การเงินเศรษฐกิจ

ไม่หวั่นทางรัฐล่ม คนไทย “ลงทะเบียนเงินดิจิทัล” ชั่วโมงเดียว ทะลุ 4 ล้านคน

วันนี้ 1 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานผลความคืบหน้าการลงทะเบียน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เวลา 8 โมงเช้าเป็นต้นไป แม้ว่าประชาชนจะบ่นเรื่องระบบล่มหรืออืด แต่ก็ได้รับกระแสตอบรับจากคนไทยดีมาก พบว่า ข้อมูลจนถึงเวลา 09:00 น. มีคนเข้าเกณฑ์ลงทะเบียนไปแล้วกว่า 4 ล้านบุคคล

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า รัฐบาลได้ตั้งวอรูม ดูแลระบบการลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ กำลังเร่งหาข้อมูล เพื่อตรวจสอบสาเหตุของระบบอืด ตามที่ประชาชนบางคนร้องเรียนว่าไม่สามารถเข้าลงทะเบียนได้ ต้องใช้เวลาดำเนินการ 5-10 นาทีถึงจะสำเร็จ แต่บางราย ใช้เวลาเพียง 2-3 นาที

สำหรับไทม์ไลน์การลงทะเบียน ประชาชนที่มีมือถือสมาร์ทโฟน สามารถทยอยยืนยันรับสิทธิได้ไม่จำนวนจำนวนจนถึง วันที่ 15 กันยายน 2567 และจะรู้ผลว่าผ่านหรือไม่ภายในวันที่ 22 กันยายน เป็นต้นไป

ประชาชนคนใดที่มีปัญหาการยืนยันตัวตนผ่านแอปทางรัฐ สามารถใช้ช่องทางอื่นๆ ในการช่วยยืนยันตัวตนได้เช่น ไปรษณีย์ไทย เซเว่นอีเลเว่น ตู้เอนกประสงค์ของรัฐ เป็นต้น รวมถึงจุดบริการ Walk-in รวม 5,199 แห่ง ดังนี้

  • ศูนย์ดิจิทัลชุมชน 1,722 ศูนย์ทั่วประเทศ
  • ที่ทำการไปรษณีย์ 1,200 แห่ง ทั่วประเทศ
  • ธนาคารออมสิน 1,047 แห่ง ทั่วประเทศ
  • ธ.ก.ส. 1,238 แห่ง ทั่วประเทศ

สำหรับคนไม่มีสมาร์ทโฟน จะเปิดให้ลงทะเบียนในรอบถัดไป ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. – 15 ต.ค. 67 ณ สถานที่ที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งจะแจ้งระบุสถานที่อีกครั้ง

5 ช่องทางยืนยันตัวตนทางรัฐ

ผู้มีสิทธิลงทะเบียนเงินดิจิทัล ผ่านแอปทางรัฐ

  • อายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 67 (ต่อให้เด็กมีอายุ 16 ปีขึ้นไป แต่มีเงินฝากเกิน 500,000 บาทขึ้นไป แม้จะเป็นเงินที่พ่อแม่ออมให้ลูกก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ เพราะเป็นผู้มีรายได้ อีกทั้งเกณฑ์เงินฝากในบัญชีระบุไว้ชัดเจนว่า หากเกิน 500,000 บาท ถูกตัดสิทธิ์)
  • เกณฑ์รายได้วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อ 31 ธ.ค. 66 กำหนดว่าจะต้องไม่เกิน 840,000 บาท หรือมีเงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท
  • เกณฑ์เงินฝากกำหนดไม่เกิน 500,000 บาท นับเฉพาะเงินฝากสกุลบาท รวมกันทุกบัญชี ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น
    • บัญชีเงินฝากประจำ
    • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
    • บัตรเงินฝาก
    • ใบรับเงินฝาก
    • เงินฝากกระแสรายวัน

ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์สลากออมสิน หุ้น พันธบัตร โดยนับวันสิ้นสุด 31 มี.ค. 67

อ่านข่าวที่เกียวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button