ไลฟ์สไตล์

รู้ยัง “ทำไมโนบิตะสอบได้ 0 แต่ได้เลื่อนชั้น” อัจฉริยะ หรือดวงดี

ไขข้อสง ทำไมโนบิตะสอบได้ 0 คะแนนแต่ยังได้เลื่อนชั้น เรียนรู้สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการศึกษาญี่ปุ่นที่เราอาจยังไม่รู้

โดราเอมอน ไม่ใช่แค่การ์ตูนดังของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนซี้ตลอดกาลของคนทั่วทั้งโลก เรื่องราวของเจ้าแมวหุ่นยนต์และเด็กชายขี้กลัวได้ฝังรากลึกในใจผู้ชมหลายรุ่น ด้วยเรื่องราวมิตรภาพที่แสนอบอุ่นและอุปกรณ์วิเศษที่สร้างจินตนาการอันไร้ขอบเขต

โซเชียลเสียงแตก! กับคำถามที่ว่า “ทำไมโนบิตะสอบได้ 0 คะแนนแต่ยังได้เลื่อนชั้น?” ทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือด บางคนมองว่าเป็นเรื่องปกติของการ์ตูน แต่บางคนเชื่อว่ามีอะไรมากกว่านั้น และอาจสะท้อนถึงระบบการศึกษาของญี่ปุ่นได้

ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นเน้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้เน้นที่การสอบแข่งขันมากนัก ถ้าพลาดไปซักปี ก็ยังมีโอกาสกลับมาเรียนต่อได้ ทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้สึกกดดันมากเกินไป

หลายคนคงอึ้งไปเลยใช่ไหม เพราะที่ญี่ปุ่น ระบบการศึกษาเค้าต่างจากบ้านเรากับหลาย ๆ ประเทศมาก ๆ ไม่ว่าจะสอบได้กี่คะแนน ก็ยังเลื่อนชั้นต่อไปได้เสมอ เหมือนกับตัวละครอย่าง “โนบิตะ” ที่สอบได้ศูนย์ตลอด แต่ก็ยังจบการศึกษาได้ เหมือนเป็นการบอกว่า การเรียนรู้ไม่มีเส้นตาย

แม้ว่าเด็กญี่ปุ่นจะเลื่อนชั้นได้ง่าย แต่การเรียนรู้ของพวกเขาไม่ได้สบายเลย เพราะต้องเจอกับอุปสรรคใหญ่คือการเรียนรู้คันจิจำนวนมหาศาล เพื่อให้สามารถอ่านหนังสือเรียนได้อย่างคล่องแคล่ว การเรียนรู้คันจิเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความรู้ เพราะคันจิเป็นส่วนประกอบหลักของภาษาญี่ปุ่น ถ้าไม่มีความรู้เรื่องคันจิ การเรียนวิชาอื่นๆ ก็จะยากขึ้นไปอีก

การศึกษาญี่ปุ่นมีอะไรมากกว่าที่ตาเห็น เหมือนมีโลกอีกใบซ่อนอยู่รอให้เราสำรวจ

ไขข้อน่ารู้ระบบการศึกษาญี่ปุ่น

1. วัฒนธรรมการเรียนพิเศษ (จูกุ) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กญี่ปุ่น เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนดีๆ ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่สำคัญในการกำหนดอนาคต

2. การศึกษาของญี่ปุ่นมุ่งเน้นการพัฒนาศีลธรรมในตัวผู้เรียน โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนเป็นคนดี มีความรับผิดชอบ และเคารพผู้อื่น ดังเห็นได้จากพฤติกรรมของคนญี่ปุ่นหลังเกิดภัยพิบัติ

3. นักเรียนญี่ปุ่นใช้โทรศัพท์ได้เฉพาะก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียนเท่านั้น การใช้โทรศัพท์ในห้องเรียนถือว่าผิดกฎ

4. อัตราการเข้าเรียนของนักเรียนญี่ปุ่นสูงถึง 99.99% สะท้อนให้เห็นถึงวินัยในการตรงต่อเวลา

5. การสวมเครื่องแบบในโรงเรียนญี่ปุ่นช่วยสร้างความเท่าเทียมกันในหมู่นักเรียน เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นช่วยลดช่องว่างทางสังคมในโรงเรียน

6. นักเรียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เดินทางไปโรงเรียนด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้รถไฟ

7. ในโรงเรียนญี่ปุ่น ครูจะไม่ไล่นักเรียนออกจากห้องเรียน ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากครูมีความอดทนสูงและมุ่งเน้นการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียน

8. ปีการศึกษาของญี่ปุ่นเริ่มในเดือนเมษายน แบ่งเป็น 3 ภาคเรียน และมีวันหยุดฤดูร้อนยาวนานกว่าเวียดนาม

9. นักเรียนญี่ปุ่นรับประทานอาหารร่วมกับครูเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกันมากขึ้น

10. การทำความสะอาดห้องเรียนเป็นกิจกรรมประจำวันของนักเรียนญี่ปุ่น กิจกรรมนี้ช่วยปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งรอบตัว

แปลและเรียบเรียงจาก : “Vì sao Nobita làm bài kiểm tra toàn 0 điểm mà vẫn được lên lớp?” và những điều thú vị về hệ thống giáo dục ở Nhật Bản

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

Tad Yungton

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button