรเรียนในโรงเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลง และบ้างวิชาก็อาจถึงเวลาที่ต้องยุติการสอน บทความนี้จะพาไปสำรวจ 5 อันดับวิชาเรียนที่เด็ก ๆ รุ่นใหม่ไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนมากที่สุด

1.กระบี่-กระบอง

เป็นวิชาอันดับต้น ๆ ที่นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกว่าเรียนแล้วไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไรในชีวิตประจำวันและไม่มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะแน่นอนว่าวิชานี้ไม่ได้มีอาชีพใด ๆ มารองรับ แม้วิชากระบี่กระบองอาจจะช่วยให้ฝึกฝนการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่อาจจะเปลี่ยนจากวิชาหลักไปเป็นกิจกรรมทางเลือกน่าจะเหมาะสมกว่า

ห้าวิชาเรียนที่ถูกจัดอันดับ ว่าเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ไม่อยากให้มีการเรียนการสอนมากที่สุด
ภาพจาก: wikipedia

2.ประวัติศาสตร์

การศึกษาเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ก็ไม่ใช่เรื่องนี้แย่สักเท่าไร ถ้าสามารถนำมาปรับใช้ชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันได้แต่ถ้าการเรียนการสอนนั้นมาในรูปแบบแบบเดิม ๆ เน้นการท่องจำ การนำเสนอดูไม่น่าสนใจ และแต่ละประเทศย่อมเขียนเรื่องราวให้ตัวเองเป็นคนที่ถูกเสมอ เพราะฉะนั้นบทเรียนในหนังสือวิชาประวัติศาสตร์จึงเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถเชื่อได้ 100%

สุดท้ายแล้วในยุคนี้ใครก็สามารถสืบค้นประวัติศาสตร์ที่ตัวเองสนใจผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านวิชาเรียนในตำราอีกต่อไป แต่ก็ใช้ว่าเรียนไปแล้วจะไร้ประโยชน์ การเรียนวิชานี้ ก็สามารถนำไปต่อยอดอาชีพได้อยู่บ้าง เช่น คอนเทนต์ครีเอเตอร์หรือนักเขียนสารคดี, มัคคุเทศก์หรือไกด์นำนักท่องเที่ยวเพิ่มเพื่อสกิลการอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่ประวัติศาสตร์

ห้าวิชาเรียนที่ถูกจัดอันดับ ว่าเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ไม่อยากให้มีการเรียนการสอนมากที่สุด

3. พลศึกษา

วิชาที่ควรจะอยู่ในหมวดหมู่ของกิจกรรมมากกว่าจะเป็นวิชาการสอน แน่นอนว่าเด็กแต่ละคนก็มีศักยภาพที่ไม่เท่ากัน และมีความถนัดในกีฬาที่แตกต่างกันออกไป เช่น มีทั้งคนที่ชอบเตะฟุตบอล และไม่ถนัดกีฬาชนิดนี้ แต่อาจจะถนัดในกีฬารูปแบบอื่น แต่สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบนอกจากการเรื่องความไม่ถนัด ก็คือเกณฑ์การวัดผลหรือมีการสอบโดยใช้การประเมินตามมาตราฐานของครูผู้สอน ที่สำหรับบ้างคนก็รู้สึกยากและถ้าต้องมาสอบตกวิชานี้ มันก็ดูน่าเบื่อไม่ใช่น้อย

แต่ในหมวดเดียวกันลองปรับจากวิชาพลศึกษา แต่เน้นไปที่วิชาสุขศึกษา ที่ดูจำเป็นต่อชีวิตของเด็กในวัยเรียนคงเหมาะสมกับการเรียนการสอนในยุคนี้

ห้าวิชาเรียนที่ถูกจัดอันดับ ว่าเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ไม่อยากให้มีการเรียนการสอนมากที่สุด

4.พระพุทธศาสนา

แม้ประเทศไทยศาสนาหลักจะเป็นศาสนา พุทธ แต่ในจำนวนของนักเรียนที่ศึกษานั้นแต่ละครอบครัวก็มีความเชื่อและศาสนาที่แตกต่างกันออกไป อาจไม่ได้นับถือเพีงแค่ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งวิชาเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาอาจจะเป็นวิชาที่สำคัญ แต่ควรมีการสอนเป็นศาสนาที่มีความสากลมากกว่า และควรปลูกฝังหลักการเป็นพุทธศาสนิกชนทางใจมากกว่าการเรียนท่องจำเพื่อนำไปสอบ

ห้าวิชาเรียนที่ถูกจัดอันดับ ว่าเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ไม่อยากให้มีการเรียนการสอนมากที่สุด

5.ลูกเสือ-เนตรนารี

ถือว่าเป็นวิชาในระบบการศึกษาของไทยที่ใช้งบประมาณที่เข้าขั้นไร้ความจำเป็นที่สุด ทั้งค่ากิจกรรม ค่าเข้าค่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึง เรื่องยูนิฟอร์ม เครื่องแต่งกายของลูกเสือ-เนตรนารี ที่มีเครื่องแต่งกายที่จุกจิก อีกทั้งยังหายบ่อย ทำให้สิ้นเปลือง อีกทั้งยังเป็นวิชาที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาต่อในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย เป็นอีกวิชาที่ควรไปอยู่ในหมวดหมู่กิจกรรมหรือวิชาเลือกมากกว่าวิชาหลัก

ห้าวิชาเรียนที่ถูกจัดอันดับ ว่าเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ไม่อยากให้มีการเรียนการสอนมากที่สุด

นอกจาก 5 วิชาเหล่านี้แล้วก็ยังมีอีก 3 วิชาที่เด็ก นักเรียนในยุคนี้อยากให้ยกเลิกเช่นกัน คือ

วิชาหน้าที่พลเมือง

  • นักเรียนหลายคนมองว่า เนื้อหาเน้นท่องจำ ไม่ได้สอนทักษะการคิดวิเคราะห์หรือการแก้ปัญหา

วิชาชุมนุม/ชมรม

  • นักเรียนบางกลุ่มรู้สึกว่า กิจกรรมชมรมมีไม่หลากหลาย ไม่ตรงกับความสนใจ

วิชานาฏศิลป์

  • นักเรียนหลายคนไม่ชอบเรียนรำไทย มองว่าเป็นวิชาที่ไม่จำเป็น

นี้อาจจะหมุดหมายสำคัญที่ทางโรงเรียนและผู้มีอำนาจที่ดูแลส่วนเรื่องของการศึกษาของเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบัน ว่าควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้างวิชาและนำวิชาการสอนที่จำเป็นต่อชีวิตและอนาคตของพวกเขามาเสริมในตารางเรียนแทน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button